Cold Joint เป็นรอยต่อจากการเทคอนกรีตสดต่อจากคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วรวมถึงคอนกรีตสดที่เลยเวลาการเริ่มก่อตัว (Stiffening Time) ไปแล้ว ตามทฤษฏีแล้วเราจะพยายามหลีกเลี่ยงการทำให้เกิด Cold Joint โดยการเทคอนกรีตให้เสร็จอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบโดยไม่ต้องแบ่งเท เนื่องจาก Cold Joint จะทำให้เกิดระนาบที่อ่อนแอ ความต้านทานต่อแรงเฉือนลดลง
อีกทั้งน้ำยังมีโอกาสที่จะซึมผ่านทำให้ความทนทานของคอนกรีตในระยะยาวลดลง หากมีความจำเป็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเกิด Cold Joint ควรเสียบเหล็กเดือย (Dowel) ที่รอยต่อของคอนกรีตที่จะหยุดเท เพื่อที่จะได้ช่วยเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวและเพิ่มความต้านทานต่อแรงเฉือนระหว่างคอนกรีตเก่ากับคอนกรีตใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังควรพิถีพิถันในขั้นตอนการจี้เขย่าคอนกรีตบริเวณรอยต่อ ระหว่างคอนกรีตเก่ากับคอนกรีตใหม่ให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดรูโพรง (Honeycomb) และช่องว่างอากาศ (Entrapped Air) บริเวณรอยต่อภายหลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวไปแล้ว
อีกทั้งน้ำยังมีโอกาสที่จะซึมผ่านทำให้ความทนทานของคอนกรีตในระยะยาวลดลง หากมีความจำเป็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเกิด Cold Joint ควรเสียบเหล็กเดือย (Dowel) ที่รอยต่อของคอนกรีตที่จะหยุดเท เพื่อที่จะได้ช่วยเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวและเพิ่มความต้านทานต่อแรงเฉือนระหว่างคอนกรีตเก่ากับคอนกรีตใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังควรพิถีพิถันในขั้นตอนการจี้เขย่าคอนกรีตบริเวณรอยต่อ ระหว่างคอนกรีตเก่ากับคอนกรีตใหม่ให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดรูโพรง (Honeycomb) และช่องว่างอากาศ (Entrapped Air) บริเวณรอยต่อภายหลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวไปแล้ว