ผู้อ่านท่านหนึ่งได้ไปเห็นการก่อสร้างบ้าน (เข้าใจว่าน่าจะเป็นของตัวเอง) และได้พบกับเรื่องที่ทำให้รู้สึกว่าค้างคาใจจึงได้ถามมา ยังกองบรรณาธิการและส่งต่อคำถามมาถึงผม เรื่องดังกล่าวเป็นข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับหลายคนผมจึงขยายความนำมาเสนอในครั้งนี้ครับ ประเด็นของเรื่องคือการเทคอนกรีตฐานรากตอนฝนตก!!
เรื่องเกิดขึ้นเนื่องจากพิธีลงเสาเอกเมื่อเทคอนกรีตเสร็จแล้วเกิดฝนตกน้ำท่วมฐานรากหนาประมาณ 3 นิ้วจึงกังวลถึงความแข็งแรงของฐานราก ถามไปยังช่างแล้วช่างก็บอกว่าเทคอนกรีตในน้ำยังได้แต่ก็ยังไม่สบายใจ ก่อนอื่นผมต้องบอกว่า คำอธิบายของช่างเป็นคำกล่าวที่ไม่ถูกต้อง!! การเทคอนกรีตในน้ำกรณีที่ยอมให้ได้ เช่น การเทคอนกรีตฐานรากเมื่อเข้าแบบเสร็จเรียบร้อยและมีน้ำซึมเข้าไปในฐานรากจำนวนไม่มาก (ย้ำนะครับ...ไม่ควรมากจนท่วมเหล็กเสริมชั้นล่าง)
หรือมีอัตราการซึมไม่เร็วและไม่มีทางที่จะสูบน้ำออกให้แห้งได้ กรณีเหล่านี้นี้ก็อาจยอมให้เทคอนกรีตลงไปได้ซึ่งเรียกว่าการเทคอนกรีตไล่น้ำให้ล้นขึ้น เนื่องจากคอนกรีตมีความเข้มข้นกว่าน้ำเมื่อเทลงในฐานรากก็จะไปช่วยอุดรอยรั่วซึมของน้ำได้ น้ำที่ขังส่วนหนึ่งก็อาจผสมเข้ากลายเป็นส่วนของน้ำในคอนกรีตซึ่งต้องไม่มีน้ำมากและต้องเป็นน้ำที่สะอาดพอที่จะใช้ ผสมคอนกรีต (น้ำจืดไม่ใช่น้ำเค็มเด็ดขาด) ถ้าหากมีน้ำมากควรที่จะต้องหาทางระบายน้ำออกให้มากที่สุดและเทคอนกรีตลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการที่ช่างบอกว่าทำได้เพราะเทคอนกรีตในน้ำได้จึงนับเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไม่ถูกต้องทั้งหมด
ท่านอาจจะสงสัยว่าแล้ว โครงสร้างฐานราก และตอม่อของสะพานที่สร้างในแม่น้ำใช้หลักการและวิธีการเดียวกันกับฐานรากบนดินที่ผมเขียนไว้หรือไม่ คำตอบคือไม่สามารถทำอย่างโครงสร้างบนดินได้เนื่องจากน้ำจะเข้าจนเต็มในแบบหล่อไม่สามารถทำงานได้ แต่วิธีการก่อสร้างจะต้องมีการทำผนังกันน้ำด้วยแผ่นเหล็กที่เรียกว่า Sheet Pile เพื่อกันน้ำแล้วจึงสูบน้ำออกจึงจะทำงานได้ซึ่งเป็นงานที่ซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ตามตัวอย่างรูปที่ผมนำมาประกอบจะเห็นว่าไม่ใช่การเทคอนกรีตในน้ำเพราะทำไม่ได้ครับ
กลับมาถึงปัญหาที่เทคอนกรีตและฝนตกจนน้ำท่วมคอนกรีตฐานราก ผมประเมินว่าคงเทคอนกรีตขณะฝนตกและใช้การเทไล่น้ำซึ่งกรณีนี้อาจมีน้ำมากเกินไปและที่สุดก็ท่วมฐานราก รับเทคอนกรีต ซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อความแข็งแรงของฐานรากแต่จะบอกว่ามากน้อยเพียงใดไม่สามารถตอบได้เนื่องจากไม่ได้เห็นด้วยตนเอง อีกทั้งคอนกรีตที่ใช้เทเป็นคอนกรีตประเภทใดก็ไม่ทราบ (คอนกรีตผสมเองที่หน่วยงานหรือคอนกรีตผสมเสร็จที่ส่งด้วยรถส่งคอนกรีต)
วิธีการป้องกันปัญหาก็คือถ้าเลี่ยงได้ก็ควรงดเว้นการเทคอนกรีตขณะฝนตก อันที่จริงถ้าเป็นผู้รับเหมาที่เข้าใจเรื่องของโครงสร้างก็คงจะคำนึงเรื่องเหล่านี้เพื่อป้องกันไม่ให้โครงสร้างมีปัญหาได้
เรื่องของคอนกรีตนั้นเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดมากผู้เป็นวิศวกรโยธาต้องผ่านศึกษาวิชา Concrete Technology ไม่ใช่แบบชาวบ้านที่ทราบเพียงว่าคอนกรีตก็คือการนำหิน+ทราย+น้ำ+ปูนซีเมนต์คลุกเคล้ากันแล้วก็ใช้ได้ ผมพยายามเขียนเรื่องที่มีความซับซ้อนให้เข้าใจง่ายเพื่อให้ท่านผู้อ่านพอนึกได้ครับ
ที่มา Home Buyers’ Guide ฉบับเดือน เมษายน 2556
เรื่องเกิดขึ้นเนื่องจากพิธีลงเสาเอกเมื่อเทคอนกรีตเสร็จแล้วเกิดฝนตกน้ำท่วมฐานรากหนาประมาณ 3 นิ้วจึงกังวลถึงความแข็งแรงของฐานราก ถามไปยังช่างแล้วช่างก็บอกว่าเทคอนกรีตในน้ำยังได้แต่ก็ยังไม่สบายใจ ก่อนอื่นผมต้องบอกว่า คำอธิบายของช่างเป็นคำกล่าวที่ไม่ถูกต้อง!! การเทคอนกรีตในน้ำกรณีที่ยอมให้ได้ เช่น การเทคอนกรีตฐานรากเมื่อเข้าแบบเสร็จเรียบร้อยและมีน้ำซึมเข้าไปในฐานรากจำนวนไม่มาก (ย้ำนะครับ...ไม่ควรมากจนท่วมเหล็กเสริมชั้นล่าง)
หรือมีอัตราการซึมไม่เร็วและไม่มีทางที่จะสูบน้ำออกให้แห้งได้ กรณีเหล่านี้นี้ก็อาจยอมให้เทคอนกรีตลงไปได้ซึ่งเรียกว่าการเทคอนกรีตไล่น้ำให้ล้นขึ้น เนื่องจากคอนกรีตมีความเข้มข้นกว่าน้ำเมื่อเทลงในฐานรากก็จะไปช่วยอุดรอยรั่วซึมของน้ำได้ น้ำที่ขังส่วนหนึ่งก็อาจผสมเข้ากลายเป็นส่วนของน้ำในคอนกรีตซึ่งต้องไม่มีน้ำมากและต้องเป็นน้ำที่สะอาดพอที่จะใช้ ผสมคอนกรีต (น้ำจืดไม่ใช่น้ำเค็มเด็ดขาด) ถ้าหากมีน้ำมากควรที่จะต้องหาทางระบายน้ำออกให้มากที่สุดและเทคอนกรีตลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการที่ช่างบอกว่าทำได้เพราะเทคอนกรีตในน้ำได้จึงนับเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไม่ถูกต้องทั้งหมด
ท่านอาจจะสงสัยว่าแล้ว โครงสร้างฐานราก และตอม่อของสะพานที่สร้างในแม่น้ำใช้หลักการและวิธีการเดียวกันกับฐานรากบนดินที่ผมเขียนไว้หรือไม่ คำตอบคือไม่สามารถทำอย่างโครงสร้างบนดินได้เนื่องจากน้ำจะเข้าจนเต็มในแบบหล่อไม่สามารถทำงานได้ แต่วิธีการก่อสร้างจะต้องมีการทำผนังกันน้ำด้วยแผ่นเหล็กที่เรียกว่า Sheet Pile เพื่อกันน้ำแล้วจึงสูบน้ำออกจึงจะทำงานได้ซึ่งเป็นงานที่ซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ตามตัวอย่างรูปที่ผมนำมาประกอบจะเห็นว่าไม่ใช่การเทคอนกรีตในน้ำเพราะทำไม่ได้ครับ
กลับมาถึงปัญหาที่เทคอนกรีตและฝนตกจนน้ำท่วมคอนกรีตฐานราก ผมประเมินว่าคงเทคอนกรีตขณะฝนตกและใช้การเทไล่น้ำซึ่งกรณีนี้อาจมีน้ำมากเกินไปและที่สุดก็ท่วมฐานราก รับเทคอนกรีต ซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อความแข็งแรงของฐานรากแต่จะบอกว่ามากน้อยเพียงใดไม่สามารถตอบได้เนื่องจากไม่ได้เห็นด้วยตนเอง อีกทั้งคอนกรีตที่ใช้เทเป็นคอนกรีตประเภทใดก็ไม่ทราบ (คอนกรีตผสมเองที่หน่วยงานหรือคอนกรีตผสมเสร็จที่ส่งด้วยรถส่งคอนกรีต)
วิธีการป้องกันปัญหาก็คือถ้าเลี่ยงได้ก็ควรงดเว้นการเทคอนกรีตขณะฝนตก อันที่จริงถ้าเป็นผู้รับเหมาที่เข้าใจเรื่องของโครงสร้างก็คงจะคำนึงเรื่องเหล่านี้เพื่อป้องกันไม่ให้โครงสร้างมีปัญหาได้
เรื่องของคอนกรีตนั้นเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดมากผู้เป็นวิศวกรโยธาต้องผ่านศึกษาวิชา Concrete Technology ไม่ใช่แบบชาวบ้านที่ทราบเพียงว่าคอนกรีตก็คือการนำหิน+ทราย+น้ำ+ปูนซีเมนต์คลุกเคล้ากันแล้วก็ใช้ได้ ผมพยายามเขียนเรื่องที่มีความซับซ้อนให้เข้าใจง่ายเพื่อให้ท่านผู้อ่านพอนึกได้ครับ
ที่มา Home Buyers’ Guide ฉบับเดือน เมษายน 2556
Tag :
เทคอนกรีต