อิทธิพลของ มวลรวม ต่อความสามารถในการปั๊ม คอนกรีตผสมเสร็จ
1.ขนาด (size)
ขนาดของมวลรวมมีผลต่อความสามารถในการปั๊มได้ สมมุติว่าหินมีรูปร่างเป็นรูปทรงลูกบาศก์ ขนาด 2x2x2เซนติเมตร จะมีปริมาตร 8 ลูกบาศก์เซนติเมตร และพื้นที่ผิว 6x2 เซนติเมตร x 2 เซนติเมตร = 24 ตารางเซนติเมตร
แต่ถ้าหินก้อนนี้ถูกแบ่งออกเป็น 8 ก้อนเท่าๆ กัน ปริมาตร ยังเท่าเดิมคือ 8 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่พื้นที่ผิวเพิ่มเป็น 8x6x1 เซนติเมตร x1 เซนติเมตร = 48 ตารางเซนติเมตร
จากตัวอย่างพบว่า พื้นที่ผิวจะขึ้นอยู่กับขนาดของมวลรวมแต่ละก้อนและเมื่อพื้นที่ผิวเพิ่มขึ้นจำเป็นต้องเพิ่มมอร์ตา เพื่อให้คอนกรีตสามารถปั๊มผ่านท่อไปได้
2.รูปร่าง (SHAPE)
การผลิตคอนกรีตในประเทศไทย ส่วนใหญ่ใช้หินย่อย (CRUSHED ROCK)เป็นมวลรวมหยาบ หินย่อยในแต่ละแหล่งจะมีรูปร่างแตกต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเรื่องนี้มาพิจารณาในการออกแบบส่วนผสมของคอนกรีตด้วย
สมมุติว่าหินมีรูปร่างเป็นทรงลูกบาศก์ ขนาด 2x2x2 เซนติเมตร จะได้ปริมาตร 8 ลูกบาศก์เซนติเมนตร และพื้นที่ผิว 24 ตารางเซนติเมตร แต่ถ้าหินนี้มีรูปร่างยาว (FLAKY , LONGITUDINAL GRAIN) ขนาด 0.5 เซนติเมตร x2 เซนติเมตร x8 เซนติเมตร ปริมาตร 8 ลูกบาศก์เซนติเมตร พื้นที่ผิว = 2x(0.5 เซนติเมตร x2 เซนติเมตร) + 2x(0.5 เซนติเมนตร x8 เซนติเมตร) +2x(2 เซนติเมตร x8 เซนติเมตร) = 42 ตารางเซนติเมตร
จากตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า พื้นที่ผิว จะขึ้นอยู่กับรูปร่างของหินอย่างมาก
มวลรวมที่มีพื้นผิวหยาบ เป็นเหลี่ยมมุม เช่น หินย่อย จะต้องปรับส่วนผสมให้มีส่วนละเอียดเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันการขัดกันระหว่างมวลรวม
มวลรวมที่มีความพรุน จะดูดซึมน้ำได้เร็ว อาจทำให้ปั๊มติดขัดได้ แนวทางแก้ไขคือ พยายาม ทำให้มวลรวมเปียกชื้นอยู่เสมอ