การกร่อนหรือหลุดร่อนของคอนกรีตเป็นเรื่องที่พบเห็นกันบ่อย สามารถเกิดขึ้นได้กับคอนกรีตที่พึ่งเทใหม่หรือคอนกรีตที่ได้มีการใช้งานมาระยะหนึ่งแล้ว โดยมีสาเหตุ การป้องกันและวิธีการแก้ไขดังต่อไปนี้
สาเหตุที่ทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตหลุดร่อน
การเลือกใช้คอนกรีตไม่ถูกกับประเภทของงาน เช่น เลือกใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดต่ำเกินไปและมีความสามารถรับการขัดสีได้น้อย
มีปริมาณน้ำในส่วนผสมคอนกรีตที่มากเกินไปหรือมีการเติมน้ำที่หน้างาน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเยิ้มขึ้นที่ผิวหน้าคอนกรีต ซึ่งการเยิ้มของน้ำที่มากไปนั้นจะนำน้ำและส่วนละเอียดต่างๆ ลอยขึ้นมาอยู่ที่ผิวหน้าของพื้นคอนกรีต ส่งผลให้ผิวหน้าไม่แข็งแกร่ง
อัตราส่วนผสมของคอนกรีตไม่ถูกต้อง มีส่วนผสมที่เป็นวัสดุเชื่อมประสานน้อยเกินไป
การแต่งผิวหน้าคอนกรีตที่เร็วเกิน ก่อนที่น้ำจะเยิ้มขึ้นมาที่ผิวหน้าเต็มที่ การแต่งผิวหน้าในช่วงเวลาดังกล่าวจะทำให้น้ำที่กำลังเยิ้มขึ้นมา ถูกดันกลับเข้าไปในเนื้อคอนกรีต ดังนั้นผิวหน้าคอนกรีตจึงมี
อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์สูงกว่าที่ออกแบบ ส่งผลให้ผิวหน้าคอนกรีตขาดความแข็งแกร่ง
น้ำส่วนเกินจากในระหว่างการแต่งผิวหน้าคอนกรีต เช่น การสลัดน้ำเพื่อที่จะได้ขัดหน้าได้สะดวกขึ้น หรือจากการแต่งผิวหน้าคอนกรีตเร็วเกินไป
น้ำที่ใช้ในการผสมคอนกรีตไม่สะอาด มีสารเจือปนที่เป็นอันตรายต่อคอนกรีต
การสาดปูนซีเมนต์ผงในขณะที่ทำการแต่งผิวหน้าคอนกรีต เป็นการเพิ่มปริมาณส่วนละเอียดให้กับผิว
หน้าคอนกรีตให้มากขึ้น ซึ่งทำให้ชั้นของผิวหน้าคอนกรีตไม่แข็งแรง
ไม่มีการป้องกันผิวหน้าคอนกรีตที่ยังไม่แข็งตัว ขณะเกิดฝนตก
ข้อแนะนำ เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาคอนกรีตหลุดร่อน
1. ควบคุมค่ายุบตัวคอนกรีตที่เทพื้น ไม่ควรเกิน 10 ซม. ไม่ทำการเพิ่มค่ายุบตัวของคอนกรีต โดยการเติมน้ำเพิ่มลงในคอนกรีตที่หน้างานอีก โดยหากต้องการเพิ่มค่ายุบตัวให้มากกว่า 10 ซม. ควรใช้น้ำยาลดน้ำประเภท Superplasticizer
2. ไม่ควรทำการแต่งผิวหน้าในขณะที่ยังมีการเยิ้มที่ผิวหน้าของคอนกรีต เพราะจะเป็นการทำให้น้ำที่กำลังจะลอยขึ้นมาที่ผิวหน้าถูกกักกลับไปใต้ผิวคอนกรีตอีก ยิ่งกว่านั้นยังเป็นการดึงฝุ่นและทรายขึ้นมาอยู่ที่ผิวหน้าอีกด้วย
3. ห้ามสาดปูนซีเมนต์ผง เพื่อดูดซับน้ำที่เยิ้มบนผิวหน้าคอนกรีต แต่ถ้าต้องการเอาน้ำที่เยิ้มออกไปจากผิวหน้าคอนกรีตก็ให้ใช้สายยางดูดออก หรือใช้ที่ปาดน้ำทำการปาดน้ำที่อยู่ที่ผิวหน้าคอนกรีตแทนการสาดปูนซีเมนต์ผง
4. ทำการบ่มคอนกรีตทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการแต่งผิวหน้าและคอนกรีตเริ่มแข็งตัว โดยทำการบ่มอย่างน้อย 7 วัน ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของคอนกรีตและโครงสร้าง อาจใช้ได้หลายวิธี เช่น การบ่มโดยใช้วัสดุอุ้มน้ำคลุมแล้วฉีดน้ำให้ชุ่ม, ฉีดน้ำให้เปียกชื้น หรือใช้แผ่นพลาสติกคลุม เป็นต้น สำหรับงานที่ต้องการความสวยงามของพื้นผิวควรหลีกเลี่ยงการบ่มโดยการคลุมด้วยกระสอบหรือทราย เนื่องจากอาจจะทิ้งคราบตกค้างอยู่บนพื้นผิวคอนกรีตหลังจากการบ่มได้
วิธีแก้ไขผิวหน้าของคอนกรีตหลุดร่อน
หากผิวหน้าหลุดร่อนน้อยกว่า 3/8 นิ้วหรือประมาณ 1 ซม. สามารถทำการซ่อมได้โดยวิธีเคลือบผิวหน้าเดิมด้วย Slurry หรือที่เรียกว่า Slurry Seal แต่หากผิวหน้าที่หลุดร่อนนั้นลึกกว่า 3/8 นิ้วหรือประมาณ 1 ซม. ควรทำการเททับหน้าใหม่หรือวิธี Overlay ด้วยคอนกรีตหรือแอสฟัลส์ตามที่เห็นสมควรกับการใช้งานหรือความทนทาน
สาเหตุที่ทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตหลุดร่อน
การเลือกใช้คอนกรีตไม่ถูกกับประเภทของงาน เช่น เลือกใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดต่ำเกินไปและมีความสามารถรับการขัดสีได้น้อย
มีปริมาณน้ำในส่วนผสมคอนกรีตที่มากเกินไปหรือมีการเติมน้ำที่หน้างาน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเยิ้มขึ้นที่ผิวหน้าคอนกรีต ซึ่งการเยิ้มของน้ำที่มากไปนั้นจะนำน้ำและส่วนละเอียดต่างๆ ลอยขึ้นมาอยู่ที่ผิวหน้าของพื้นคอนกรีต ส่งผลให้ผิวหน้าไม่แข็งแกร่ง
อัตราส่วนผสมของคอนกรีตไม่ถูกต้อง มีส่วนผสมที่เป็นวัสดุเชื่อมประสานน้อยเกินไป
การแต่งผิวหน้าคอนกรีตที่เร็วเกิน ก่อนที่น้ำจะเยิ้มขึ้นมาที่ผิวหน้าเต็มที่ การแต่งผิวหน้าในช่วงเวลาดังกล่าวจะทำให้น้ำที่กำลังเยิ้มขึ้นมา ถูกดันกลับเข้าไปในเนื้อคอนกรีต ดังนั้นผิวหน้าคอนกรีตจึงมี
อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์สูงกว่าที่ออกแบบ ส่งผลให้ผิวหน้าคอนกรีตขาดความแข็งแกร่ง
น้ำส่วนเกินจากในระหว่างการแต่งผิวหน้าคอนกรีต เช่น การสลัดน้ำเพื่อที่จะได้ขัดหน้าได้สะดวกขึ้น หรือจากการแต่งผิวหน้าคอนกรีตเร็วเกินไป
น้ำที่ใช้ในการผสมคอนกรีตไม่สะอาด มีสารเจือปนที่เป็นอันตรายต่อคอนกรีต
การสาดปูนซีเมนต์ผงในขณะที่ทำการแต่งผิวหน้าคอนกรีต เป็นการเพิ่มปริมาณส่วนละเอียดให้กับผิว
หน้าคอนกรีตให้มากขึ้น ซึ่งทำให้ชั้นของผิวหน้าคอนกรีตไม่แข็งแรง
ไม่มีการป้องกันผิวหน้าคอนกรีตที่ยังไม่แข็งตัว ขณะเกิดฝนตก
ข้อแนะนำ เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาคอนกรีตหลุดร่อน
1. ควบคุมค่ายุบตัวคอนกรีตที่เทพื้น ไม่ควรเกิน 10 ซม. ไม่ทำการเพิ่มค่ายุบตัวของคอนกรีต โดยการเติมน้ำเพิ่มลงในคอนกรีตที่หน้างานอีก โดยหากต้องการเพิ่มค่ายุบตัวให้มากกว่า 10 ซม. ควรใช้น้ำยาลดน้ำประเภท Superplasticizer
2. ไม่ควรทำการแต่งผิวหน้าในขณะที่ยังมีการเยิ้มที่ผิวหน้าของคอนกรีต เพราะจะเป็นการทำให้น้ำที่กำลังจะลอยขึ้นมาที่ผิวหน้าถูกกักกลับไปใต้ผิวคอนกรีตอีก ยิ่งกว่านั้นยังเป็นการดึงฝุ่นและทรายขึ้นมาอยู่ที่ผิวหน้าอีกด้วย
3. ห้ามสาดปูนซีเมนต์ผง เพื่อดูดซับน้ำที่เยิ้มบนผิวหน้าคอนกรีต แต่ถ้าต้องการเอาน้ำที่เยิ้มออกไปจากผิวหน้าคอนกรีตก็ให้ใช้สายยางดูดออก หรือใช้ที่ปาดน้ำทำการปาดน้ำที่อยู่ที่ผิวหน้าคอนกรีตแทนการสาดปูนซีเมนต์ผง
4. ทำการบ่มคอนกรีตทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการแต่งผิวหน้าและคอนกรีตเริ่มแข็งตัว โดยทำการบ่มอย่างน้อย 7 วัน ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของคอนกรีตและโครงสร้าง อาจใช้ได้หลายวิธี เช่น การบ่มโดยใช้วัสดุอุ้มน้ำคลุมแล้วฉีดน้ำให้ชุ่ม, ฉีดน้ำให้เปียกชื้น หรือใช้แผ่นพลาสติกคลุม เป็นต้น สำหรับงานที่ต้องการความสวยงามของพื้นผิวควรหลีกเลี่ยงการบ่มโดยการคลุมด้วยกระสอบหรือทราย เนื่องจากอาจจะทิ้งคราบตกค้างอยู่บนพื้นผิวคอนกรีตหลังจากการบ่มได้
วิธีแก้ไขผิวหน้าของคอนกรีตหลุดร่อน
หากผิวหน้าหลุดร่อนน้อยกว่า 3/8 นิ้วหรือประมาณ 1 ซม. สามารถทำการซ่อมได้โดยวิธีเคลือบผิวหน้าเดิมด้วย Slurry หรือที่เรียกว่า Slurry Seal แต่หากผิวหน้าที่หลุดร่อนนั้นลึกกว่า 3/8 นิ้วหรือประมาณ 1 ซม. ควรทำการเททับหน้าใหม่หรือวิธี Overlay ด้วยคอนกรีตหรือแอสฟัลส์ตามที่เห็นสมควรกับการใช้งานหรือความทนทาน