เป็นน้ำยาที่ลดระยะเวลาการก่อตัวของคอนกรีตให้สั้นลงและช่วยเร่งกำลังอัดช่วงต้นให้สูงขึ้น สารเร่งการก่อตัวนิยมใช้ในการเทคอนกรีตที่อุณหภูมิต่ำมากเพื่อเร่งการก่อตัวและแข็งตัวเพื่อป้องกันความเสียหายจากการแข็งตัวของน้ำในส่วนผสมคอนกรีต อีกทั้งยังนิยมถูกนำไปใช้ในงานก่อสร้างที่เร่งด่วน เช่น งานที่ต้องการถอดแบบเร็ว, งานหล่อชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปที่ต้องหมุนเวียนแบบหล่อ,
งานซ่อมแซมโครงสร้างหรือพื้นผิวจราจรที่ต้องเปิดใช้งานเร่งด่วน สารเร่งการก่อตัวที่ใช้ในงานคอนกรีตเทียบเท่ามาตรฐาน ASTM C 494 Specification for Chemical Admixtures for Concrete ประเภท C ซึ่งหากว่าสารเร่งการก่อตัวมีคุณสมบัติลดน้ำด้วยก็จะจัดเป็นน้ำยาผสมคอนกรีตประเภท E สารเร่งการก่อตัวได้แบ่งออกออกเป็น 2 กลุ่มคือ ชนิดที่มีคลอไรด์เป็นส่วนประกอบกับชนิดที่ไม่มีคลอไรด์เป็นส่วนประกอบ สารเร่งการก่อตัวชนิดที่มีคลอไรด์เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่นิยมใช้แคลเซียมคลอไรด์เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการเร่งการก่อตัวสูงอีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าโดยมีทั้งชนิดน้ำและผงตามมาตรฐาน ASTM D 98
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการกัดกร่อนเหล็กเสริมเนื่องจากคลอไรด์ สำหรับ งานคอนกรีตเสริมเหล็กไม่ควรใช้เกินร้อยละ 0.20 และงานคอนกรีตไม่เสริมเหล็กสามารถใช้ได้ไม่เกินร้อยละ 2 โดยน้ำหนักปูนซีเมนต์ในส่วนผสม เนื่องจากอาจจะทำให้เหล็กเสริมภายในเกิดเป็นสนิมเนื่องจากการแพร่กระจายของคลอไรด์ ดังนั้นคอนกรีตอัดแรงและคอนกรีตที่มีการฝังชิ้นส่วนที่เป็นอลูมิเนียมหรือโลหะชุบด้วยไฟฟ้าจึงไม่ควรที่จะใช้น้ำยาลดระยะเวลาการก่อตัวที่มีคลอไรด์เป็นส่วนประกอบเพราะอาจเพิ่มโอกาสการเกิดสนิมในชิ้นส่วนที่ฝังในคอนกรีตได้
งานซ่อมแซมโครงสร้างหรือพื้นผิวจราจรที่ต้องเปิดใช้งานเร่งด่วน สารเร่งการก่อตัวที่ใช้ในงานคอนกรีตเทียบเท่ามาตรฐาน ASTM C 494 Specification for Chemical Admixtures for Concrete ประเภท C ซึ่งหากว่าสารเร่งการก่อตัวมีคุณสมบัติลดน้ำด้วยก็จะจัดเป็นน้ำยาผสมคอนกรีตประเภท E สารเร่งการก่อตัวได้แบ่งออกออกเป็น 2 กลุ่มคือ ชนิดที่มีคลอไรด์เป็นส่วนประกอบกับชนิดที่ไม่มีคลอไรด์เป็นส่วนประกอบ สารเร่งการก่อตัวชนิดที่มีคลอไรด์เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่นิยมใช้แคลเซียมคลอไรด์เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการเร่งการก่อตัวสูงอีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าโดยมีทั้งชนิดน้ำและผงตามมาตรฐาน ASTM D 98
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการกัดกร่อนเหล็กเสริมเนื่องจากคลอไรด์ สำหรับ งานคอนกรีตเสริมเหล็กไม่ควรใช้เกินร้อยละ 0.20 และงานคอนกรีตไม่เสริมเหล็กสามารถใช้ได้ไม่เกินร้อยละ 2 โดยน้ำหนักปูนซีเมนต์ในส่วนผสม เนื่องจากอาจจะทำให้เหล็กเสริมภายในเกิดเป็นสนิมเนื่องจากการแพร่กระจายของคลอไรด์ ดังนั้นคอนกรีตอัดแรงและคอนกรีตที่มีการฝังชิ้นส่วนที่เป็นอลูมิเนียมหรือโลหะชุบด้วยไฟฟ้าจึงไม่ควรที่จะใช้น้ำยาลดระยะเวลาการก่อตัวที่มีคลอไรด์เป็นส่วนประกอบเพราะอาจเพิ่มโอกาสการเกิดสนิมในชิ้นส่วนที่ฝังในคอนกรีตได้