แบบหล่อมาตรฐานสำหรับเตรียมตัวอย่างคอนกรีตรูปทรงกระบอกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 ซม. สูง 30 ซม. ทำจากเหล็กมีความแรงผิวด้านในเรียบ สามารถคงรูปทรงกระบอก และสามารถป้องกันน้ำปูนไม่ให้รั่วออกมาจากแบบหล่อได้
มาตรฐาน ASTM C192 [2] ได้กำหนดให้หล่อคอนกรีตลงแบบมาตรฐานเป็น 3 ชั้น แต่ละชั้นมีปริมาตรคอนกรีตเท่าๆกัน แต่ละชั้นกระทุ้ง 25 ครั้งด้วยเหล็กเส้นกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มม. ยาว 61 ซม. โดยชั้นที่ 2 และ 3 ต้องกระทุ้งให้ทะลุลงไปยังชั้นที่ต่ำกว่าประมาณ 2.5 ซม. เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง เมื่อครบทั้ง 3 ชั้นแล้วจึงทำการปาดผิวหน้าของคอนกรีตให้เรียบ และทิ้งคอนกรีตที่อุณหภูมิ 16 ถึง 17 องศาเซลเซียส โดยมารบกวนจนคอนกรีตแข็งตัว การถอดแบบจะทำเมื่อคอนกรีตอายุ 24±8 ชั่วโมงและนำไปบ่มในน้ำปูนขาวอิ่มตัวที่อุณหภูมิ 23±2 องศาเซลเซียสและทำการทดสอบกำลังตามอายุที่กำหนด
เนื่องจากการหล่อคอนกรีตแบบนี้ผิวด้านบนของคอนกรีตจะไม่เรียบพอ ASTM C617 [3] ระบุให้ผิวหน้าของคอนกรีตที่นำมาทดสอบต้องเรียบและแตกต่างกันไม่เกิน 0.05 มม. ซึ่งอาจทำได้โดยการขัดผิวให้เรียบแต่เป็นวิธีที่สิ้นเปลืองและใช้เวลามาก ดังนั้นจึงนิยมใช้การเคลือบหัว ( capping ) คอนกรีต ซึ่งมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่ การใช้ซีเมนต์เพสตข้นเททับบนหัวคอนกรีตตอนเทเสร็จใหม่ๆ การใช้กำมะถัน และปูนปลาสเตอร์กำลังสูงเคลือบหัวคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว การทดสอบคอนกรีตโดยไม่ทำให้ผิวหน้าเรียบจะทำให้กำลังทดสอบมีค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ผิวหน้าคอนกรีตที่ไม่เรียบหรือเอียงเพียง 0.25 มม. อาจทำให้กำลังของคอนกรีตลดลงได้ถึงร้อยละ 33 และจะลดลงมากกว่านี้เมื่อเป็นคอนกรีตกำลังสูง กำลังของวัสดุที่ใช้เคลือบหัว
คอนกรีตควรเท่ากันหรือใกล้เคียงกับกำลังอัดของคอนกรีตี่ทดสอบ ผิวเคลือบหัวคอนกรีตควรบางประมาณ 1.5 ถึง 3 มม. ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการรับแรงของคอนกรีตภายใต้การทดสอบกำลังอัด นอกจากนี้ภายหลังการเคลือบหัวคอนกรีตแล้วต้องทิ้งให้วัสดุที่เคลือบคอนกรีตแข็งตัว เช่น ถาวัสดุเคลือบผิวเป็นกำมะถันควรทิ้งให้แข็งตัวอย่างงต่ำ 2 ชั่วโมง มิฉะนั้นเมื่อทดสอบการรับแรงอัดคอนกรีตผิวเคลือบที่ยังแข็งตัวไม่เต็มที่จะแตกเสียหายก่อนทำให้กำลังที่ได้ต่ำลงกว่าความเป็นจริง โดยทั่วไปนิยมใช้กำมะถันเคลือบหัวคอนกรีตสำหรับคอนกรีตที่มีกำลังไม่สูงมาก กรณีคอนกรีตมีลำลังสูงมากจะใช้การขัดผิวหน้าให้เรียบ กำมะถันที่ใช้เคลือบผิวหน้าไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่หลายครั้ง เพราะจะมีเศษคอนกรีต ฝุ่น และทรายปนกลับมาทำให้คุณภาพของกำมะถันลดลง นอกจากนี้กำมะถันที่นำกลับมาใช้อีกหรือที่เหลืออยู่ในหม้อต้มผ่านการต้มหลายครั้งจะมีกำลังต่ำลง ดังนั้นจึงควรตรวจสอบว่ากำมะถันที่ใช้ไม่มีปัญหาดังกล่าว
รายละเอียดของการเคลือบหัวคอนกรีตมีอยู่ในมาตรฐาน ASTM C617 [3] ในการเคลือบกำมะถันจะใช้แบบเหล็กผิวเรียบและแท่งสำหรับตั้งคอนกรีตให้ตรงดังแสดงในรูปที่ 11.2 การเคลือบหัวโดยการเทกำมะถันเหลวซึ่งต้มด้วยอุณหภูมิประมาณ 130 องศาเซลเซียส ลงบนแบบเหล็กที่ทาน้ำมันเครื่องบางๆ เพื่อป้องกันกำมะถันติดหน้าแบบเหล็กจากนั้นจึงคว่ำหัวคอนกรีตที่ต้องการเคลือบลงบนกำมะถันเหลวและให้ตั้งฉากกับผิวหน้าของแบบเหล็กหลังจากนั้นรอให้กำมะถันแข็งตัวซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ถึง 2 นาที สามารถดึงคอนกรีตที่มีกำมะถันเคลือบหัวอยู่ออกมาจากแบบ ส่วนการเคลือบหัวโดยใช้ปูนปลาสเตอร์กำลังสูงจะใช้แผ่นแกวทาด้วยน้ำมันบางๆ กดปูนปลาสเตอร์ลงให้เรียบบนผิวหน้าคอนกรีตที่ต้องการเคลือบหัว และเมื่อปูนปลาสเตอร์แข็งตัวจะสามารถเอาแผ่นแก้วออกได้
มาตรฐาน ASTM C192 [2] ได้กำหนดให้หล่อคอนกรีตลงแบบมาตรฐานเป็น 3 ชั้น แต่ละชั้นมีปริมาตรคอนกรีตเท่าๆกัน แต่ละชั้นกระทุ้ง 25 ครั้งด้วยเหล็กเส้นกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มม. ยาว 61 ซม. โดยชั้นที่ 2 และ 3 ต้องกระทุ้งให้ทะลุลงไปยังชั้นที่ต่ำกว่าประมาณ 2.5 ซม. เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง เมื่อครบทั้ง 3 ชั้นแล้วจึงทำการปาดผิวหน้าของคอนกรีตให้เรียบ และทิ้งคอนกรีตที่อุณหภูมิ 16 ถึง 17 องศาเซลเซียส โดยมารบกวนจนคอนกรีตแข็งตัว การถอดแบบจะทำเมื่อคอนกรีตอายุ 24±8 ชั่วโมงและนำไปบ่มในน้ำปูนขาวอิ่มตัวที่อุณหภูมิ 23±2 องศาเซลเซียสและทำการทดสอบกำลังตามอายุที่กำหนด
เนื่องจากการหล่อคอนกรีตแบบนี้ผิวด้านบนของคอนกรีตจะไม่เรียบพอ ASTM C617 [3] ระบุให้ผิวหน้าของคอนกรีตที่นำมาทดสอบต้องเรียบและแตกต่างกันไม่เกิน 0.05 มม. ซึ่งอาจทำได้โดยการขัดผิวให้เรียบแต่เป็นวิธีที่สิ้นเปลืองและใช้เวลามาก ดังนั้นจึงนิยมใช้การเคลือบหัว ( capping ) คอนกรีต ซึ่งมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่ การใช้ซีเมนต์เพสตข้นเททับบนหัวคอนกรีตตอนเทเสร็จใหม่ๆ การใช้กำมะถัน และปูนปลาสเตอร์กำลังสูงเคลือบหัวคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว การทดสอบคอนกรีตโดยไม่ทำให้ผิวหน้าเรียบจะทำให้กำลังทดสอบมีค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ผิวหน้าคอนกรีตที่ไม่เรียบหรือเอียงเพียง 0.25 มม. อาจทำให้กำลังของคอนกรีตลดลงได้ถึงร้อยละ 33 และจะลดลงมากกว่านี้เมื่อเป็นคอนกรีตกำลังสูง กำลังของวัสดุที่ใช้เคลือบหัว
คอนกรีตควรเท่ากันหรือใกล้เคียงกับกำลังอัดของคอนกรีตี่ทดสอบ ผิวเคลือบหัวคอนกรีตควรบางประมาณ 1.5 ถึง 3 มม. ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการรับแรงของคอนกรีตภายใต้การทดสอบกำลังอัด นอกจากนี้ภายหลังการเคลือบหัวคอนกรีตแล้วต้องทิ้งให้วัสดุที่เคลือบคอนกรีตแข็งตัว เช่น ถาวัสดุเคลือบผิวเป็นกำมะถันควรทิ้งให้แข็งตัวอย่างงต่ำ 2 ชั่วโมง มิฉะนั้นเมื่อทดสอบการรับแรงอัดคอนกรีตผิวเคลือบที่ยังแข็งตัวไม่เต็มที่จะแตกเสียหายก่อนทำให้กำลังที่ได้ต่ำลงกว่าความเป็นจริง โดยทั่วไปนิยมใช้กำมะถันเคลือบหัวคอนกรีตสำหรับคอนกรีตที่มีกำลังไม่สูงมาก กรณีคอนกรีตมีลำลังสูงมากจะใช้การขัดผิวหน้าให้เรียบ กำมะถันที่ใช้เคลือบผิวหน้าไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่หลายครั้ง เพราะจะมีเศษคอนกรีต ฝุ่น และทรายปนกลับมาทำให้คุณภาพของกำมะถันลดลง นอกจากนี้กำมะถันที่นำกลับมาใช้อีกหรือที่เหลืออยู่ในหม้อต้มผ่านการต้มหลายครั้งจะมีกำลังต่ำลง ดังนั้นจึงควรตรวจสอบว่ากำมะถันที่ใช้ไม่มีปัญหาดังกล่าว
รายละเอียดของการเคลือบหัวคอนกรีตมีอยู่ในมาตรฐาน ASTM C617 [3] ในการเคลือบกำมะถันจะใช้แบบเหล็กผิวเรียบและแท่งสำหรับตั้งคอนกรีตให้ตรงดังแสดงในรูปที่ 11.2 การเคลือบหัวโดยการเทกำมะถันเหลวซึ่งต้มด้วยอุณหภูมิประมาณ 130 องศาเซลเซียส ลงบนแบบเหล็กที่ทาน้ำมันเครื่องบางๆ เพื่อป้องกันกำมะถันติดหน้าแบบเหล็กจากนั้นจึงคว่ำหัวคอนกรีตที่ต้องการเคลือบลงบนกำมะถันเหลวและให้ตั้งฉากกับผิวหน้าของแบบเหล็กหลังจากนั้นรอให้กำมะถันแข็งตัวซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ถึง 2 นาที สามารถดึงคอนกรีตที่มีกำมะถันเคลือบหัวอยู่ออกมาจากแบบ ส่วนการเคลือบหัวโดยใช้ปูนปลาสเตอร์กำลังสูงจะใช้แผ่นแกวทาด้วยน้ำมันบางๆ กดปูนปลาสเตอร์ลงให้เรียบบนผิวหน้าคอนกรีตที่ต้องการเคลือบหัว และเมื่อปูนปลาสเตอร์แข็งตัวจะสามารถเอาแผ่นแก้วออกได้