การหล่อเทคอนกรีตให้โครงสร้างบ้านทุกส่วนเชื่อมต่อกันในรอบเดียวอาจทำได้ยาก ส่วนใหญ่มักแบ่งเททีละส่วนโดยมีข้อสำคัญคือ ต้องกำหนดจุดหยุดแบ่งเทคอนกรีตให้เหมาะสม เพื่อความแข็งแรงและปลอดภัยของโครงสร้างบ้าน
เจ้าของบ้านบางคนเข้าเยี่ยมชมขั้นตอนการก่อสร้างบ้านของตน แล้วพบว่าการเทหล่อคอนกรีตแต่ละส่วนนั้นเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน เช่น หล่อเทคานคอนกรีตทิ้งไว้จนแห้งเสร็จเรียบร้อย แล้วจึงค่อยมาเทหล่อพื้นทับคานภายหลัง จนเกิดสงสัยว่า ทำไมไม่เทหล่อคอนกรีตทุกส่วนไปทีเดียวพร้อมๆ กันซึ่งน่าจะดูแข็งแรงและเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกันได้ดีกว่าการเทแบบแยกส่วนเช่นนี้
คำตอบคือ การเทคอนกรีตทีเดียวพร้อมกันทุกส่วนของบ้านไม่ว่าจะเป็น เสา คาน พื้น นั้น ย่อมดีกว่าการแบ่งเทคอนกรีตแยกส่วนทีละครั้งแน่นอน แต่ในทางปฏิบัติจะเป็นไปได้ยากมาก ด้วยข้อจำกัดด้านขั้นตอน เวลา จำนวนอุปกรณ์ และจำนวนคน การแบ่งเทคอนกรีตจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วไปในงานก่อสร้าง เช่น แบ่งเทในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ แบ่งเทเพื่อรองรับการขยายตัวหรือหดตัวของคอนกรีต หรือการแบ่งเทเพื่อลดการแตกร้าว เป็นต้น
โดยทั่วไป การแบ่งเทคอนกรีตมีการคำนวณจุดแบ่งเทและการคำนวณเหล็กเสริมแรงเพื่อรองรับแรงเฉือนบริเวณจุดแบ่งโดยวิศวกรอยู่แล้ว ซึ่งพบได้หลายตำแหน่ง คือ บริเวณจุดรอยต่อต่างๆ ได้แก่ จุดรอยต่อระหว่างตอม่อกับคานคอดิน (คานพื้นชั้นล่าง) จุดรอยต่อหัวเสากับคานชั้นสอง และจุดรอยต่อหัวเสากับคานอเสรับงานหลังคา จุดรอยต่อของการเทคอนกรีตบริเวณที่กล่าวมาส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในตำแหน่งเดียวกับระดับท้องคาน หรือเว้นต่ำลงมากว่าระดับท้องคานไม่เกิน 5 เซนติเมตร (ดูภาพประกอบด้านล่าง) โดยจุดแบ่งเทนี้จะมีการเสริมจำนวนเหล็กเพิ่ม และมีระยะทับซ้อนของเหล็กยาวเลยตำแหน่งจุดแบ่งเท เพื่อช่วยยึดรั้งไม่ให้คอนกรีตที่แบ่งเทสองครั้งเกิดรอยแยกตามรอยต่อ และในบางกรณียังมีการเทน้ำยาประสานคอนกรีตก่อนเทคอนกรีตใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะอีกด้วย
ภาพ :ตำแหน่งจุดหยุดเทคอนกรีตในเสา
อีกจุดหนึ่งที่สามารถทำการแบ่งเทคอนกรีตตามหลักทางวิศวกรรมได้ก็คือ ได้คือบริเวณกึ่งกลางคาน (จุดแบ่งกึ่งกลางระหว่างเสาสองต้น) เนื่องจากเป็นจุดที่มีแรงเฉือนกระทำต่อคานน้อยที่สุด (ดูภาพประกอบด้านล่าง) โดยที่รอยแบ่งจะต้องเป็นรอยตรงตั้งฉากกับแนวคาน ควรใช้แผ่นไม้มากั้นขณะหล่อเพื่อไม่ให้จุดหยุดเทเป็นรอยปากฉลาม ซึ่งในเรื่องของความแข็งแรงนั้น เหล็กเสริมแนวนอน (ตามแนวคาน) สามารถรับแรงที่เกิดขึ้นในบริเวณรอยต่อได้แน่นอน แต่หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะ สามารถเสริมเหล็ก 1-2 เส้นที่มีความยาวประมาณ 1 เมตร ตรงบริเวณรอยต่อ และนำปลายเหล็กไปผูกไว้กับเหล็กปลอก หรือโดยทั่วไปก็เทน้ำยาประสานคอนกรีตบริเวณรอยต่อก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องของความแข็งแรงได้เช่นกัน
ข้อควรระวังในการแบ่งเทคอนกรีตบริเวณคานที่สำคัญ คือ ไม่ควรหยุดเทคอนกรีตในจุดที่ห่างจากเสาในระยะระหว่าง L/4 ถึง L/3 โดยเด็ดขาด (ดูภาพประกอบด้านล่าง) เพราะบริเวณดังกล่าวจะมีแรงเฉือนเกิดในหน้าตัดคานคอนกรีต ทำให้เหล็กที่เรานำมาเสริมเพื่อรองรับแรงเฉือนในคานจะต้องรับแรงที่เกิดบริเวณรอยต่อด้วย จึงส่งผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้าง
ภาพ : ตัวอย่างตำแหน่งจุดที่สมควรหยุด และจุดที่ห้ามหยุดเทคอนกรีตในคาน
การแบ่งเทคอนกรีตอีกกรณีที่พบได้ คือการเทคานไม่พร้อมกับพื้น โดยเริ่มจากการเทคานในระดับที่เสมอกับแนวท้องพื้นก่อน หลังจากที่คานแข็งตัวแล้วจึงทำการติดตั้งไม้แบบพื้น ผูกเหล็กเสริมพื้นสอดกับคาน แล้วจึงเทคอนกรีตอีกครั้งหนึ่ง การแบ่งเทคอนกรีตเช่นนี้จะมีประสิทธิภาพและมีความแข็งแรงเพียงพอ เนื่องจากวิศวกรจะคำนวณเรื่องการรับแรงแบบแบ่งเทไว้แล้ว แต่ก็มีผู้รับเหมาบางรายเลือกที่จะตั้งแบบผูกเหล็กคานและพื้นให้เรียบร้อยก่อนที่จะเทคอนกรีตพร้อมกันทีเดียวเลย วิธีนี้จะทำให้คอนกรีตในพื้นและคานยึดติดกันแน่นหนา และคุณภาพของโครงสร้างที่ได้ก็จะดีขึ้นไปอีกระดับ
ภาพ : (ซ้าย) ตัวอย่างการหยุดเทคอนกรีตในคาน และ (ขวา) คานที่เทเสร็จเรียบร้อยแล้วโดยมีเหล็กเสริมโผล่เพื่อรอผูกเหล็กสำหรับหล่อเทพื้นต่อในภายหลัง
เจ้าของบ้านบางคนเข้าเยี่ยมชมขั้นตอนการก่อสร้างบ้านของตน แล้วพบว่าการเทหล่อคอนกรีตแต่ละส่วนนั้นเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน เช่น หล่อเทคานคอนกรีตทิ้งไว้จนแห้งเสร็จเรียบร้อย แล้วจึงค่อยมาเทหล่อพื้นทับคานภายหลัง จนเกิดสงสัยว่า ทำไมไม่เทหล่อคอนกรีตทุกส่วนไปทีเดียวพร้อมๆ กันซึ่งน่าจะดูแข็งแรงและเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกันได้ดีกว่าการเทแบบแยกส่วนเช่นนี้
คำตอบคือ การเทคอนกรีตทีเดียวพร้อมกันทุกส่วนของบ้านไม่ว่าจะเป็น เสา คาน พื้น นั้น ย่อมดีกว่าการแบ่งเทคอนกรีตแยกส่วนทีละครั้งแน่นอน แต่ในทางปฏิบัติจะเป็นไปได้ยากมาก ด้วยข้อจำกัดด้านขั้นตอน เวลา จำนวนอุปกรณ์ และจำนวนคน การแบ่งเทคอนกรีตจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วไปในงานก่อสร้าง เช่น แบ่งเทในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ แบ่งเทเพื่อรองรับการขยายตัวหรือหดตัวของคอนกรีต หรือการแบ่งเทเพื่อลดการแตกร้าว เป็นต้น
โดยทั่วไป การแบ่งเทคอนกรีตมีการคำนวณจุดแบ่งเทและการคำนวณเหล็กเสริมแรงเพื่อรองรับแรงเฉือนบริเวณจุดแบ่งโดยวิศวกรอยู่แล้ว ซึ่งพบได้หลายตำแหน่ง คือ บริเวณจุดรอยต่อต่างๆ ได้แก่ จุดรอยต่อระหว่างตอม่อกับคานคอดิน (คานพื้นชั้นล่าง) จุดรอยต่อหัวเสากับคานชั้นสอง และจุดรอยต่อหัวเสากับคานอเสรับงานหลังคา จุดรอยต่อของการเทคอนกรีตบริเวณที่กล่าวมาส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในตำแหน่งเดียวกับระดับท้องคาน หรือเว้นต่ำลงมากว่าระดับท้องคานไม่เกิน 5 เซนติเมตร (ดูภาพประกอบด้านล่าง) โดยจุดแบ่งเทนี้จะมีการเสริมจำนวนเหล็กเพิ่ม และมีระยะทับซ้อนของเหล็กยาวเลยตำแหน่งจุดแบ่งเท เพื่อช่วยยึดรั้งไม่ให้คอนกรีตที่แบ่งเทสองครั้งเกิดรอยแยกตามรอยต่อ และในบางกรณียังมีการเทน้ำยาประสานคอนกรีตก่อนเทคอนกรีตใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะอีกด้วย
ภาพ :ตำแหน่งจุดหยุดเทคอนกรีตในเสา
อีกจุดหนึ่งที่สามารถทำการแบ่งเทคอนกรีตตามหลักทางวิศวกรรมได้ก็คือ ได้คือบริเวณกึ่งกลางคาน (จุดแบ่งกึ่งกลางระหว่างเสาสองต้น) เนื่องจากเป็นจุดที่มีแรงเฉือนกระทำต่อคานน้อยที่สุด (ดูภาพประกอบด้านล่าง) โดยที่รอยแบ่งจะต้องเป็นรอยตรงตั้งฉากกับแนวคาน ควรใช้แผ่นไม้มากั้นขณะหล่อเพื่อไม่ให้จุดหยุดเทเป็นรอยปากฉลาม ซึ่งในเรื่องของความแข็งแรงนั้น เหล็กเสริมแนวนอน (ตามแนวคาน) สามารถรับแรงที่เกิดขึ้นในบริเวณรอยต่อได้แน่นอน แต่หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะ สามารถเสริมเหล็ก 1-2 เส้นที่มีความยาวประมาณ 1 เมตร ตรงบริเวณรอยต่อ และนำปลายเหล็กไปผูกไว้กับเหล็กปลอก หรือโดยทั่วไปก็เทน้ำยาประสานคอนกรีตบริเวณรอยต่อก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องของความแข็งแรงได้เช่นกัน
ข้อควรระวังในการแบ่งเทคอนกรีตบริเวณคานที่สำคัญ คือ ไม่ควรหยุดเทคอนกรีตในจุดที่ห่างจากเสาในระยะระหว่าง L/4 ถึง L/3 โดยเด็ดขาด (ดูภาพประกอบด้านล่าง) เพราะบริเวณดังกล่าวจะมีแรงเฉือนเกิดในหน้าตัดคานคอนกรีต ทำให้เหล็กที่เรานำมาเสริมเพื่อรองรับแรงเฉือนในคานจะต้องรับแรงที่เกิดบริเวณรอยต่อด้วย จึงส่งผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้าง
ภาพ : ตัวอย่างตำแหน่งจุดที่สมควรหยุด และจุดที่ห้ามหยุดเทคอนกรีตในคาน
การแบ่งเทคอนกรีตอีกกรณีที่พบได้ คือการเทคานไม่พร้อมกับพื้น โดยเริ่มจากการเทคานในระดับที่เสมอกับแนวท้องพื้นก่อน หลังจากที่คานแข็งตัวแล้วจึงทำการติดตั้งไม้แบบพื้น ผูกเหล็กเสริมพื้นสอดกับคาน แล้วจึงเทคอนกรีตอีกครั้งหนึ่ง การแบ่งเทคอนกรีตเช่นนี้จะมีประสิทธิภาพและมีความแข็งแรงเพียงพอ เนื่องจากวิศวกรจะคำนวณเรื่องการรับแรงแบบแบ่งเทไว้แล้ว แต่ก็มีผู้รับเหมาบางรายเลือกที่จะตั้งแบบผูกเหล็กคานและพื้นให้เรียบร้อยก่อนที่จะเทคอนกรีตพร้อมกันทีเดียวเลย วิธีนี้จะทำให้คอนกรีตในพื้นและคานยึดติดกันแน่นหนา และคุณภาพของโครงสร้างที่ได้ก็จะดีขึ้นไปอีกระดับ
ภาพ : (ซ้าย) ตัวอย่างการหยุดเทคอนกรีตในคาน และ (ขวา) คานที่เทเสร็จเรียบร้อยแล้วโดยมีเหล็กเสริมโผล่เพื่อรอผูกเหล็กสำหรับหล่อเทพื้นต่อในภายหลัง