รายละเอียด
ชะลอความเสียหายของโครงสร้างจากซัลเฟต ด้วยคอนกรีตพิเศษที่มีความสามารถต้านทานซัลเฟตสูงสุด ด้วยหลักการลดการขยายตัวของคอนกรีตเนื่องจากซัลเฟต ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้คอนกรีตแตกร้าว เหล็กเสริมเป็นสนิม จนสูญเสียความสามารถในการรับน้ำหนักในที่สุด โดยการออกแบบส่วนผสมคอนกรีต ให้มีอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานต่ำที่สุด และผสมวัสดุปอซโซลานในปริมาณที่เหมาะสม ให้คอนกรีตมีเนื้อแน่น ต้านทานการซึมผ่านของซัลเฟต
เหมาะสำหรับงานประเภท
โครงสร้างคอนกรีตที่ต้องสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่มีสารซัลเฟต เช่น ในดิน น้ำใต้ดิน น้ำเสียจากบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรม
คุณสมบัติ
เนื่องจากมีการลดสารประกอบในคอนกรีตที่ทำปฎิกิริยากับซัลเฟต ทำให้อัตราการขยายตัว และแตกร้าวของเนื้อคอนกรีตลดลง
มีความทนทานสูง สามารถต้านทานการซึมผ่านของซัลเฟตได้ดีกว่าคอนกรีตทั่วไป
สะดวก และรวดเร็วในการเทมากกว่า ด้วยอนุภาคที่กลมของปอซโซลาน ทำให้คอนกรีตสามารถลื่นไหล แทรกตัวระหว่างเหล็กเสริมที่หนาแน่นได้ดี
คำแนะนำในการใช้งาน และข้อควรระวัง
ไม่ควรเติมน้ำเพื่อให้คอนกรีตมีความเหลวมากขึ้น เพราะจะทำให้คุณสมบัติคอนกรีต ไม่เป็นไปตามที่ออกแบบไว้
ควรจี้เขย่าคอนกรีตอย่างถูกวิธี ตามข้อกำหนดมาตรฐานวัสดุและการก่อสร้าง สำหรับโครงสร้างคอนกรีต (วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโพรงในคอนกรีต และจะทำให้คอนกรีตมีความแข็งแรง และคงทนเพิ่มขึ้น
การบ่มคอนกรีต ควรทำการบ่มชื้นคอนกรีตทันที หลังจากที่คอนกรีตเริ่มเซ็ตตัว อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 7 วัน ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การขังน้ำ ใช้น้ำยาสำหรับบ่มคอนกรีต ใช้กระสอบเปียกคลุม แล้วรดน้ำให้ชุ่มตลอดเวลา หรือฉีดด้วยน้ำสะอาดให้ชุ่มตลอดเวลา หรือตามข้อกำหนดมาตรฐานวัสดุและการก่อสร้าง สำหรับโครงสร้างคอนกรีต (วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย)
โครงสร้างและอาคาร หรือสิ่งก่อสร้างพิเศษที่อาจจะต้องใช้วิธีการบ่มที่เหมาะสมอื่นๆ นอกเหนือจากวิธีนี้
ชะลอความเสียหายของโครงสร้างจากซัลเฟต ด้วยคอนกรีตพิเศษที่มีความสามารถต้านทานซัลเฟตสูงสุด ด้วยหลักการลดการขยายตัวของคอนกรีตเนื่องจากซัลเฟต ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้คอนกรีตแตกร้าว เหล็กเสริมเป็นสนิม จนสูญเสียความสามารถในการรับน้ำหนักในที่สุด โดยการออกแบบส่วนผสมคอนกรีต ให้มีอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานต่ำที่สุด และผสมวัสดุปอซโซลานในปริมาณที่เหมาะสม ให้คอนกรีตมีเนื้อแน่น ต้านทานการซึมผ่านของซัลเฟต
เหมาะสำหรับงานประเภท
โครงสร้างคอนกรีตที่ต้องสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่มีสารซัลเฟต เช่น ในดิน น้ำใต้ดิน น้ำเสียจากบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรม
คุณสมบัติ
เนื่องจากมีการลดสารประกอบในคอนกรีตที่ทำปฎิกิริยากับซัลเฟต ทำให้อัตราการขยายตัว และแตกร้าวของเนื้อคอนกรีตลดลง
มีความทนทานสูง สามารถต้านทานการซึมผ่านของซัลเฟตได้ดีกว่าคอนกรีตทั่วไป
สะดวก และรวดเร็วในการเทมากกว่า ด้วยอนุภาคที่กลมของปอซโซลาน ทำให้คอนกรีตสามารถลื่นไหล แทรกตัวระหว่างเหล็กเสริมที่หนาแน่นได้ดี
คำแนะนำในการใช้งาน และข้อควรระวัง
ไม่ควรเติมน้ำเพื่อให้คอนกรีตมีความเหลวมากขึ้น เพราะจะทำให้คุณสมบัติคอนกรีต ไม่เป็นไปตามที่ออกแบบไว้
ควรจี้เขย่าคอนกรีตอย่างถูกวิธี ตามข้อกำหนดมาตรฐานวัสดุและการก่อสร้าง สำหรับโครงสร้างคอนกรีต (วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโพรงในคอนกรีต และจะทำให้คอนกรีตมีความแข็งแรง และคงทนเพิ่มขึ้น
การบ่มคอนกรีต ควรทำการบ่มชื้นคอนกรีตทันที หลังจากที่คอนกรีตเริ่มเซ็ตตัว อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 7 วัน ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การขังน้ำ ใช้น้ำยาสำหรับบ่มคอนกรีต ใช้กระสอบเปียกคลุม แล้วรดน้ำให้ชุ่มตลอดเวลา หรือฉีดด้วยน้ำสะอาดให้ชุ่มตลอดเวลา หรือตามข้อกำหนดมาตรฐานวัสดุและการก่อสร้าง สำหรับโครงสร้างคอนกรีต (วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย)
โครงสร้างและอาคาร หรือสิ่งก่อสร้างพิเศษที่อาจจะต้องใช้วิธีการบ่มที่เหมาะสมอื่นๆ นอกเหนือจากวิธีนี้
Tag :
คอนกรีตทนซัลเฟตซีแพค