โดยทั่วไป อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการทำปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างน้ำกับปูนซีเมนต์ อยู่ระหว่าง 16-32 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิสูงกว่านี้แล้ว ถือว่าเป็นอากาศร้อนสำหรับการปฏิบัตงานคอนกรีต การเทคอนกรีตในขณะที่อากาศร้อน เป็นปัญหาสำหรับประเทศในภูมิศาสตร์เขตร้อนอย่างประเทศไทย
การที่อุณหภูมิสูง จะทำให้น้ำภายในคอนกรีตระเหยเร็วมาก ปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างน้ำกับปูนซีเมนต์เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อัตราการแข็งตัวของคอนกรีตจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้คอนกรีตเกิดการแตกร้าวที่ผิว Plastic Shrinkage Crack การแต่งผิวหน้ายากขึ้น รวมถึงทำให้เกิดรอยต่อขณะเทคอนกรีต Cold Joint ได้ง่าย การเพิ่มปริมาณน้ำในส่วนผสมไม่ใช่วิธีที่ดี เพราะทำให้กำลังของคอนกรีตลดลง
ข้อแนะนำในการผสมคอนกรีตให้มีคุณภาพดีในขณะอากาศร้อน คือ
1. ควรป้องกันวัสดุผสมมิให้กระทบกับแสงแดดโดยตรง หรือฉีดพ่นน้ำเพื่อลดความร้อน ในขณะลำเลียงวัสดุเข้าสู่เครื่องผสม
2. น้ำที่ใช้ผสมคอนกรีต ควรทำให้เย็น โดยการผสมน้ำแข็งลงไป ช่วยลดอุณหภูมิได้เป็นอย่างมาก
3. พ่นน้ำบนแบบหล่อ เหล็กเสริม และผิวพื้นดิน ก่อนการเทคอนกรีต เพื่อลดความร้อนให้ระเหยออกไปก่อน และช่วยป้องกันการดูดซับน้ำจากคอนกรีต
4. ควรเทคอนกรีตต่อเนื่องตลอดทั้งพื้นที่ และเทคอนกรีตต่อกับคอนกรีตที่ยังคงสภาพเหลว ห้ามเทคอนกรีตต่อกับคอนกรีตซึ่งเททิ้งไว้นานเกิน 30 นาที เพราะจะเกิดรอยต่ออันไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น ขณะเทคอนกรีต Cold Joint
5. ตบแต่งผิวหน้าคอนกรีตทันทีที่เทเสร็จ และป้องกันแสงแดดในขณะแต่งผิว
6. ทำการบ่มคอนกรีตโดยพ่นน้ำบนผิวคอนกรีต หลังจากคอนกรีตได้อายุ 24 ชั่วโมง อุณหภูมิของน้ำที่นำมาใช้บ่ม ไม่ควรต่างจากอุณหภูมิของคอนกรีตมากนัก เพราะอาจจะทำให้เกิดการแตกร้าวได้ จากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว
7. ใช้สารเคมีผสมเพิ่ม ประเภทสารหน่วงการแข็งตัว Retarders เพื่อยืดระยะเวลาก