การเทคอนกรีตและการทำให้แน่น
1. หลีกเลี่ยงการเคลื่อนย้ายตำแหน่งของคอนกรีตโดยใช้เครื่องสั่นคอนกรีต
2. ควรเทคอนกรีตทีละชั้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ลาดเอียง ไม่ควรเทสุมเป็นกอง
3. ความหนาของการเทแต่ละชั้น ควรเหมาะกับกำลังของเครื่องสั่นคอนกรีต เพื่อให้สามารถไล่ฟองอากาศออกจากส่วนล่างของแต่ละชั้น
4. งานเทคอนกรีตสำหรับผนัง ควรเทให้หนาเป็นชั้น ความหนาชั้นละประมาณ 30-45ซม. ควรเริ่มเทคอนกรีตจากมุม หรือจุดท้ายสุดของแบบผนัง
5. อัตราการเทคอนกรีต และการสั่นคอนกรีต ควรมีความสมดุลกัน
6. ควรทำการสั่นคอนกรีตให้แน่นเสียก่อนในแต่ละชั้น ก่อนที่จะเทคอนกรีตในชั้นถัดไป
7. โครงสร้างในแนวดิ่ง เช่น เสา และผนัง ไม่ควรเทคอนกรีตเร็วกว่า ความสูง 2 เมตรต่อ ชั่วโมง และควรเทอย่างต่อเนื่อง เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดรอยขณะเทคอนกรีต Cold Joint
8. หลีกเลี่ยงการเทเสาคอนกรีตกระทบกับแบบหล่อหรือเหล็กเสริมโดยตรง กรณีโครงสร้างที่มีความสูง เช่น เสา ผนัง คานลึก ปล่องลิฟท์ ควรใช้ท่อเทคอนกรีต Tremie or Pipe เพื่อป้องกันการแยกตัว
9. โดยทั่วไปควรเทคอนกรีตลงในแนวดิ่ง แต่สำหรับการเทคอนกรีตในแนวนอน หรือแนวลาดเอียง ต้องเทคอนกรีตจากจุดต่ำสุด และให้คอนกรีตดันตัวขึ้นมาตามแบบหล่อ ควรเทคอนกรีตอย่างต่อเนื่องกัน
10. ไม่ควรให้ระยะตกอิสระของคอนกรีตสูงกว่า 1.5ม.
11. หากต้องการหล่อคอนกรีต เสา ผนัง คาน พื้นพร้อมกัน ทำได้โดยเทคอนกรีตส่วนเสาและผนังทิ้งไว้ก่อน ประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วจึงเทคอนกรีตในส่วนของคานและพื้นต่อไปได้ แต่ต้องระวังอย่างให้กระทบกระเทือนต่อเสาและผนังที่ยังไม่แข็งตัวดี