1. ในขณะเป็นคอนกรีตสด คอนกรีตต้องการน้ำจำนวนเพียงให้ลื่นไหลเข้าแบบได้ หากใส่น้ำปริมาณมากจนทำให้คอนกรีตเหลวมาก เพื่อสะดวกในการเท ซึ่งจะส่งผลทำให้คอนกรีตมีความ
แข็งแรงและความคงทนต่ำลงอย่างมาก
2. ในขณะเป็นคอนกรีตแข็งตัวแล้ว คอนกรีตต้องการน้ำจำนวนมากเพื่อบ่มให้กำลังอัดได้พัฒนาขึ้นตามเวลา รวมถึงการป้องกันปัญหาการแตกร้าวเนื่องจากการสูญเสียน้ำของคอนกรีตอีกด้วย
ด้วยสองปัญหานี้คอนกรีตที่ใช้ในงานทั่วไปจะได้กำลังต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเพราะใช้ปริมาณน้ำ
ไม่เหมาะสม นอกจากนั้นยังมีปัญหาที่มาจากคุณสมบัติของน้ำโดยน้ำที่นำมาผสมคอนกรีตมีสิ่งเจือปน
อยู่มากเกินอาจก่อปัญหาทางด้านคุณภาพ ได้ดังนี้
1. กำลังและความทนทานของคอนกรีตลดลง
2. เวลาการก่อตัวเปลี่ยนแปลงไป
3. คอนกรีตเกิดการหดตัวมากกว่าปกติ
4. อาจมีการละลายของสารประกอบภายในคอนกรีตออกมาแข็งตัวบนผิวนอก
(Efflorescence)
ทั้งนี้สิ่งเจือปนที่ส่งผลเสียต่อคุณภาพของคอนกรีตมี 3 ประเภท คือ ตะกอน สารละลายอนินทรีย์
สารละลายอินทรีย์ ซึ่งถ้ามีสิ่งเจือปนนี้ปริมาณน้อย ก็จะไม่ก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรง
ตะกอน หากน้ำมีปริมาณตะกอนเกินกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อลิตร อาจจะทำให้ต้องใช้ปริมาณน้ำมากกว่าปกติ การหดตัวของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้น หรือทำให้เกิดขี้เกลือบริเวณผิวของคอนกรีต(Efflorescence) ดังนั้นน้ำที่ใช้มีความขุ่นมากควรปล่อยให้ตกตะกอนเสียก่อน
หากตะกอนนั้นเป็นตะกอนของเห็ดราหรือสารอินทรีย์ต่างๆ การตกตะกอนจะช้าหรือไม่ตกเลย และในระหว่างการผสมคอนกรีตสารอนินทรีย์เหล่านี้จะเริ่มสลายตัว ทำให้ซีเมนต์จะก่อและแข็งตัวช้าลง นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดฟองอากาศปริมาณมากจนกำลังของคอนกรีตลดลง หรือในทางตรงกันข้าม บางครั้งอาจมีผลกระทบต่อการทำงานของสารกักกระจายฟองอากาศ
สารละลายอนินทรีย์ ตามปกติเราสามารถใช้น้ำที่มีสารละลายอนินทรีย์ที่มีความเข้มข้นไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ได้อย่างปลอดภัย ยกเว้นสารละลายบางชนิด เช่น โซเดียมซัลไฟด์เพียง 100มิลลิกรัมต่อลิตร ก็อาจก่อปัญหาได้ ในทางตรงกันข้าม เราสามารถใช้สารละลายอนินทรีย์เป็นสารผสมเพิ่ม เช่น แคลเซียมคลอไรด์ ซึ่งใช้เป็นตัวเร่งการก่อตัว สารละลายของคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนตจะทำให้ซีเมนต์ก่อตัวเร็วขึ้น แต่ถ้าหากใช้สารละลายของคาร์บอเนตหรือซัลเฟตมากเกินไปอาจทำให้กำลังของคอนกรีตลดลงได้
สารละลายของเกลืออนินทรีย์บางชนิด อาจทำให้การก่อตัวและแข็งตัวช้าลง เช่นเกลือของสังกะสี ทองแดง ตะกั่ว แมงกานีส และดีบุก เช่นเดียวกับฟอสเฟต อาร์ซีเนต และ บอเรตในทางปฏิบัติสามารถให้มีความเข้มข้นของสารละลายเหล่านี้ได้ถึง 500 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งสารละลายที่มีความเข้มข้นสูงระดับนี้จะพบได้ เช่น น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
ที่ไม่ได้ผ่านระบบกำจัดสิ่งสกปรกหรือน้ำที่ซึมออกมาจากเหมืองแร่ น้ำที่มีความเป็นด่างสูง เช่น มีปริมาณโซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ เกิน 500 มิลลิกรัมต่อลิตร อาจก่อให้เกิดปัญหาในการก่อตัวอย่างรวดเร็วและ
กำลังคอนกรีตลดลง น้ำทะเล ประกอบไปด้วยเกลือซัลเฟตและคลอไรด์ของโซเดียมและแมกนีเซียม ทำ
ให้คอนกรีตก่อตัวและแข็งตัวเร็วขึ้น แต่เมื่ออายุ 28 วัน กำลังอัดจะลดลงเพราะเกลือซัลเฟต จะทำให้การตกผลึกของ Ettringite ช้าลง นอกจากนี้ไอออนของคลอไรด์มีผลต่อการสึกกร่อนของเหล็กเสริมจึงไมควรใช้น้ำทะเลสำหรับคอนกรีตอัดแรงหรือแม้แต่คอนกรีตเสริมเหล็กธรรมดา
สารละลายอินทรีย์ สารละลายอินทรีย์ทำให้น้ำมีสีและทำให้ปฏิกิริยาไฮเดรชั่นของซีเมนต์ช้า
ลง สารประกอบอินทรีย์หลายชนิดในน้ำจากโรงงานอุตสาหกรรม มีผลเสียต่อปฏิกิริยาไฮเดรชั่นหรือ
ก่อให้เกิดฟองอากาศในปริมาณที่สูง จึงต้องระมัดระวังการใช้น้ำจากโรงงานอุตสาหกรรมยกเว้นกรณีน้ำ
ที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสีย ที่มีปริมาณสารละลายอินทรีย์น้อย
วิธีสังเกตอย่างง่ายว่าน้ำนั้นใช้ผสมคอนกรีตได้หรือไม่มีดังนี้
- ความสะอาด น้ำต้องไม่มีสารเน่าเปื่อยปฏิกูล หรือตะไคร่น้ำ
- สี น้ำต้องใส ถ้ามีสีแสดงว่ามีสารแขวนลอยต่างๆมาก
- กลิ่น น้ำต้องไม่มีกลิ่นเน่า ถ้ามีกลิ่นเน่า ถ้ามีกลิ่นก็มักจะมีสารอินทรีย์ปะปนอยู่มาก
- รส น้ำต้องไม่มีรส ถ้ามีรสกร่อย หรือ เค็ม แสดงว่ามีเกลือแร่อยู่มาก ถ้ามีรสเปรี้ยว แสดงว่าเป็น
กรด
ถ้าฝาดแสดงว่าเป็นด่างจากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้ต้นจะเห็นว่าคุณสมบัติของน้ำมีผลเป็นตัวกำหนดคุณภาพของ
คอนกรีต ดังนั้นคุณสมบัติของน้ำจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ทำให้คอนกรีตของสิ่งปลูกสร้างต่างๆ มีคุณสมบัติที่ดี มีความแข็งแรงและทนทานตามไปด้วยเช่นเดียวกัน โดยกลุ่มฟิสิกส์และวิศวกรรมทั่วไป 2 โครงการฟิสิกส์และวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ
มีหน้าที่รับผิดชอบการวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพของน้ำที่ใช้ผสมคอนกรีตให้แก่ ภาครัฐ และเอกชน ในโครงการก่อสร้างต่างๆ เช่นโครงกาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตลอดโครงการก่อสร้างต่างๆ ของภาครัฐ และเอกชน
http://www.vp-concrete.com/th/concrete-mixed.html