ความเหนียวของคอนกรีตวัดได้จากการทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีตมีหน่วยเป็นเซ็นติเมตร (ซม.)ซึ่งจะบ่งบอกว่าคอนกรีตนั้นแข็งเหนียว หรือ เหลว โดยทั่วไปเราจะใช้ความรู้สึกในการทำงานเช่น การเท การแต่งหน้า ประเมินว่าคอนกรีตนั้นแข็งหรือเหนียวจึงเป็นการยากที่จะบอกว่าคอนกรีตที่เราใช้งานนั้นอยู่มีคุณสมบัติหรือมีความเหมาะสมกับการใช้งานหรือไม่ ดังนั้นควรจะต้องมีการทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต หรือผู้ที่มีความชำนาญเช่น เจ้าหน้าที่ของผู้ผลิตคอนกรีต สามารถบอกค่ายุบตัวของคอนกรีตด้วยสายตาโดยไม่ต้องทดสอบค่ายุบตัวได้
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเราต้องใช้คอนกรีตมีค่าความยุบตัวแค่ใหนที่ดีและเหมาะสม ในการเทคอนกรีตโครงสร้างทั่วไปปกติใช้ค่ายุบตัวของคอนกรีตดังนี้ฐานราก,พื้น ค่ายุบตัว 5 - 10 ซม. เนื่องจากเป็นโครงสร้างที่ค่อนข้างใหญ่มีเหล็กน้อยเสา,คาน ค่ายุบตัว 7.5 - 12.5 ซม. เนื่องจากเป็นโครงสร้างที่แคบมีเหล็กมาก ถ้าใช้คอนกรีตที่ค่ายุบตัวน้อยอาจจะทำให้โครงสร้างเป็นโพรงได้ (ต้องทำให้คอนกรีตอัดแน่นที่ดีด้วยนะครับ เช่น ใช้เครื่องจี้เขย่า, เคาะข้างแบบ, อื่นๆ) โครงสร้างฐานราก พื้น ใช้คอนกรีตค่ายุบตัว 7.5 - 12.5 ซม.ก็ได้ แต่คงจะมีข้อคิดคือคอนกรีตโดยทั่วไปราคาคิดตามกำลังอัดแต่กำลังอัดคอนกรีตที่เท่ากัน ค่ายุบตัว 7.5-12.5 ซม.จะมีราคาแพงกว่า ค่ายุบตัว 5-10 ซม.
แต่ถ้าเรามีการสั่งซื้อคอนกรีตที่มีค่ายุบตัว 5-10 ซม.เมื่อมาถึงหน้างานขณะเทลงแบบ ไม่ว่าจะเป็น คานหรือเสา ช่างปูนอาจจะบอกว่าคอนกรีตเหนียวแต่เมื่อมีการทดสอบค่ายุบตัวแล้วปรากฏว่าค่ายุบตัว เท่ากับ 10 ซม.แล้วมีการเติมน้ำให้คอนกรีตเหลวเพื่อที่จะเทเข้าแบบได้ง่ายๆ โดยหลีกเลี่ยงการอัดแน่นคอนกรีต ในกรณีนี้เมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้วจะทำให้กำลังอัด (ความแข็ง) ลดลง ยิ่งเติมมากยิ่งลดมาก ซึ่งจะมีผลต่อโครงสร้างคือ ความสามารถในการรับน้ำหนักลดน้อยลง
แต่ชีวิตจริงในการทำงานการที่เราจะควบคุมค่ายุบตัวให้อยู่ได้จนเทเสร็จเป็นเรื่องค่อนข้างยาก แต่ถ้าเรามีการวางแผนการเทที่ดีไม่ว่าจะเป็นการเลือกค่ายุบตัวให้เหมาะกับลักษณะโครงสร้าง เวลาในการเท (คอนกรีตค่ายุบตัวจะลดลงตามเวลาที่นานขึ้น) รวมถึงจำนวนคนงานและเครื่องมือที่ใช้จะต้องเพียงพอด้วย และสิ่งที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือการสื่อสารกับผู้ผลิตคอนกรีตเช่น ค่ายุบตัวเมื่อถึงหน้างานให้เป็นค่ายุบตัวสูงสุดที่กำหนดไว้ ในการจัดส่งถ้ามีการเทต่อเนื่อง ไม่ควรให้รถคอนกรีตมารอหน้างานนานจนเกินไปจนทำให้คอนกรีตมีค่ายุบตัวน้อยลง (คอนกรีตแข็ง)
ถ้ามีความจำเป็นต้องมีการเติมน้ำจริงๆ ซึ่งอยากให้เป็นวิธีสุดท้าย ในการเติมน้ำวัตถุประสงค์หลักก็เพื่อเพิ่มความเหลวของคอนกรีต เพื่อให้คอนกรีตให้ทำงานง่ายและทำงานได้เร็วขึ้น หลีกเลี่ยงการอัดแน่นคอนกรีตเพื่อไม่ให้คอนกรีตเป็นโพรง ซึ่งพอมีวิธีการแก้ใขดังนี้
1.เติมน้ำลงไปในคอนกรีตเลยซึ่งมีผลต่อกำลังอัดคอนกรีตแน่นอน
2.เติมน้ำและปูนซีเมนต์ผงแล้วผสมกันให้เข้ากัน
3.ใช้น้ำยาผสมคอนกรีต Type F ในการปรับแต่จะต้องมีผู้มีความชำนาญจากผู้ผลิตเป็นผู้ดำเนินการให้
ข้อแนะนำ ถ้าคอนกรีตที่เราสั่งซื้อมีค่ายุบตัวสูงสุด 10 ซม. และได้ตกลงขอให้ทางโรงงานผู้ผลิตคอนกรีตให้ผลิตคอนกรีตที่มีค่ายุบตัวเมื่อถึงหน้างาน 10 ซม.แต่เมื่อคอนกรีตมาถึงหน้างานปรากฏว่าคอนกรีตแข็งคือมีค่ายุบตัว 6 ซม. ควรปรึกษาโรงงานผู้ผลิตเพื่อให้คำปรึกษาในการดำเนินการปรับค่ายุบตัวให้ได้ตามข้อตกลง
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเราต้องใช้คอนกรีตมีค่าความยุบตัวแค่ใหนที่ดีและเหมาะสม ในการเทคอนกรีตโครงสร้างทั่วไปปกติใช้ค่ายุบตัวของคอนกรีตดังนี้ฐานราก,พื้น ค่ายุบตัว 5 - 10 ซม. เนื่องจากเป็นโครงสร้างที่ค่อนข้างใหญ่มีเหล็กน้อยเสา,คาน ค่ายุบตัว 7.5 - 12.5 ซม. เนื่องจากเป็นโครงสร้างที่แคบมีเหล็กมาก ถ้าใช้คอนกรีตที่ค่ายุบตัวน้อยอาจจะทำให้โครงสร้างเป็นโพรงได้ (ต้องทำให้คอนกรีตอัดแน่นที่ดีด้วยนะครับ เช่น ใช้เครื่องจี้เขย่า, เคาะข้างแบบ, อื่นๆ) โครงสร้างฐานราก พื้น ใช้คอนกรีตค่ายุบตัว 7.5 - 12.5 ซม.ก็ได้ แต่คงจะมีข้อคิดคือคอนกรีตโดยทั่วไปราคาคิดตามกำลังอัดแต่กำลังอัดคอนกรีตที่เท่ากัน ค่ายุบตัว 7.5-12.5 ซม.จะมีราคาแพงกว่า ค่ายุบตัว 5-10 ซม.
แต่ถ้าเรามีการสั่งซื้อคอนกรีตที่มีค่ายุบตัว 5-10 ซม.เมื่อมาถึงหน้างานขณะเทลงแบบ ไม่ว่าจะเป็น คานหรือเสา ช่างปูนอาจจะบอกว่าคอนกรีตเหนียวแต่เมื่อมีการทดสอบค่ายุบตัวแล้วปรากฏว่าค่ายุบตัว เท่ากับ 10 ซม.แล้วมีการเติมน้ำให้คอนกรีตเหลวเพื่อที่จะเทเข้าแบบได้ง่ายๆ โดยหลีกเลี่ยงการอัดแน่นคอนกรีต ในกรณีนี้เมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้วจะทำให้กำลังอัด (ความแข็ง) ลดลง ยิ่งเติมมากยิ่งลดมาก ซึ่งจะมีผลต่อโครงสร้างคือ ความสามารถในการรับน้ำหนักลดน้อยลง
แต่ชีวิตจริงในการทำงานการที่เราจะควบคุมค่ายุบตัวให้อยู่ได้จนเทเสร็จเป็นเรื่องค่อนข้างยาก แต่ถ้าเรามีการวางแผนการเทที่ดีไม่ว่าจะเป็นการเลือกค่ายุบตัวให้เหมาะกับลักษณะโครงสร้าง เวลาในการเท (คอนกรีตค่ายุบตัวจะลดลงตามเวลาที่นานขึ้น) รวมถึงจำนวนคนงานและเครื่องมือที่ใช้จะต้องเพียงพอด้วย และสิ่งที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือการสื่อสารกับผู้ผลิตคอนกรีตเช่น ค่ายุบตัวเมื่อถึงหน้างานให้เป็นค่ายุบตัวสูงสุดที่กำหนดไว้ ในการจัดส่งถ้ามีการเทต่อเนื่อง ไม่ควรให้รถคอนกรีตมารอหน้างานนานจนเกินไปจนทำให้คอนกรีตมีค่ายุบตัวน้อยลง (คอนกรีตแข็ง)
ถ้ามีความจำเป็นต้องมีการเติมน้ำจริงๆ ซึ่งอยากให้เป็นวิธีสุดท้าย ในการเติมน้ำวัตถุประสงค์หลักก็เพื่อเพิ่มความเหลวของคอนกรีต เพื่อให้คอนกรีตให้ทำงานง่ายและทำงานได้เร็วขึ้น หลีกเลี่ยงการอัดแน่นคอนกรีตเพื่อไม่ให้คอนกรีตเป็นโพรง ซึ่งพอมีวิธีการแก้ใขดังนี้
1.เติมน้ำลงไปในคอนกรีตเลยซึ่งมีผลต่อกำลังอัดคอนกรีตแน่นอน
2.เติมน้ำและปูนซีเมนต์ผงแล้วผสมกันให้เข้ากัน
3.ใช้น้ำยาผสมคอนกรีต Type F ในการปรับแต่จะต้องมีผู้มีความชำนาญจากผู้ผลิตเป็นผู้ดำเนินการให้
ข้อแนะนำ ถ้าคอนกรีตที่เราสั่งซื้อมีค่ายุบตัวสูงสุด 10 ซม. และได้ตกลงขอให้ทางโรงงานผู้ผลิตคอนกรีตให้ผลิตคอนกรีตที่มีค่ายุบตัวเมื่อถึงหน้างาน 10 ซม.แต่เมื่อคอนกรีตมาถึงหน้างานปรากฏว่าคอนกรีตแข็งคือมีค่ายุบตัว 6 ซม. ควรปรึกษาโรงงานผู้ผลิตเพื่อให้คำปรึกษาในการดำเนินการปรับค่ายุบตัวให้ได้ตามข้อตกลง