การทำให้คอนกรีตแน่นตัว
การทำให้คอนกรีตแน่นจำต้องทำไปควบคู่กับการเทคอนกรีต เพื่อที่จะทำให้คอนกรีตเกิดการแน่นตัว รูปร่างโครงสร้างมากความสวยงาม คอนกรีตมีการยึดหน่วงกับเหล็กเสริมดี และตามมุมตามขอบของแบบหล่อนั้นต้องทำให้คอนกรีตแน่นเป็นพิเศษอาจจะเอาฆ้อนเคาะด้านข้างแบบหล่อจนรู้สึกว่าคอนกรีตแน่น การทำคอนกรีตให้แน่นมีหลักการดังนี้
1. การกระทุ้งด้วยมือสำหรับกรกระทุ้งด้วยมือจะต้องกระทุ้งให้สุดความหนาของชั้นที่กำลังเทหรืออาจจะกระทุ้งเลยไปในชั้นคอนกรีตข้างใต้ลงไปประมาณ 10 ซม. การใช้เกียงตบก็เป็นอีกวิธีหนึ่งเหมือนที่ทำให้คอนกรีตแน่นจะทำให้ช่วยลดช่องว่างที่เกิดจากฟองอากาศ อุปกรณ์ที่จะนำมากระทุ้งคอนกรีตนั้นควรมีขนาดเหมาะสมกับขนาดมือคนจับไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป
2. การเขย่าด้วยเครื่องการเขย่าให้แน่นนั้นจะได้ผลดีมากกว่าการกระทุ้งด้วยมือเพราะว่าการเขย่านั้นจะได้รัศมีที่กว้างและความแน่นของคอนกรีตมีความสม่ำเสมอทั่วกัน การยุบตัวของคอนกรีตต่ำสามารถอัดตัวแน่นได้ในที่คับแคบร่องลึก หรือเหล็กเสริมที่มีการวางเรียงระยะเหล็กเสริมแคบมาก ๆ ไม่ว่าเครื่องเขย่าชนิดอะไรก็ตาม ควรเว้นระยะห่างสั้น ๆ
ให้เพียงพอที่ส่วนของคอนกรีตที่ถูกเขย่าแล้วมีระยะเหลื่อมกันโดยไม่เว้นข้ามส่วนไหนเลย ควรจะดำเนินการเขย่าต่อไปจนกว่าคอนกรีตแน่นตัวทั่วกันดี ข้อสังเกตที่รู้ว่าคอนกรีตนั้นแน่นดูได้จากผิวของคอนกรีตเรียบ วัสดุผสมของคอนกรีตจมลงในเนื้อคอนกรีตจนหมด หากยังทำการเขย่าคอนกรีตตรงที่เดียวนานเกินไปจะเป็นผลเสียคือคอเนกรีตจะทรุดตัวลงไปข้างล่างปล่อยให้น้ำคอนกรีตหรือ ซีเมนต์เพสต์ลอยขึ้นมาข้างบน ดังนั้นจะทำการเขย่าคอนกรีตภายใน 5-15 วินาที ต่อจุดและระยะห่างในการจี้ครั้งต่อไป จะห่างอยู่ในช่วง 45-75 ซม.
เครื่องเขย่าคอนกรีตแบ่ออกได้ 3 ประเภท คือ
เครื่องเขย่าภายในแบบหล่อ คือ เครื่องเขย่าแบบใช้หัวจุ่ม ควรจุ่มลงในคอนกรีตลงในแนวดิ่ง ห้ามเอียงทำมุมหรือลากหัวจุ่มผ่านเนื้อคอนกรีต ควรใช้วิธีการจุ่มลงไปและถ่อนขึ้นช้า ๆ โดยเดินเครื่องตลอดเวลาในกรจุ่มขึ้นลง เพื่อจะได้ลดช่องว่างเหลือค้างภายในคอนกรีต ไม่ควรใช้หัวจุ่มทำการย้ายคอนกรีตจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่ง เพราะอาจจะทำให้เกิดการแยกตัวของคอนกรีต
เครื่องเขย่าชนิดว่างบนผิวคอนกรีต คือ เครื่องนี้จะใช้ทำให้ชั้นที่กำลังเทแน่นตัวตลอดความหนาของชั้น แต่ถ้าทำให้แน่นตลอดชั้นไม่ได้ควรลดความหนาของชั้นลงมา หรือใช้เครื่องเขย่าที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า
เครื่องเขย่าชนิดตรึงติดแบบหล่อ เครื่องนี้จะใช้ได้ดีในโครงสร้างที่มีความหนาน้อย ๆ หรือตำแหน่งที่เข้าไม่ถึง สิ่งที่ควรระมัดระวังเรื่องการติดตั้ง และการเคลื่อนย้ายเครื่องเขย่าบ่อย ๆ เพื่อให้เป็นผลดีที่สุดต่อความหนาแน่นของคอนกรีต การเขย่าชั้นตื้น ๆ ให้ทั่วจะช่วยลดฟองอากาศ การเขย่าคอนกรีตจะเป็นประโยชน์ราบเท่าที่คอนกรีตยังไม่ก่อตัว
การบ่มคอนกรีต
การบ่มจะดำเนินการจากหลังจากการเทคอนกรีตเสร็จแล้วคอนกรีตมีเช็ดตัวจนสามารถบ่มได้ การบ่มนั้นจะมีกำลังอัดดีกว่าคอนกรีตที่เทแล้วไม่ได้รับการบ่ม หากเวลามีไม่มากพอก็อาจจะบมคอนกรีต ประมาณ 7 วันเป็นอย่างน้อยวิธีการบ่มคอนกรีตมีดังนี้
1. การบ่มคอนกรีตด้วยกระสอบ เมื่อคอนกรีตเริ่มก่อตัว เราก็หากระสอบมาคลุมตรงหน้าผิวคอนกรีตแล้วฉีดน้ำเปียกชื้นตลอดห้ามให้กระสอบแห้งก่อนที่จะถึงเวลากำหนด
2. การบ่มคอนกรีตโดยการขังน้ำ เหมาะสำหรับงานคอนกรีตที่เป็นพื้นราบ เช่น พื้น ดาดฟ้า สระว่ายน้ำ เป็นต้น
3. การบ่มโดยใช้ถุงพลาสติก จะใช้สำหรับ เสา พื้น ที่ต้องการไม่ให้ความชื้นของคอนกรีตออก แล้วฉีดน้ำรดทุกวัน
การเก็บตัวอย่างคอนกรีต
ทุกครั้งที่มีการเทคอนกรีตในปริมาณมากพอจะต้องมีการตรวจสอบค่ายุบตัวและเก็บตัวอย่างคอนกรีตตามปริมาณที่ระบุไว้ในข้อกำหนด หากไม่มีระบุปริมาณไว้ก็อาจถือตามเกณฑ์ที่กำหนดใน “มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก“ ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ได้
ตัวอย่างที่เก็บที่อาจเป็นรูปทรงกระบอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมตร หรือทรงลูกบาศก์ 15x15x15 เซนติเมตร จะต้องมีการบ่มคอนกรีตเพื่อดูว่ากำลังอัดของคอนกรีตที่อายุ 7 วัน และ อายุ 28 วัน ได้ตามที่วิศวกรได้ออกแบบไว้หรือไม่
การเก็บตัวอย่างคอนกรีตและการบ่มคอนกรีค
ในการเก็บก้อนตัวอย่างคอนกรีตถือเป็นขบวนการตรวจสอบคุณภาพคอนกรีตที่ดีที่สุด โดยจะทำการสุ่มเก็บจากรถคอนกรีตซึ่งถือเป็นตัวแทนของคอนกรีตที่ใช้เทในวันนั้นโดยจำนวนชุดที่เก็บ (โดยปกติ1ชุดเก็บก้อนปูน 3 ก้อน ทดสอบที่อายุ 7 วัน 1 ก้อน 28 วัน 2 ก้อน)ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้คอนกรีตในวันนั้น (ทั่วไป 50 ลบ.ม เก็บตัวอย่าง 1 ชุด) โดยการเก็บตัวอย่างส่วนมากจะเก็บก่อนการเท เพื่อความสะดวกและรวดเร็วเพราะจะได้ไม่กีดขวางการทำงาน แต่ก็สามารถเก็บในช่วงไหนก็ได้ก่อนเทเสร็จแต่มีข้อควรคำนึงถึงก็คือคอนกรีตจะต้องไม่หมดเวลาการใช้งานและจะต้องไม่มีการเติมน้ำในคอนกรีต
ขอบคุณบทความจาก http://www.civilclub.net/articles/engineering/concrete.php