การซ่อมแซมคอนกรีต

การสกัดคอนกรีต (Concrete Removal)

1 การซ่อมแซมคอนกรีตจำเป็นต้องสกัดคอนกรีตเดิมที่เสียหายออก
เพื่อให้การซ่อมแซมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกติแล้วจะต้องกำจัดคอนกรีตที่ไม่ดีออกให้หมดจนถึงเนื้อคอนกรีตที่แกร่ง ซึ่งบางครั้งอาจต้องสกัดคอนกรีตจนถึงแนวเหล็กเสริมคอนกรีตหรือเลยแนวเหล็กเสริมคอนกรีตก็ได้

2 การสกัดคอนกรีตที่ใช้วัตถุระเบิดหรือวิธีการทำลายที่รุนแรง
(การสกัดโดยใช้เครื่องมือสกัดที่มีน้ำหนักเกิน 12 กิโลกรัม) จะทำให้เกิดรอยร้าวเล็กๆ ภายหลังจากการสกัดได้ จึงควรกำหนดบริเวณที่อนุญาตให้ใช้เครื่องมือสกัดที่รุนแรงได้และบริเวณที่ต้องสกัดด้วยวิธีที่ไม่รุนแรงได้แก่

การสกัดด้วยมือ เป็นต้น การสกัดคอนกรีตต้องมีการตรวจสอบและเฝ้าระวังไม่ให้ผิวคอนกรีตที่สกัดแตกร้าวก่อนจะเทคอนกรีตซ่อมแซมโดยสังเกตจากผิวคอนกรีตที่เปียกน้ำหมาดๆ จะเห็นรอยร้าวได้ชัดเจน กรณีพบรอยร้าวที่ผิวคอนกรีตต้องมีการเตรียมผิวให้เหมาะสมก่อนนำไปใช้งานต่อไป ก่อนซ่อมแซมต้องกำหนดให้มีการทดสอบผิวคอนกรีตโดย วิธีทดสอบแรงดึงบริเวณผิวคอนกรีต (Pull-Off Test) เพื่อหาความสามารถในการยึดเกาะของผิวคอนกรีตเดิมกับวัสดุที่จะใช้ซ่อมแซม


3 ข้อควรพิจารณาในการสกัดคอนกรีต

3.1 ต้องเลือกวิธีการสกัดคอนกรีตที่สามารถกำจัดคอนกรีตที่เสียหายออกได้หมด และต้องไม่ทำลายเนื้อคอนกรีตที่ดี วิธีการที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ปลอดภัยในการทำงาน ประหยัด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และทำลายคอนกรีตที่เหลือให้น้อยที่สุด เมื่อสกัดถึงคอนกรีตที่ดีแล้วอาจใช้การทดสอบแรงดึงผิวคอนกรีต หรือการเคาะฟังเสียงเพื่อยืนยันความแกร่งของผิวคอนกรีตที่จะซ่อมแซมต่อไป

3.2 วิศวกรที่มีหน้าที่ออกแบบซ่อมแซมคอนกรีตต้องระบุวัตถุประสงค์ในการสกัดคอนกรีตให้ชัดเจน และผู้รับเหมาที่ทำหน้าที่ซ่อมแซมต้องเลือกวิธีการที่ประหยัดที่สุดที่ตอบสนองความต้องการของวิศวกร วิศวกรผู้กำหนดวิธีการซ่อมแซมคอนกรีตต้องพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับ คุณสมบัติของคอนกรีต ได้แก่ ประเภทของปูนซีเมนต์ ขนาดของวัสดุมวลรวม เพื่อจะใช้ในการเลือกวิธีการสกัดคอนกรีต และประมาณราคาค่าใช้จ่ายต่อไป

3.3 วิศวกร หรือ ผู้ควบคุมงาน ต้องประเมินความมั่นคงปลอดภัยของโครงสร้างในขณะดำเนินการสกัดหรือเตรียมพื้นผิว ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการติดตั้งนั่งร้านหรือทำค้ำยัน ให้โครงสร้างมีความมั่นคงปลอดภัยเป็นไปตามหลักวิศวกรรม

4 การเฝ้าระวังพฤติกรรมโครงสร้างและการรักษาแนวการสกัดในระหว่างการสกัดคอนกรีต

4.1 ก่อนที่จะดำเนินการสกัดคอนกรีตที่เสียหายออกจะต้องมีการประเมินการรับน้ำหนักของโครงสร้างอาคารในระหว่างการสกัดคอนกรีต ได้แก่ ขนาดหน้าตัดโครงสร้างที่เล็กลง น้ำหนักของเครื่องมือ และเศษวัสดุที่เกิดจากการสกัด การขนย้ายวัสดุ การขนย้ายเครื่องมือ เป็นต้น

4.2 การเฝ้าระวังในการสกัดทำได้โดยการสังเกตด้วยสายตา การเคาะฟังเสียง การวัดโดยเครื่องมือตรวจวัดตำแหน่งเหล็กเสริม เพื่อไม่ให้สกัดเกินความต้องการของวิศวกร

4.3 เมื่อสกัดคอนกรีตจนได้ระดับที่ต้องการแล้วให้ตรวจสอบผิวคอนกรีตตามข้อกำหนดของวิศวกร

5.ควรประเมินปริมาณคอนกรีตที่ต้องสกัดก่อนดำเนินการสกัดคอนกรีต และเมื่อสกัดคอนกรีตแล้วควรตรวจสอบปริมาณอีกครั้งเพื่อใช้ในการเตรียมวัสดุที่ใช้ซ่อมแซม

6.การตรวจสอบความเสียหายของผิวคอนกรีตภายหลังการสกัด ให้ตรวจสอบโดยการเคาะด้วยค้อน (Hammer Sounding) เป็นต้น ในกรณีตรวจพบรอยร้าวหรือความเสียหาย หรือ มีข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณภาพของการสกัด ต้องตรวจสอบเนื้อคอนกรีตด้วยวิธีทดสอบแรงดึง(Pull-Off Test)
คอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนผสมเสร็จ ปูนน้ำ สลั๊มปั๊ม คอนกรีตสำเร็จ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน ราคาถูก!!ผู้ผลิต-จำหน่าย-ขาย บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตสำเร็จ ปูนผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนน้ำ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน หล่อเสา ปูนกันซึม คอนกรีตสลั๊มปั๊ม เข็มเจาะ แพล้นปูน บางพูน ลำลูกกา ธัญบุรี ปทุมธานี มีนบุรี ถนนนิมิตใหม่ รามอินทรา สายไหม เอกชัย พระราม2 คลองหลวง รังสิต นวนคร บางเขน นนทบุรี บางซื่อ บางขุนเทียน บางมด ตลิ่งชัน สุขุมวิท พระราม9 ปทุมวัน ลาดกระบัง นวมินทร์ บางแค บางปู สมุทรปราการ บางนา ท่าพระ ราษฏร์บูรณะ กทม.ราคาถูก รถโม่เล็ก รถโม่ใหญ่

บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนตราช้าง งานคุณภาพผลิตตรงจากแพล้นคอนกรีต สนใจติดต่อสั่งซื้อได้ที่ 02-181-0288 หรือ 02-181-0188 ติดต่อมือถือ 089-797-3536
Back To Top