การเทคอนกรีตไม่ว่าจะเป็น เสา คาน พื้น ฐานราก หรือ พื้นถนน มีความจำเป็นที่จะต้องอัดแน่นคอนกรีต แต่ถ้าเราไม่มีการอัดแน่นคอนกรีตก็จะมีผลทำให้เมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้วจะมีกำลังอัดต่ำ, มีความพรุนสูง, มีความทึบน้ำต่ำ, มีแรงยึดเหนียวกับเหล็กต่ำ และผิวคอนกรีตเมื่อถอดแบบออกแล้วไม่สวย โดยวิธีการอัดแน่นคอนกรีตนั้นมีอยู่หลายวิธีดังนี้
- การเขย่า ( Vibration )
- การเหวี่ยงหนีศูนย์ ( Centrifugation )
- การตำ ( Rodding ) และ
- การกระทุ้ง ( Tamping )
ในแต่ละวิธีก็มีเทคนิคย่อยออกเป็นหลายแบบซึ่งการจี้คอนกรีตที่ถามมานั้นก็อยู่ในวิธีการเขย่า ( Vibration ) แต่สิ่งที่สำคัญก็คือการเลือกวิธีการอัดแน่นคอนกรีตควรจะต้องเหมาะสมกับ ส่วนผสมคอนกรีต, สภาพการเท, ความซับซ้อนของแบบหล่อ, ความหนาแน่นของเหล็กเสริม ฯลฯ ด้วยครับ
สำหรับ การอัดแน่นคอนกรีต ในการเทถนนโดยปกติจะใช้เครื่องจี้แบบ Internal Vibrators และ Vibrating screed ร่วมกัน
- จุ่มหัวจี้ลงไปในแนวดิ่งตลอดความลึกของคอนกรีตสด และทะลุผ่านถึงชั้นข้างใต้
- จี้เขย่าให้ทั่วทั้งบริเวณด้วยระยะจี้ที่เหมาะสม ถ้าจี้นานเกินไปคอนกรีตจะเกิดการแยกตัว
- เมื่อจี้เขย่าเสร็จแล้วควรดึงหัวจี้ขึ้นอย่างช้าๆ เพื่อไม่ให้มีฟองอากาศขังอยู่ในเนื้อคอนกรีต ( ประมาณ 7.5 ซม./วินาที )
ในการทำงานจริงส่วนผู้รับเหมาหรือช่างปูนส่วนใหญ่นิยมใช้คอนกรีตที่ค่อนข้างเหลวเพื่อหลีกเลี่ยงการอัดแน่นคอนกรีตให้น้อยลงอีกทั้งยังแต่งผิวหน้าได้ง่ายด้วย ถ้าอธิบายอย่างนี้ก็คงจะมีคำถามตามมาอีกว่ายังนี้ถ้าเทถนนด้วยคอนกรีตที่เหลวก็ไม่ต้องอัดแน่นด้วยการจี้ใช่ใหม คงต้องอธิบายต่อให้เข้าใจดังนี้
- ในส่วนผสมของคอนกรีตที่ใช้เทถนนเมื่อใช้ปริมาณปูนซีเมนต์ที่เท่ากันนำมาผสมคอนกรีตให้มีความข้นเหลวที่ต่างกัน( แข็งและเหลว ) แล้วนำมาเทถนนโดยทำการอัดแน่นคอนกรีตด้วยเครื่องจี้เราจะพบว่าถนนที่เทด้วยคอนกรีตที่ความข้นเหลวที่แข็งกว่าจะมีกำลังอัดที่ดีกว่าและมีความทนทานมากกว่า
- ถนนที่เทด้วยคอนกรีตที่เหลวจะมีผลเสียที่เกิดขึนตามมาคือจะทำให้เมื่อใช้งานไประยะหนึ่งจะเห็น เม็ดหินอยู่ที่ผิวถนนเต็มทั้งผืนเนื่องจากคอนกรีตเหลวส่งผลให้น้ำส่วนเกินในคอนกรีตลอยขึ้นไปอยู่ที่ผิวหน้าจึงทำให้ปูนทรายซึ่งเป็นส่วนผสมในคอนกรีตที่ผิวหน้าหลุดร่อนได้ง่าย
- คอนกรีตที่เทถนนถ้าเทด้วยความข้นเหลวที่แข็งเกินไปแล้วทำการอัดแน่นด้วยการจี้ไม่ดีก็จะเกิดความพรุนในคอนกรีตและมีผลเสียได้เช่นเดียวกัน
- การเขย่า ( Vibration )
- การเหวี่ยงหนีศูนย์ ( Centrifugation )
- การตำ ( Rodding ) และ
- การกระทุ้ง ( Tamping )
ในแต่ละวิธีก็มีเทคนิคย่อยออกเป็นหลายแบบซึ่งการจี้คอนกรีตที่ถามมานั้นก็อยู่ในวิธีการเขย่า ( Vibration ) แต่สิ่งที่สำคัญก็คือการเลือกวิธีการอัดแน่นคอนกรีตควรจะต้องเหมาะสมกับ ส่วนผสมคอนกรีต, สภาพการเท, ความซับซ้อนของแบบหล่อ, ความหนาแน่นของเหล็กเสริม ฯลฯ ด้วยครับ
สำหรับ การอัดแน่นคอนกรีต ในการเทถนนโดยปกติจะใช้เครื่องจี้แบบ Internal Vibrators และ Vibrating screed ร่วมกัน
วิธีการใช้งานเครื่องจี้แบบ Internal Vibrators ที่ถูกต้อง
- จุ่มหัวจี้ลงไปในแนวดิ่งตลอดความลึกของคอนกรีตสด และทะลุผ่านถึงชั้นข้างใต้
- จี้เขย่าให้ทั่วทั้งบริเวณด้วยระยะจี้ที่เหมาะสม ถ้าจี้นานเกินไปคอนกรีตจะเกิดการแยกตัว
- เมื่อจี้เขย่าเสร็จแล้วควรดึงหัวจี้ขึ้นอย่างช้าๆ เพื่อไม่ให้มีฟองอากาศขังอยู่ในเนื้อคอนกรีต ( ประมาณ 7.5 ซม./วินาที )
ในการทำงานจริงส่วนผู้รับเหมาหรือช่างปูนส่วนใหญ่นิยมใช้คอนกรีตที่ค่อนข้างเหลวเพื่อหลีกเลี่ยงการอัดแน่นคอนกรีตให้น้อยลงอีกทั้งยังแต่งผิวหน้าได้ง่ายด้วย ถ้าอธิบายอย่างนี้ก็คงจะมีคำถามตามมาอีกว่ายังนี้ถ้าเทถนนด้วยคอนกรีตที่เหลวก็ไม่ต้องอัดแน่นด้วยการจี้ใช่ใหม คงต้องอธิบายต่อให้เข้าใจดังนี้
- ในส่วนผสมของคอนกรีตที่ใช้เทถนนเมื่อใช้ปริมาณปูนซีเมนต์ที่เท่ากันนำมาผสมคอนกรีตให้มีความข้นเหลวที่ต่างกัน( แข็งและเหลว ) แล้วนำมาเทถนนโดยทำการอัดแน่นคอนกรีตด้วยเครื่องจี้เราจะพบว่าถนนที่เทด้วยคอนกรีตที่ความข้นเหลวที่แข็งกว่าจะมีกำลังอัดที่ดีกว่าและมีความทนทานมากกว่า
- ถนนที่เทด้วยคอนกรีตที่เหลวจะมีผลเสียที่เกิดขึนตามมาคือจะทำให้เมื่อใช้งานไประยะหนึ่งจะเห็น เม็ดหินอยู่ที่ผิวถนนเต็มทั้งผืนเนื่องจากคอนกรีตเหลวส่งผลให้น้ำส่วนเกินในคอนกรีตลอยขึ้นไปอยู่ที่ผิวหน้าจึงทำให้ปูนทรายซึ่งเป็นส่วนผสมในคอนกรีตที่ผิวหน้าหลุดร่อนได้ง่าย
- คอนกรีตที่เทถนนถ้าเทด้วยความข้นเหลวที่แข็งเกินไปแล้วทำการอัดแน่นด้วยการจี้ไม่ดีก็จะเกิดความพรุนในคอนกรีตและมีผลเสียได้เช่นเดียวกัน