วันนี้เราจะมาอธิบายกันถึงที่มาที่ไปของโครงสร้างสำเร็จรูป ก่อนอื่นทุกคนคงสงสัยกันว่าทำไมปัจจุบันมองเมื่อขับรถมองไปทางไหนโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ใช้แต่โครงสร้างสำเร็จรูป ไม่ต้องสงสัยครับเพราะเมื่อก่อนเราก่อสร้างกันโดยใช้โครงสร้างหล่อในที่ สร้างไปสร้างมาพอเจอหน้าฝนก็ต้องหยุดการก่อสร้าง พอเจอหน้าร้อนงานก็ไม่เดินสรุปทั้งปีมีแต่หน้าร้อนกับหน้าฝน การก่อสร้างก็ไม่เคยเสร็จทันเวลา บริษัทไหนต้องการรักษาชื่อเสียงเพื่อให้การก่อสร้างทันเวลาก็จะระดมคนงานเข้าไปจนแทบจะขี่คอกันทำงาน แค้มป์คนงานมองไปยังกับเป็นหมู่บ้านเผลอ ๆ
ใหญ่กว่าบางหมู่บ้านเสียอีก การทำงานหน้างานมีปัญหามากเช่นการวางเหล็กเสริมไม่ได้แนวไม่ถูกต้องตามแบบเพราะงานเร่งใช้คนมากจนดูแลกันไม่ทั่วถึง อีกการเทคอนกรีตหน้างานก็มีปัญหาเยอะทั้งเทขาดบ้างเทเกินบ้าง รถส่งคอนกรีตมาไม่ตรงเวลา เท ๆ หยุด ๆ คอนกรีตก็ไม่ต่อเนื่อง มีปัญหามากมายจนบริษัทที่ขายวัสดุเกี่ยวกับการซ่อมแซมโครงสร้างรวยกันไปตาม ๆ กัน ใครที่เคยบอกว่าแรงงานไทยมีราคาถูกเดี๋ยวนี้ลองไปดูสิครับไม่ถูกแล้วนะครับ ค่าแรงสูงขึ้นแต่ฝีมือสู้คนงานสมัยก่อนไม่ได้เลย แถมยังเลือกงานด้วยงานหนัก ๆ ก็ต้องใช้แรงงานต่างด้าว ผมละงงงานก่อสร้างที่ไหนมีงานเบา ๆ
ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวไปนั้นทำให้วิศวกรหัวใสบางคนเริ่มมีแนวคิดว่าเราสามารถเทโครงสร้างที่โรงงานแล้วนำมาประกอบที่หน้างานได้หรือไม่ ก็เลยเริ่มใช้ชิ้นส่วนโครงสร้างบางชิ้นเป็นโครงสร้างหล่อสำเร็จ เริ่มแรกก็ใช้พื้นหล่อสำเร็จเช่น พื้นตันและพื้นกลวง ช่วงแรกกว่าจะอธิบายกันให้เจ้าของโครงการหันมาใช้ก็แย่แล้วเพราะเขาสงสัยกันว่าเอาพื้นมาวางบนคานเฉย ๆ มันจะแข็งแรงได้อย่างไร พอระยะหลังนิยมใช้กันเกือบทุกโครงการใครไม่ใช้ก็เชย เมื่อมองเห็นว่าลูกค้าเริ่มยอมรับโครงสร้างสำเร็จรูปมากขึ้น วิศวกรก็เริ่มใช้การก่อสร้างชิ้นส่วนสำเร็จอื่นๆ เช่น คาน เสา จนปัจจุบันบางอาคารเป็นโครงสร้างชิ้นส่วนสำเร็จทั้งหมด อาคารสูงหลายหลังที่ใช้โครงสร้างหล่อสำเร็จก็มีให้เห็นหลายอาคาร ผนังภายนอกของอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร
ส่วนใหญ่ก็เป็นผนังหล่อสำเร็จเพราะการก่ออิฐฉาบปูนผนังภายนอกของอาคารสูงแทบไม่มีใครทำกันแล้วเพราะทั้งค่าแรงสูงและมีอันตราย มีฝุ่นและเสี่ยงต่อการตกหล่นของวัสดุ
แต่การใช้โครงสร้างสำเร็จรูปก็ไม่ใช่ว่าจะมีข้อดีเพียงอย่างเดียว เพราะการก่อสร้างโดยใช้โครงสร้างสำเร็จรูปนั้น ต้องเน้นและควบคุมตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตถ้าผลิตไม่ได้ขนาดตามมาตรฐานการติดตั้งก็ลำบากและไม่สวยงาม การประกอบเป็นโครงสร้างที่หน้างานต้องใช้ช่างฝีมือ ใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ต้องมีการคำนึงถึงความปลอดภัยเพราะการก่อสร้างโดยใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูปเมื่อเกิดอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้างมักเป็นอุบัติเหตุร้ายแรง รอยต่อสำหรับโครงสร้างสำเร็จรูปต้องถูกออกแบบมาเป็นพิเศษใช้วัสดุคุณภาพสูง มีความแข็งแรงและป้องกันการรั่วซึม
การวิเคราะห์โครงสร้างก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีเพราะพฤติกรรมของโครงสร้างหล่อสำเร็จบางครั้งมีพฤติกรรมไม่เหมือนกับโครงสร้างหล่อในที่ขึ้นอยู่กับหลักการคิดของผู้ออกแบบ ทั้งนี้เมื่อท่านต้องใช้โครงสร้างสำเร็จรูปมาใช้ในการก่อสร้างโครงการของท่านเอง ท่านต้องสละเวลาในการออกแบบให้ละเอียดเพื่อให้มีความถูกต้องแม่นยำ และท่านลองแวะไปเยี่ยมชมโรงงานที่จะผลิตชิ้นส่วนโครงสร้างของท่านเพื่อจะได้มั่นใจว่าทุกขั้นตอนในการผลิตมีมาตรฐานตามที่ท่านต้องการ เพื่อที่ท่านจะได้โครงสร้างที่ดีตามที่ท่านต้องการ
ที่มา:http://www.pros-concrete.com/article.php?p_id=17
ขอขอบคุณบริษัทพรอสเพอริตี้คอนกรีตที่อนุญาตให้เผยแพร่ข้อมูล
ใหญ่กว่าบางหมู่บ้านเสียอีก การทำงานหน้างานมีปัญหามากเช่นการวางเหล็กเสริมไม่ได้แนวไม่ถูกต้องตามแบบเพราะงานเร่งใช้คนมากจนดูแลกันไม่ทั่วถึง อีกการเทคอนกรีตหน้างานก็มีปัญหาเยอะทั้งเทขาดบ้างเทเกินบ้าง รถส่งคอนกรีตมาไม่ตรงเวลา เท ๆ หยุด ๆ คอนกรีตก็ไม่ต่อเนื่อง มีปัญหามากมายจนบริษัทที่ขายวัสดุเกี่ยวกับการซ่อมแซมโครงสร้างรวยกันไปตาม ๆ กัน ใครที่เคยบอกว่าแรงงานไทยมีราคาถูกเดี๋ยวนี้ลองไปดูสิครับไม่ถูกแล้วนะครับ ค่าแรงสูงขึ้นแต่ฝีมือสู้คนงานสมัยก่อนไม่ได้เลย แถมยังเลือกงานด้วยงานหนัก ๆ ก็ต้องใช้แรงงานต่างด้าว ผมละงงงานก่อสร้างที่ไหนมีงานเบา ๆ
ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวไปนั้นทำให้วิศวกรหัวใสบางคนเริ่มมีแนวคิดว่าเราสามารถเทโครงสร้างที่โรงงานแล้วนำมาประกอบที่หน้างานได้หรือไม่ ก็เลยเริ่มใช้ชิ้นส่วนโครงสร้างบางชิ้นเป็นโครงสร้างหล่อสำเร็จ เริ่มแรกก็ใช้พื้นหล่อสำเร็จเช่น พื้นตันและพื้นกลวง ช่วงแรกกว่าจะอธิบายกันให้เจ้าของโครงการหันมาใช้ก็แย่แล้วเพราะเขาสงสัยกันว่าเอาพื้นมาวางบนคานเฉย ๆ มันจะแข็งแรงได้อย่างไร พอระยะหลังนิยมใช้กันเกือบทุกโครงการใครไม่ใช้ก็เชย เมื่อมองเห็นว่าลูกค้าเริ่มยอมรับโครงสร้างสำเร็จรูปมากขึ้น วิศวกรก็เริ่มใช้การก่อสร้างชิ้นส่วนสำเร็จอื่นๆ เช่น คาน เสา จนปัจจุบันบางอาคารเป็นโครงสร้างชิ้นส่วนสำเร็จทั้งหมด อาคารสูงหลายหลังที่ใช้โครงสร้างหล่อสำเร็จก็มีให้เห็นหลายอาคาร ผนังภายนอกของอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร
ส่วนใหญ่ก็เป็นผนังหล่อสำเร็จเพราะการก่ออิฐฉาบปูนผนังภายนอกของอาคารสูงแทบไม่มีใครทำกันแล้วเพราะทั้งค่าแรงสูงและมีอันตราย มีฝุ่นและเสี่ยงต่อการตกหล่นของวัสดุ
แต่การใช้โครงสร้างสำเร็จรูปก็ไม่ใช่ว่าจะมีข้อดีเพียงอย่างเดียว เพราะการก่อสร้างโดยใช้โครงสร้างสำเร็จรูปนั้น ต้องเน้นและควบคุมตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตถ้าผลิตไม่ได้ขนาดตามมาตรฐานการติดตั้งก็ลำบากและไม่สวยงาม การประกอบเป็นโครงสร้างที่หน้างานต้องใช้ช่างฝีมือ ใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ต้องมีการคำนึงถึงความปลอดภัยเพราะการก่อสร้างโดยใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูปเมื่อเกิดอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้างมักเป็นอุบัติเหตุร้ายแรง รอยต่อสำหรับโครงสร้างสำเร็จรูปต้องถูกออกแบบมาเป็นพิเศษใช้วัสดุคุณภาพสูง มีความแข็งแรงและป้องกันการรั่วซึม
การวิเคราะห์โครงสร้างก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีเพราะพฤติกรรมของโครงสร้างหล่อสำเร็จบางครั้งมีพฤติกรรมไม่เหมือนกับโครงสร้างหล่อในที่ขึ้นอยู่กับหลักการคิดของผู้ออกแบบ ทั้งนี้เมื่อท่านต้องใช้โครงสร้างสำเร็จรูปมาใช้ในการก่อสร้างโครงการของท่านเอง ท่านต้องสละเวลาในการออกแบบให้ละเอียดเพื่อให้มีความถูกต้องแม่นยำ และท่านลองแวะไปเยี่ยมชมโรงงานที่จะผลิตชิ้นส่วนโครงสร้างของท่านเพื่อจะได้มั่นใจว่าทุกขั้นตอนในการผลิตมีมาตรฐานตามที่ท่านต้องการ เพื่อที่ท่านจะได้โครงสร้างที่ดีตามที่ท่านต้องการ
ที่มา:http://www.pros-concrete.com/article.php?p_id=17
ขอขอบคุณบริษัทพรอสเพอริตี้คอนกรีตที่อนุญาตให้เผยแพร่ข้อมูล