การทดสอบหาค่ายุบตัวของคอนกรีต
1. ก่อนทำการทดสอบต้องนำแบบมาจุ่มน้ำให้เปียก แล้ววางแบบลงบนพื้นราบโดยให้ด้านที่มีปลายตัดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 มิลลิเมตร อยู่ด้านบน ด้านเส้นผ่านศูนย์กลาง 200 มิลลิเมตร อยู่ด้านล่าง ใช้เท้าเหยียบแผ่นเหล็กที่ฐานทั้งสองข้างไว้ให้แน่น
2. เทคอนกรีต ที่จะทดสอบลงในแบบประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาตรของแบบ (สูงจากฐานประมาณ 70 มิลลิเมตร) แล้วใช้เหล็กกระทุ้ง กระทุ้งให้ทั่วผิวของคอนกรีตในแบบ จำนวน 25 ครั้ง
3. ทำตามวิธีในข้อ 2 ซ้ำอีก 2 ครั้ง โดยเทคอนกรีตครั้งที่ 2 สูงจากฐานประมาณ 160 มิลลิเมตร และครั้งที่
3 เทคอนกรีต ลงในแบบส่วนที่เหลือ โดยให้เผื่อคอนกรีตไว้ให้เกินขอบแบบข้างในกรณีที่กระทุ้งแล้วคอนกรีตพร่องลงต้องเติมให้เต็มแบบเสมอ
4. ปาดผิวหน้าของคอนกรีตให้เรียบ จับที่หูยกแล้วยกแบบขึ้นตามแนวดิ่ง ระวังไม่ให้เนื้อคอนกรีตได้รับการกระทบกระเทือน แล้ววัดระยะที่ยุบตัวของคอนกรีตเทียบกับระยะความสูงของแบบทันที (ให้วัดที่บริเวณจุดศูนย์กลางของตัวอย่างคอนกรีตเมื่อยกแบบออกแล้ว)
5. กรณีที่ตัวอย่างทดสอบล้มหรือทลายลงทันทีที่ยกแบบขึ้นหรือเกิดไหลออกทางข้างใดข้างหนึ่งเนื่องจากแรงเฉือน ให้ถือว่าการทดสอบยังไม่ได้มาตรฐานต้องทำการทดสอบซ้ำตามข้อ 1 ถึง 4 และหากตัวอย่างทดสอบล้มเนื่องจากการทลายหรือแรงเฉือนสองครั้งติดต่อกันแสดงว่าตัวอย่างคอนกรีตดังกล่าวไม่เหมาะสมสาหรับการทดสอบหาค่าการยุบตัวเนื่องจากไม่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกัน
1. ก่อนทำการทดสอบต้องนำแบบมาจุ่มน้ำให้เปียก แล้ววางแบบลงบนพื้นราบโดยให้ด้านที่มีปลายตัดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 มิลลิเมตร อยู่ด้านบน ด้านเส้นผ่านศูนย์กลาง 200 มิลลิเมตร อยู่ด้านล่าง ใช้เท้าเหยียบแผ่นเหล็กที่ฐานทั้งสองข้างไว้ให้แน่น
2. เทคอนกรีต ที่จะทดสอบลงในแบบประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาตรของแบบ (สูงจากฐานประมาณ 70 มิลลิเมตร) แล้วใช้เหล็กกระทุ้ง กระทุ้งให้ทั่วผิวของคอนกรีตในแบบ จำนวน 25 ครั้ง
3. ทำตามวิธีในข้อ 2 ซ้ำอีก 2 ครั้ง โดยเทคอนกรีตครั้งที่ 2 สูงจากฐานประมาณ 160 มิลลิเมตร และครั้งที่
3 เทคอนกรีต ลงในแบบส่วนที่เหลือ โดยให้เผื่อคอนกรีตไว้ให้เกินขอบแบบข้างในกรณีที่กระทุ้งแล้วคอนกรีตพร่องลงต้องเติมให้เต็มแบบเสมอ
4. ปาดผิวหน้าของคอนกรีตให้เรียบ จับที่หูยกแล้วยกแบบขึ้นตามแนวดิ่ง ระวังไม่ให้เนื้อคอนกรีตได้รับการกระทบกระเทือน แล้ววัดระยะที่ยุบตัวของคอนกรีตเทียบกับระยะความสูงของแบบทันที (ให้วัดที่บริเวณจุดศูนย์กลางของตัวอย่างคอนกรีตเมื่อยกแบบออกแล้ว)
5. กรณีที่ตัวอย่างทดสอบล้มหรือทลายลงทันทีที่ยกแบบขึ้นหรือเกิดไหลออกทางข้างใดข้างหนึ่งเนื่องจากแรงเฉือน ให้ถือว่าการทดสอบยังไม่ได้มาตรฐานต้องทำการทดสอบซ้ำตามข้อ 1 ถึง 4 และหากตัวอย่างทดสอบล้มเนื่องจากการทลายหรือแรงเฉือนสองครั้งติดต่อกันแสดงว่าตัวอย่างคอนกรีตดังกล่าวไม่เหมาะสมสาหรับการทดสอบหาค่าการยุบตัวเนื่องจากไม่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกัน
Tag :
การทำทดสอบค่ายุบตัว