พื้นคอนกรีตเสริม เหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างบ้านพักอาศัยที่นิยมกันทั่วไปมี 2 ชนิด ด้วยกัน คือ พื้นสำเร็จวางบนคานและพื้นชนิดวางบนดิน การก่อสร้างพื้นทั้ง 2 ชนิดนี้มีขั้นตอนไม่ซับซ้อนมากนัก
*พื้นสำเร็จวางบนคาน (Slap on Beam) พื้นชนิดนี้จะถ่ายน้ำหนักลงสูงโครงสร้างอาคารในแนวเดียวลงสู่คานที่ได้ออกแบบไว้สำหรับรับน้ำหนักจากแผ่นพื้น แผ่นพื้นชนิดนี้โดยปกติจะมีความยาว 2 – 5 เมตร และมีความกว้าง 30 เซนติเมตร ในขั้นตอนการก่อสร้างจะนำแผ่นพื้นชนิดนี้มาวางบนคาน หลังจากนั้นจะเทคอนกรีตทับด้านบนของแผ่นพื้นโดยมีความหนาประมาณ 5 เซนติเมตร ในช่วงการก่อสร้างจำเป็นต้องติดตั้งนั่งร้านชั่วคราวสำหรับรองรับน้ำหนักก่อนที่แผ่นพื้นจะสามารถรับน้ำหนักได้เอง
*พื้นชนิดวางบนดิน (Slap on Ground) การก่อสร้างบานพักอาศัยที่มี 2 ชั้น ในกรณีที่พื้นล่างอยู่ในระดับพื้นดิน สามารถเลือกก่อสร้างพื้นล่างด้วยการใช้พื้นชนิดนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีคานคอดินสำหรับป้องกันการเคลื่อนตัวของดินในด้านข้าง และมีการบดอัดดินที่ถมเให้มีความหนาแน่นเพียงพอ หากพื้นที่ก่อสร้างอยู่ในสภาพดินอ่อนหรือมีการทรุดตัวของดินในบริเวณข้างเคียง ไม่ควรจะใช้พื้นชนิดนี้เพราะจะมีผลเสียต่อโครงสร้างของพื้นในระยะยาวได้ พื้นชนิดนี้จำเป็นต้องมีเหล็กเส้นสำหรับเสริมคอนกรีตด้วยเพื่อป้องกันการแตกร้าวในภายหลัง
ขอบคุณที่มา : http://www.bhumisiam.com/rc-slab/
*พื้นสำเร็จวางบนคาน (Slap on Beam) พื้นชนิดนี้จะถ่ายน้ำหนักลงสูงโครงสร้างอาคารในแนวเดียวลงสู่คานที่ได้ออกแบบไว้สำหรับรับน้ำหนักจากแผ่นพื้น แผ่นพื้นชนิดนี้โดยปกติจะมีความยาว 2 – 5 เมตร และมีความกว้าง 30 เซนติเมตร ในขั้นตอนการก่อสร้างจะนำแผ่นพื้นชนิดนี้มาวางบนคาน หลังจากนั้นจะเทคอนกรีตทับด้านบนของแผ่นพื้นโดยมีความหนาประมาณ 5 เซนติเมตร ในช่วงการก่อสร้างจำเป็นต้องติดตั้งนั่งร้านชั่วคราวสำหรับรองรับน้ำหนักก่อนที่แผ่นพื้นจะสามารถรับน้ำหนักได้เอง
*พื้นชนิดวางบนดิน (Slap on Ground) การก่อสร้างบานพักอาศัยที่มี 2 ชั้น ในกรณีที่พื้นล่างอยู่ในระดับพื้นดิน สามารถเลือกก่อสร้างพื้นล่างด้วยการใช้พื้นชนิดนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีคานคอดินสำหรับป้องกันการเคลื่อนตัวของดินในด้านข้าง และมีการบดอัดดินที่ถมเให้มีความหนาแน่นเพียงพอ หากพื้นที่ก่อสร้างอยู่ในสภาพดินอ่อนหรือมีการทรุดตัวของดินในบริเวณข้างเคียง ไม่ควรจะใช้พื้นชนิดนี้เพราะจะมีผลเสียต่อโครงสร้างของพื้นในระยะยาวได้ พื้นชนิดนี้จำเป็นต้องมีเหล็กเส้นสำหรับเสริมคอนกรีตด้วยเพื่อป้องกันการแตกร้าวในภายหลัง
ขอบคุณที่มา : http://www.bhumisiam.com/rc-slab/
Tag :
คอนกรีตเสริมเหล็ก