รอยต่อสำหรับพื้นคอนกรีตวางบนดิน

รอยต่อคืออะไร

    ตามธรรมชาติของคอนกรีตหลังจากแข็งตัวแล้วจะเกิดการขยายตัวและหดตัวเนื่องมาจากความชื้นและอุณหภูมิ แต่โดยปกติแล้วคอนกรีตจะหดตัวซึ่งทำให้เกิดการแตกร้าวของคอนกรีตในช่วงอายุเริ่มต้น รอยแตกร้าวที่ไม่มีแบบแผนนอกจากทำให้ไม่สวยงามแล้วยังทำให้การบำรุงรักษาในภายหน้าเป็นไปได้ด้วยความยากอีกด้วย

 รอยแตกร้าวตามปกติส่วนใหญ่จะไม่ส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงของคอนกรีต รอยต่อก็คือรอยแตกที่ควบคุมให้เกิดขึ้นในบริเวณที่กำหนดซึ่งก็จะมีความเป็นระเบียบและสวยงามมากกว่าและยังบำรุงรักษาได้ง่ายกว่าด้วย การทำรอยต่อสามารถทำได้อย่างง่ายๆ ก่อนที่การแตกร้าวจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไม้แบบ, เกรียงสำหรับทำรอยต่อ, การตัดด้วยใบเลื่อย และเกิดจากการเทคอนกรีตต่อจากคอนกรีตที่เทไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยรูปแบบของรอยต่อมีดังต่อไปนี้
 
รอยต่อเพื่อการหดตัว (Contraction Joint) รอยต่อทำไว้เพื่อบังคับให้แผ่นคอนกรีตแตกร้าวตรงแนวที่กำหนดให้ เพื่อให้เป็นไปอย่างมีระเบียบ ซึ่งการทำรอยต่อประเภทนี้จะใช้ในการป้องกันการแตกร้าวที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของคอนกรีตที่เกิดขึ้น
 
รอยต่อเพื่อการเคลื่อนตัวอย่างอิสระ (Isolation Joint or Expansion Joint) เป็นรอยต่อสำหรับพื้นให้เป็นอิสระไม่ติดกับโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็นกำแพง, ฐานรากหรือเสา และโครงสร้างอื่นๆ เช่น ถนน, ชานบ้าน, ทางเดินเท้า, ลานจอดรถ, บันได, เสาไฟและจุดอื่นๆ ที่น่าจะเกิดการยึดรั้ง บริเวณส่วนที่ติดกันนั้นจะต้องยินยอมให้สามารถเคลื่อนที่ในแนวราบและแนวดิ่งได้อย่างเป็นอิสระเพื่อทำให้เกิดรอยร้าวจากการยึดรั้งให้น้อยที่สุดเมื่อเกิดการเคลื่อนตัว
 
รอยต่อก่อสร้าง (Construction Joint) เป็นรอยต่อที่เกิดจากบริเวณที่มีการเชื่อมต่อกันระหว่างผิวของคอนกรีตเก่ากับคอนกรีตใหม่ การทำรอยต่อก่อสร้างนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสิ้นสุดการก่อสร้างในแต่ละวันหรือมีเหตุจำเป็นที่จะต้องหยุดเทคอนกรีตไปเกินกว่าระยะเวลาก่อตัวเริ่มต้น (Initial Setting Time) ของคอนกรีต  ซึ่งรอยต่อก่อสร้างนี้อาจจะออกแบบให้สามารถเคลื่อนตัวหรือสามารถถ่ายแรงได้ แต่ตำแหน่งและวิธีการควรจะต้องออกแบบอย่างถูกต้องไว้ล่วงหน้า โดยอาจใช้การเสริมเหล็กเดือย (Dowel) เพื่อเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวและถ่ายแรง 

ทำไมถึงต้องทำรอยต่อ
    เราไม่สามารถป้องกันการเกิดรอยแตกในคอนกรีตไว้ได้ทั้งหมดแต่สามารถควบคุมและทำให้เกิดน้อยที่สุดได้ด้วยการออกแบบรอยต่ออย่างถูกวิธี ซึ่งสาเหตุที่คอนกรีตเกิดรอยแตกร้าวเกิดเนื่องจาก
เนื่องจากคอนกรีตรับแรงดึงได้น้อยมากเมื่อเทียบกับแรงอัด ตามธรรมชาติแล้วคอนกรีตมีแนวโน้มที่จะเกิดการหดตัวซึ่งจะทำให้เกิดการยึดรั้งขึ้น เมื่อแรงดึงที่เกิดขึ้นมีมากกว่ากำลังที่คอนกรีตจะสามารถรับแรงดึงได้ จึงเป็นผลให้เกิดการแตกร้าว
 คอนกรีตที่อยู่ในช่วงอายุเริ่มต้นก่อนที่คอนกรีตจะแห้งสนิท ส่วนใหญ่การแตกร้าวมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิหรือจากการการหดตัว หลังจากน้ำในคอนกรีตระเหยออกไปแล้วคอนกรีตจะเกิดการหดตัวเพิ่มมากขึ้นและทำให้เกิดรอยแตกร้าวเพิ่มมากขึ้นหรือหากว่าก่อนหน้านี้คอนกรีตได้เกิดรอยร้าวอยู่ก่อนแล้วความกว้างของรอยร้าวก็จะขยายใหญ่ขึ้น
    การทำรอยต่อจะช่วยทำให้แรงเค้นดึงภายในคอนกรีตลดลง ควบคุมรอยแตกร้าวให้เป็นระเบียบไม่กระจัดกระจายทำให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุงในภายหลัง


รอยต่อทำกันอย่างไร
    การทำรอยต่อจะต้องออกแบบอย่างถูกต้องและจะต้องก่อสร้างอย่างถูกวิธีเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดรอยแตกร้าวที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยมีข้อแนะนำดังต่อไปนี้
รอยต่อควรทำที่ระยะห่างทุกๆ 24-36 เท่า ของความหนาพื้น ตัวอย่างเช่น เทพื้นหนา 10 ซม. ระยะห่างในการทำรอยต่อควรทำทุก 3 เมตร แต่ในบางกรณีระยะห่างของรอยต่ออาจทำได้มากกว่านั้นแต่ไม่ควรเกิน 4.5 เมตร

แนะนำว่าควรทำแผ่นพื้นให้เป็นรูปทรงจตุรัสจะดีที่สุด หากไม่สามารถทำได้ให้กำหนดเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีอัตราส่วนด้านยาวไม่เกิน 1.5 เท่าของด้านกว้าง และหลีกเลี่ยงการทำพื้นรูปทรงตัวแอว (L- shaped)
สำหรับในการทำรอยต่อเพื่อการหดตัว (Contraction Joint) ความลึกขั้นต่ำของรอยต่อไม่ควรน้อยกว่า ¼ ของความหนาของพื้น แต่ไม่ควรน้อยกว่า 2.5 ซม. ส่วนระยะเวลาที่ทำนั้นจะขึ้นอยู่กับวิธีการที่ใช้ทำรอยต่อ
ใช้แถบเส้นพลาสติกหรือไม้ฝังไว้ตลอดแนวระหว่างที่คอนกรีตยังหมาดๆ อยู่แล้วดึงออกในภายหลัง ความลึกในการฝังจะต้องฝังให้ลึกพอตามข้อกำหนด
การใช้เกรียงปาดร่องเพื่อทำรอยต่อ ส่วนใหญ่จะทำขณะแต่งผิวหน้าคอนกรีตและปาดซ้ำอีกครั้งในภายหลังเพื่อให้มั่นใจว่าร่องที่เป็นรอยต่อยังคงลึกอยู่

การทำรอยต่อในลักษณะที่ทำก่อนคอนกรีตแข็งตัวนี้ ทั่วไปควรทำภายในระยะเวลา 1–4 ชั่วโมงหลังจากการแต่งผิวหน้าคอนกรีตเสร็จทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางด้านระยะเวลาการก่อตัวของคอนกรีตเป็นสำคัญ แต่รอยต่อลักษณะนี้จะมีความลึกน้อยกว่าการทำรอยต่อด้วยวิธีการตัดด้วยเลื่อย (Saw-cut) ถึงอย่างไรก็ตามความลึกของรอยต่อที่ทำก่อนคอนกรีตแข็งตัวไม่ควรน้อยกว่า 2.5 ซม.
การทำรอยต่อด้วยวิธีการตัดด้วยเลื่อย (Saw-cut) ควรทำภายในระยะเวลา 4-12 ชั่วโมงหลังจากคอนกรีตเริ่มแข็งตัว

ความยากง่ายในระหว่างการตัดรอยต่อด้วยเลื่อยจะขึ้นอยู่กับกำลังอัดของคอนกรีตและคุณลักษณะความแข็งแกร่งของหินและทรายที่ใช้ผสม หากทำการตัดเร็วเกินไปจะทำให้ใบตัดเคลื่อนที่ไปมารอยตัดจะไม่เป็นเส้นตรง หรือหากทำการทำรอยต่อช้าเกินไปจะทำให้ตัดได้ยากและรอยร้าวอาจเกิดไปแล้วก็ได้
ใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่น เช่น ยางมะตอย, แผ่นใยสังเคราะห์, แผ่นโฟม หรือวัสดุที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน แยกพื้นออกจากโครงสร้างหลัก กำแพงหรือฐานราก ก่อนการเทคอนกรีตเพื่อลดการยึดรั้ง
ทำการแยกโครงสร้างเสาออกจากพื้นที่จะเทคอนกรีตใหม่ด้วยการทำช่องเปิดรูปทรงสี่เหลี่ยมหรือวงกลมรอบเสาเสียก่อน ซึ่งภายในช่องเปิดนั้นจะเทภายหลังจากพื้นคอนกรีตที่เทก่อนหน้าซึ่งแข็งตัวแล้วเพื่อป้องกันการยึดรั้ง โดยช่องเปิดรูปทรงสี่เหลี่ยมนี้ควรทำทำมุมทะแยง 45 องศา กับระนาบพื้น



คอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนผสมเสร็จ ปูนน้ำ สลั๊มปั๊ม คอนกรีตสำเร็จ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน ราคาถูก!!ผู้ผลิต-จำหน่าย-ขาย บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตสำเร็จ ปูนผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนน้ำ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน หล่อเสา ปูนกันซึม คอนกรีตสลั๊มปั๊ม เข็มเจาะ แพล้นปูน บางพูน ลำลูกกา ธัญบุรี ปทุมธานี มีนบุรี ถนนนิมิตใหม่ รามอินทรา สายไหม เอกชัย พระราม2 คลองหลวง รังสิต นวนคร บางเขน นนทบุรี บางซื่อ บางขุนเทียน บางมด ตลิ่งชัน สุขุมวิท พระราม9 ปทุมวัน ลาดกระบัง นวมินทร์ บางแค บางปู สมุทรปราการ บางนา ท่าพระ ราษฏร์บูรณะ กทม.ราคาถูก รถโม่เล็ก รถโม่ใหญ่

บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนตราช้าง งานคุณภาพผลิตตรงจากแพล้นคอนกรีต สนใจติดต่อสั่งซื้อได้ที่ 02-181-0288 หรือ 02-181-0188 ติดต่อมือถือ 089-797-3536
Back To Top