จากข้อจำกัดหลายๆ อย่างในปัจจุบัน ทำให้การเพิ่มพื้นที่การใช้งานของบ้านด้วยวิธีการต่อเติม มักจะเป็นทางเลือกอันดับแรกของเจ้าของบ้าน แม้ว่าโดยปกติแล้วการต่อบ้านจะสามารถทำได้ก็ตาม แต่การต่อเติมต้องทำอย่างระมัดระวัง และมีความเข้าใจถึงหลักการในการต่อเติม เพราะการต่อเติมโดยปราศจากความรู้และความเข้าใจอาจจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้อย่างที่คาดไม่ถึง หลักการเบื้องต้นของการต่อเติมเป็นอย่างไรลองไปทำความเข้าใจกันสักนิด
“การต่อเติมพื้นที่จอดรถ” โดยปกติทั่วไปแล้ว การทำพื้นซีเมนต์เพื่อจอดรถยนต์ พื้นโรงรถหรือพื้นทางเดินรอบๆ ตัวบ้าน มักจะนิยมทำเป็นพื้นซีเมนต์ที่ถ่ายน้ำหนักลงบนพื้นดินโดยตรง หรือที่เรียกกันว่า พื้น SlabOn Groundเนื่องจากเป็นระบบพื้นที่มีความประหยัดที่สุด เพราะไม่จำเป็นต้องมีการตอกเสาเข็มหรือทำคานสำหรับรับน้ำหนัก นิยมใช้เป็นพื้นโรงจอดรถหรือพื้นทางเดินรอบบ้านในโครงการบ้านจัดสรรทั่วไปแต่ในความเป็นจริงแล้ว หลักการที่ถูกต้องของการทำพื้นดังกล่าวควรจะต้องทำพื้น Slab On Ground ลงบนพื้นดินแข็งที่สามารถรับน้ำหนักได้ การทำพื้น Slab On Ground ลงบนพื้นดินที่ถมใหม่อย่างที่ดินโครงการบ้านจัดสรร มักจะก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการทรุดตัวของพื้นโรงจอดรถหรือพื้นทางเดินรอบบ้าน ดังนั้นการต่อเติมพื้นที่จอดรถโดยใช้การเทพื้น Slab On Ground ควรคำนึงถึงปัญหาสภาพของพื้นดินในบริเวณดังกล่าว ยิ่งหากเป็นพื้นดินถมใหม่ที่ไม่มีการบดอัดด้วยแล้ว อาจเลือกใช้การตอกเข็มพืดเพื่อรับน้ำหนักของพื้นดังกล่าว และควรเว้นรอยต่อระหว่างพื้นเดิมกับพื้นคอนกรีตใหม่ เพื่อป้องกันการแตกร้าวจากปัญหาการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันและการขยายตัวเนื่องจากโดนความร้อน
“การต่อเติมห้องบนพื้นเฉลียงหรือระเบียงทางเดิน” ควรตรวจสอบเรื่องการรับน้ำหนักของพื้นเฉลียงหรือพื้นทางเดินกับวิศวกร ว่าพื้นดังกล่าวจะสามารถรับน้ำหนักของ ผนัง หลังคา (หรือพื้นปรับระดับ) ที่เพิ่มเติมได้หรือไม่ เพราะหากไม่มีการตรวจสอบความสามารถในการรับน้ำหนักของพื้นเดิมเสียก่อน แม้ว่าเจ้าของบ้านจะพยายามเลือกใช้วัสดุต่อเติมที่มีน้ำหนักเบา ก็ยังอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาความเสียหายต่อโครงสร้างเดิมได้เช่นกัน นอกจากการตรวจสอบเรื่องการรับน้ำหนักของโครงสร้างเดิมกับวิศวกรแล้ว ควรตรวจสอบอีกด้วยว่า บริเวณใต้พื้นเฉลียงหรือพื้นทางเดินดังกล่าว มีระบบท่อประปา-ท่อน้ำทิ้ง หรือมีถังบำบัดอยู่หรือไม่ หากตรวจสอบแล้วพบว่ามีระบบดังกล่าวติดตั้งอยู่ควรปรึกษาวิศวกรด้วยว่าควรจะทำการย้ายตำแหน่งของระบบดังกล่าวอย่างไรจึงจะเหมาะสม เพราะหากมีการต่อเติมห้องแล้วหากระบบดังกล่าวเกิดปัญหา การแก้ไขซ่อมแซมจะทำได้ยาก
“การต่อเติมห้องครัว” ในกรณีที่ทำการต่อเติมห้องครัวลงไปบนพื้นเดิมในลักษณะเดียวกันกับ การต่อเติมห้องบนพื้นเฉลียงหรือระเบียงทางเดิน ก็ต้องใช้การตรวจสอบในลักษณะเดียวกัน แต่สำหรับการต่อเติมห้องครัวที่มีค่อนข้างขนาดใหญ่ ควรเลือกใช้วิธีการแยกโครงสร้างส่วนต่อเติม ทั้งโครงสร้างพื้น ผนัง และหลังคา ออกจากอาคารเดิมด้วยการแยกตอกเสาเข็มของส่วนต่อเติมใหม่ทั้งหมด ที่สำคัญต้องไม่เชื่อมโครงสร้างพื้น ผนัง และหลังคา เข้ากับอาคารเดิมโดยเด็ดขาด ให้เว้นรอยต่อระหว่างพื้น ผนัง และหลังคาเอาไว้และยาแนวด้วยซิลิโคนหรือใช้ระบบครอบผนังที่มีความยืดหยุ่นเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากปัญหาเรื่องการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันของส่วนต่อเติม สำหรับการต่อระบบท่อประปาหรือท่อน้ำทิ้งไปยังห้องครัวที่ทำการต่อเติม หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการเดินระบบท่อประปาหรือท่อน้ำทิ้งใต้พื้นส่วนต่อเติม เนื่องจากหากมีการทรุดตัวของโครงสร้าง ท่อใต้ดินจะได้รับความเสียหาย ควรใช้วิธีการเดินท่อบนพื้น (บังตาด้วยฉากกั้นหรือเคาเตอร์) เพื่อให้สามารถสังเกตเห็นหรือทำการซ่อมแซมได้ง่าย
อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะทราบถึงหลักการเบื้องต้นในการต่อเติมไปแล้ว แต่ในระหว่างการทำการต่อเติมก็ยังจำเป็นจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของวิศวกรอย่างใกล้ชิดเพราะในการต่อเติมทุกครั้งอาจเกิดปัญหาที่คาดไม่ถึงขึ้นได้ตลอดเวลา การที่มีผู้มีความรู้คอยดูแลจะสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วกว่าการตัดสินใจของช่างทั่วไป
ที่มา :: https://goo.gl/U4Yn38
“การต่อเติมพื้นที่จอดรถ” โดยปกติทั่วไปแล้ว การทำพื้นซีเมนต์เพื่อจอดรถยนต์ พื้นโรงรถหรือพื้นทางเดินรอบๆ ตัวบ้าน มักจะนิยมทำเป็นพื้นซีเมนต์ที่ถ่ายน้ำหนักลงบนพื้นดินโดยตรง หรือที่เรียกกันว่า พื้น SlabOn Groundเนื่องจากเป็นระบบพื้นที่มีความประหยัดที่สุด เพราะไม่จำเป็นต้องมีการตอกเสาเข็มหรือทำคานสำหรับรับน้ำหนัก นิยมใช้เป็นพื้นโรงจอดรถหรือพื้นทางเดินรอบบ้านในโครงการบ้านจัดสรรทั่วไปแต่ในความเป็นจริงแล้ว หลักการที่ถูกต้องของการทำพื้นดังกล่าวควรจะต้องทำพื้น Slab On Ground ลงบนพื้นดินแข็งที่สามารถรับน้ำหนักได้ การทำพื้น Slab On Ground ลงบนพื้นดินที่ถมใหม่อย่างที่ดินโครงการบ้านจัดสรร มักจะก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการทรุดตัวของพื้นโรงจอดรถหรือพื้นทางเดินรอบบ้าน ดังนั้นการต่อเติมพื้นที่จอดรถโดยใช้การเทพื้น Slab On Ground ควรคำนึงถึงปัญหาสภาพของพื้นดินในบริเวณดังกล่าว ยิ่งหากเป็นพื้นดินถมใหม่ที่ไม่มีการบดอัดด้วยแล้ว อาจเลือกใช้การตอกเข็มพืดเพื่อรับน้ำหนักของพื้นดังกล่าว และควรเว้นรอยต่อระหว่างพื้นเดิมกับพื้นคอนกรีตใหม่ เพื่อป้องกันการแตกร้าวจากปัญหาการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันและการขยายตัวเนื่องจากโดนความร้อน
“การต่อเติมห้องบนพื้นเฉลียงหรือระเบียงทางเดิน” ควรตรวจสอบเรื่องการรับน้ำหนักของพื้นเฉลียงหรือพื้นทางเดินกับวิศวกร ว่าพื้นดังกล่าวจะสามารถรับน้ำหนักของ ผนัง หลังคา (หรือพื้นปรับระดับ) ที่เพิ่มเติมได้หรือไม่ เพราะหากไม่มีการตรวจสอบความสามารถในการรับน้ำหนักของพื้นเดิมเสียก่อน แม้ว่าเจ้าของบ้านจะพยายามเลือกใช้วัสดุต่อเติมที่มีน้ำหนักเบา ก็ยังอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาความเสียหายต่อโครงสร้างเดิมได้เช่นกัน นอกจากการตรวจสอบเรื่องการรับน้ำหนักของโครงสร้างเดิมกับวิศวกรแล้ว ควรตรวจสอบอีกด้วยว่า บริเวณใต้พื้นเฉลียงหรือพื้นทางเดินดังกล่าว มีระบบท่อประปา-ท่อน้ำทิ้ง หรือมีถังบำบัดอยู่หรือไม่ หากตรวจสอบแล้วพบว่ามีระบบดังกล่าวติดตั้งอยู่ควรปรึกษาวิศวกรด้วยว่าควรจะทำการย้ายตำแหน่งของระบบดังกล่าวอย่างไรจึงจะเหมาะสม เพราะหากมีการต่อเติมห้องแล้วหากระบบดังกล่าวเกิดปัญหา การแก้ไขซ่อมแซมจะทำได้ยาก
“การต่อเติมห้องครัว” ในกรณีที่ทำการต่อเติมห้องครัวลงไปบนพื้นเดิมในลักษณะเดียวกันกับ การต่อเติมห้องบนพื้นเฉลียงหรือระเบียงทางเดิน ก็ต้องใช้การตรวจสอบในลักษณะเดียวกัน แต่สำหรับการต่อเติมห้องครัวที่มีค่อนข้างขนาดใหญ่ ควรเลือกใช้วิธีการแยกโครงสร้างส่วนต่อเติม ทั้งโครงสร้างพื้น ผนัง และหลังคา ออกจากอาคารเดิมด้วยการแยกตอกเสาเข็มของส่วนต่อเติมใหม่ทั้งหมด ที่สำคัญต้องไม่เชื่อมโครงสร้างพื้น ผนัง และหลังคา เข้ากับอาคารเดิมโดยเด็ดขาด ให้เว้นรอยต่อระหว่างพื้น ผนัง และหลังคาเอาไว้และยาแนวด้วยซิลิโคนหรือใช้ระบบครอบผนังที่มีความยืดหยุ่นเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากปัญหาเรื่องการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันของส่วนต่อเติม สำหรับการต่อระบบท่อประปาหรือท่อน้ำทิ้งไปยังห้องครัวที่ทำการต่อเติม หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการเดินระบบท่อประปาหรือท่อน้ำทิ้งใต้พื้นส่วนต่อเติม เนื่องจากหากมีการทรุดตัวของโครงสร้าง ท่อใต้ดินจะได้รับความเสียหาย ควรใช้วิธีการเดินท่อบนพื้น (บังตาด้วยฉากกั้นหรือเคาเตอร์) เพื่อให้สามารถสังเกตเห็นหรือทำการซ่อมแซมได้ง่าย
อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะทราบถึงหลักการเบื้องต้นในการต่อเติมไปแล้ว แต่ในระหว่างการทำการต่อเติมก็ยังจำเป็นจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของวิศวกรอย่างใกล้ชิดเพราะในการต่อเติมทุกครั้งอาจเกิดปัญหาที่คาดไม่ถึงขึ้นได้ตลอดเวลา การที่มีผู้มีความรู้คอยดูแลจะสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วกว่าการตัดสินใจของช่างทั่วไป
ที่มา :: https://goo.gl/U4Yn38
Tag :
การกร่อน,
การใช้งานคอนกรีต Topping