การกร่อนของคอนกรีตหรือผิวหน้าของคอนกรีตหลุดร่อนนั้น เป็นเรื่องที่พบกันบ่อย สามารถเกิดได้จากคอนกรีตเทพื้นใหม่ๆ หรือพื้นคอนกรีตที่ใช้ไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งสาเหตุหลักๆที่ทำให้เกินการกร่อนหรือหลุดร่อนนั้น มีดังนี้
1.การเลือกใช้คอนกรีตไม่ถูกกับประเภทของงาน เช่น เลือกใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดต่ำเกินไปและมีความสามารถรับการขัดสีได้น้อย (ดู ตัวอย่างการเลือกกำลังคอนกรีต(ข้อ3))
2.มีปริมาณน้ำในส่วนผสมคอนกรีตที่มากเกินไปหรือมีการเติมน้ำที่หน้างาน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเยิ้มขึ้นที่ผิวหน้าคอนกรีต ซึ่งการเยิ้มของน้ำที่มากไปนั้นจะนำน้ำและส่วนละเอียดต่างๆ ลอยขึ้นมาอยู่ที่ผิวหน้าของพื้นคอนกรีต ส่งผลให้ผิวหน้าไม่แข็งแกร่ง
3.อัตราส่วนผสมของคอนกรีตไม่ถูกต้อง มีส่วนผสมที่เป็นวัสดุเชื่อมประสานน้อยเกินไป
4.การแต่งผิวหน้าคอนกรีตที่เร็วเกิน ก่อนที่น้ำจะเยิ้มขึ้นมาที่ผิวหน้าเต็มที่ การแต่งผิวหน้าในช่วงเวลาดังกล่าวจะทำให้น้ำที่กำลังเยิ้มขึ้นมา ถูกดันกลับเข้าไปในเนื้อคอนกรีต ดังนั้นผิวหน้าคอนกรีตจึงมีอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์สูงกว่าที่ออกแบบ ส่งผลให้ผิวหน้าคอนกรีตขาดความแข็งแกร่ง
6.น้ำส่วนเกินจากในระหว่างการแต่งผิวหน้าคอนกรีต เช่น การสลัดน้ำเพื่อที่จะได้ขัดหน้าได้สะดวกขึ้น หรือจากการแต่งผิวหน้าคอนกรีตเร็วเกินไป
น้ำที่ใช้ในการผสมคอนกรีตไม่สะอาด มีสารเจือปนที่เป็นอันตรายต่อคอนกรีต
7.การสาดปูนซีเมนต์ผงในขณะที่ทำการแต่งผิวหน้าคอนกรีต เป็นการเพิ่มปริมาณส่วนละเอียดให้กับผิวหน้าคอนกรีตให้มากขึ้น ซึ่งทำให้ชั้นของผิวหน้าคอนกรีตไม่แข็งแรง
8.ไม่มีการป้องกันที่สำหรับผิวหน้าคอนกรีตที่ยังไม่แข็งตัว ขณะเกิดฝนตก
1.การเลือกใช้คอนกรีตไม่ถูกกับประเภทของงาน เช่น เลือกใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดต่ำเกินไปและมีความสามารถรับการขัดสีได้น้อย (ดู ตัวอย่างการเลือกกำลังคอนกรีต(ข้อ3))
2.มีปริมาณน้ำในส่วนผสมคอนกรีตที่มากเกินไปหรือมีการเติมน้ำที่หน้างาน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเยิ้มขึ้นที่ผิวหน้าคอนกรีต ซึ่งการเยิ้มของน้ำที่มากไปนั้นจะนำน้ำและส่วนละเอียดต่างๆ ลอยขึ้นมาอยู่ที่ผิวหน้าของพื้นคอนกรีต ส่งผลให้ผิวหน้าไม่แข็งแกร่ง
3.อัตราส่วนผสมของคอนกรีตไม่ถูกต้อง มีส่วนผสมที่เป็นวัสดุเชื่อมประสานน้อยเกินไป
4.การแต่งผิวหน้าคอนกรีตที่เร็วเกิน ก่อนที่น้ำจะเยิ้มขึ้นมาที่ผิวหน้าเต็มที่ การแต่งผิวหน้าในช่วงเวลาดังกล่าวจะทำให้น้ำที่กำลังเยิ้มขึ้นมา ถูกดันกลับเข้าไปในเนื้อคอนกรีต ดังนั้นผิวหน้าคอนกรีตจึงมีอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์สูงกว่าที่ออกแบบ ส่งผลให้ผิวหน้าคอนกรีตขาดความแข็งแกร่ง
6.น้ำส่วนเกินจากในระหว่างการแต่งผิวหน้าคอนกรีต เช่น การสลัดน้ำเพื่อที่จะได้ขัดหน้าได้สะดวกขึ้น หรือจากการแต่งผิวหน้าคอนกรีตเร็วเกินไป
น้ำที่ใช้ในการผสมคอนกรีตไม่สะอาด มีสารเจือปนที่เป็นอันตรายต่อคอนกรีต
7.การสาดปูนซีเมนต์ผงในขณะที่ทำการแต่งผิวหน้าคอนกรีต เป็นการเพิ่มปริมาณส่วนละเอียดให้กับผิวหน้าคอนกรีตให้มากขึ้น ซึ่งทำให้ชั้นของผิวหน้าคอนกรีตไม่แข็งแรง
8.ไม่มีการป้องกันที่สำหรับผิวหน้าคอนกรีตที่ยังไม่แข็งตัว ขณะเกิดฝนตก