ข้อมูลทั่วไป
คือ คอนกรีตที่ถูกออกแบบมา ให้มีให้มีปริมาณช่องว่างในเนื้อคอนกรีตที่เหมาะสม สามารถระบายน้ำได้ดี โดยคอนกรีตพรุนซีแพคมีช่องว่างภายในที่ต่อเนื่อง (Interconnection Void) ขนาดตั้งแต่ 2 - 8 มม. ซึ่งขนาดช่องว่างเหล่านี้จะทำหน้าที่ให้น้ำไหลผ่านได้สะดวก
คุณสมบัติ
คอนกรีตพรุนซีแพค มีกำลังอัดให้ใช้งานอยู่ที่ ประมาณ 180 กก./ตร.ซม. (ทรงลูกบาศก์) หรือ 140 กก./ตร.ซม. (ทรงกระบอก)
เนื่องจากคอนกรีตพรุนซีแพคไม่มีทรายอยู่ในส่วนผสม จึงทำให้เป็นคอนกรีตที่มีปริมาณช่องว่างอากาศที่ต่อเนื่องกัน มากกว่าคอนกรีตปกติ ทำให้น้ำไหลผ่านได้สะดวก
ประเภทของการใช้งาน
เหมาะสำหรับการก่อสร้างหลายๆ ประเภท โดยเฉพาะพื้นที่ต้องการการระบายน้ำได้ดี เช่น พื้นลานจอดรถ, ลานบริเวณรอบที่พักอาศัย, พื้นบริเวณรอบสระว่ายน้ำ, ถนนในหมู่บ้าน (Light Traffic) และถนนภายในสนามกอล์ฟ เป็นต้น
คำแนะนำในการใช้งาน และข้อควรระวัง
วิธีการก่อสร้างด้วยคอนกรีตพรุนซีแพค (Construction Method for CPAC Porous Concrete)
นอกจากต้องมีการออกแบบที่ดีแล้ว ปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยให้การใช้คอนกรีตพรุนซีแพคมีประสิทธิภาพสูงสุด คือ วิธีการทำงานที่ถูกต้อง
การเตรียมดิน(Subgrade) ก่อนที่จะเริ่มเทคอนกรีต ชั้นดินเดิมต้องถูกอัดแน่น (90-96% Standard Proctor) เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการทรุดตัว และความเสียหายของชั้นคอนกรีตพรุน
การเตรียมชั้นรองผิวทาง (Subbase) ควรปูหินปูนหรือกรวดที่มีความสะอาดขนาด 1"-3/4" บดอัดให้มีความหนาอยู่ระหว่าง 6"-12" (150-300 มม.) ขึ้นกับลักษณะของดินเดิม เพื่อช่วยในการระบายน้ำให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การเทคอนกรีต (Pouring) การเทคอนกรีตจากรางควรให้มีระยะตก (Free Fall) ไม่เกิน 90 ซม. ทั้งนี้เพื่อป้องกันการอัดแน่นกันของคอนกรีตที่ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการระบายน้ำ (Permeability Efficiency) เมื่อคอนกรีตถูกเทออกมาจากรถโม่แล้ว จะต้องทำการบดอัดโดยการใช้ลูกกลิ้งตามมาตรฐาน ACI 522 R ซึ่งจะทำให้คอนกรีตมีขนาดช่องว่างที่เหมาะสมและสามารถระบายน้ำได้ดี
การบ่ม (Curing) หลังจากขั้นตอนการเทเรียบร้อย ควรคลุมด้วยฟิล์มพลาสติกคลุมทันทีและบ่มชื้นต่อเนื่องอย่างน้อย 7-14 วัน เพราะคอนกรีตพรุนเป็นคอนกรีตแบบแห้ง (Dry Mix) มีน้ำในส่วนผสมอยู่น้อย มีโอกาสเกิดการระเหยของน้ำได้มากกว่า ดังนั้นจะต้องมีการบ่มให้คอนกรีตสามารถเกิดปฏิกิริยาไฮเดรชั่นได้สมบูรณ์ที่สุด หากไม่มีการบ่มที่ดีเพียงพออาจมีผลต่อด้านกำลัง(Strength) และการหลุดร่อนของผิวหน้าคอนกรีต
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในงานคอนกรีตพรุนซีแพค (Porous Concrete Considerations)
นอกจากตัวคอนกรีตพรุนซีแพคเองแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพิ่มเติมคือ ระบบการระบายน้ำของชั้นผิวทางและชั้นดินของพื้นที่นั้นๆ ทั้งนี้เพื่อให้ได้คอนกรีตพรุนซีแพคที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามการออกแบบนั่นเอง
ความสามารถในการซึมผ่านของน้ำที่ชั้นดินเดิม ควรมีการตรวจสอบค่าการซึมผ่าน ซึ่งชนิดของดินที่แนะนำควรเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดีและถ้าหากชั้นดินเดิมเป็นดินเหนียว ควรเพิ่มความหนาของชั้นหินรองพื้นทาง (Subbase; หิน ¾ - 1 นิ้ว) ให้มีความหนามากขึ้น
ในสถานที่ก่อสร้าง การเดินรถและอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมากๆ ควรอยู่ภายนอกบริเวณพื้นที่ก่อสร้างคอนกรีตพรุนซีแพค ควรหลีกเลี่ยงการจราจรผ่านบริเวณที่กำลังทำการก่อสร้าง เพื่อป้องกันคอนกรีตพรุนเกิดการอัดแน่น ทำให้สูญเสียความสามารถในการระบายน้ำ
ควรมีการบำรุงรักษาและตรวจสอบคอนกรีตพรุนซีแพค ตามตาราง
ตารางแสดงการบำรุงรักษาและตรวจสอบคอนกรีตพรุนซีแพค
คือ คอนกรีตที่ถูกออกแบบมา ให้มีให้มีปริมาณช่องว่างในเนื้อคอนกรีตที่เหมาะสม สามารถระบายน้ำได้ดี โดยคอนกรีตพรุนซีแพคมีช่องว่างภายในที่ต่อเนื่อง (Interconnection Void) ขนาดตั้งแต่ 2 - 8 มม. ซึ่งขนาดช่องว่างเหล่านี้จะทำหน้าที่ให้น้ำไหลผ่านได้สะดวก
คุณสมบัติ
คอนกรีตพรุนซีแพค มีกำลังอัดให้ใช้งานอยู่ที่ ประมาณ 180 กก./ตร.ซม. (ทรงลูกบาศก์) หรือ 140 กก./ตร.ซม. (ทรงกระบอก)
เนื่องจากคอนกรีตพรุนซีแพคไม่มีทรายอยู่ในส่วนผสม จึงทำให้เป็นคอนกรีตที่มีปริมาณช่องว่างอากาศที่ต่อเนื่องกัน มากกว่าคอนกรีตปกติ ทำให้น้ำไหลผ่านได้สะดวก
ประเภทของการใช้งาน
เหมาะสำหรับการก่อสร้างหลายๆ ประเภท โดยเฉพาะพื้นที่ต้องการการระบายน้ำได้ดี เช่น พื้นลานจอดรถ, ลานบริเวณรอบที่พักอาศัย, พื้นบริเวณรอบสระว่ายน้ำ, ถนนในหมู่บ้าน (Light Traffic) และถนนภายในสนามกอล์ฟ เป็นต้น
คำแนะนำในการใช้งาน และข้อควรระวัง
วิธีการก่อสร้างด้วยคอนกรีตพรุนซีแพค (Construction Method for CPAC Porous Concrete)
นอกจากต้องมีการออกแบบที่ดีแล้ว ปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยให้การใช้คอนกรีตพรุนซีแพคมีประสิทธิภาพสูงสุด คือ วิธีการทำงานที่ถูกต้อง
การเตรียมดิน(Subgrade) ก่อนที่จะเริ่มเทคอนกรีต ชั้นดินเดิมต้องถูกอัดแน่น (90-96% Standard Proctor) เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการทรุดตัว และความเสียหายของชั้นคอนกรีตพรุน
การเตรียมชั้นรองผิวทาง (Subbase) ควรปูหินปูนหรือกรวดที่มีความสะอาดขนาด 1"-3/4" บดอัดให้มีความหนาอยู่ระหว่าง 6"-12" (150-300 มม.) ขึ้นกับลักษณะของดินเดิม เพื่อช่วยในการระบายน้ำให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การเทคอนกรีต (Pouring) การเทคอนกรีตจากรางควรให้มีระยะตก (Free Fall) ไม่เกิน 90 ซม. ทั้งนี้เพื่อป้องกันการอัดแน่นกันของคอนกรีตที่ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการระบายน้ำ (Permeability Efficiency) เมื่อคอนกรีตถูกเทออกมาจากรถโม่แล้ว จะต้องทำการบดอัดโดยการใช้ลูกกลิ้งตามมาตรฐาน ACI 522 R ซึ่งจะทำให้คอนกรีตมีขนาดช่องว่างที่เหมาะสมและสามารถระบายน้ำได้ดี
การบ่ม (Curing) หลังจากขั้นตอนการเทเรียบร้อย ควรคลุมด้วยฟิล์มพลาสติกคลุมทันทีและบ่มชื้นต่อเนื่องอย่างน้อย 7-14 วัน เพราะคอนกรีตพรุนเป็นคอนกรีตแบบแห้ง (Dry Mix) มีน้ำในส่วนผสมอยู่น้อย มีโอกาสเกิดการระเหยของน้ำได้มากกว่า ดังนั้นจะต้องมีการบ่มให้คอนกรีตสามารถเกิดปฏิกิริยาไฮเดรชั่นได้สมบูรณ์ที่สุด หากไม่มีการบ่มที่ดีเพียงพออาจมีผลต่อด้านกำลัง(Strength) และการหลุดร่อนของผิวหน้าคอนกรีต
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในงานคอนกรีตพรุนซีแพค (Porous Concrete Considerations)
นอกจากตัวคอนกรีตพรุนซีแพคเองแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพิ่มเติมคือ ระบบการระบายน้ำของชั้นผิวทางและชั้นดินของพื้นที่นั้นๆ ทั้งนี้เพื่อให้ได้คอนกรีตพรุนซีแพคที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามการออกแบบนั่นเอง
ความสามารถในการซึมผ่านของน้ำที่ชั้นดินเดิม ควรมีการตรวจสอบค่าการซึมผ่าน ซึ่งชนิดของดินที่แนะนำควรเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดีและถ้าหากชั้นดินเดิมเป็นดินเหนียว ควรเพิ่มความหนาของชั้นหินรองพื้นทาง (Subbase; หิน ¾ - 1 นิ้ว) ให้มีความหนามากขึ้น
ในสถานที่ก่อสร้าง การเดินรถและอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมากๆ ควรอยู่ภายนอกบริเวณพื้นที่ก่อสร้างคอนกรีตพรุนซีแพค ควรหลีกเลี่ยงการจราจรผ่านบริเวณที่กำลังทำการก่อสร้าง เพื่อป้องกันคอนกรีตพรุนเกิดการอัดแน่น ทำให้สูญเสียความสามารถในการระบายน้ำ
ควรมีการบำรุงรักษาและตรวจสอบคอนกรีตพรุนซีแพค ตามตาราง
ตารางแสดงการบำรุงรักษาและตรวจสอบคอนกรีตพรุนซีแพค
|