น้ำผสมคอนกรีต น้ำมีความสำคัญต่อกำลังของคอนกรีตเป็นอย่างมาก
คุณสมบัติที่สำคัญของน้ำความสะอาดไม่ควรมีสิ่งเจือปนต่าง ๆหลักง่าย ๆ ก็คือ น้ำที่ดื่มได้ เป็น น้ำที่ใช้ในงานคอนกรีตได้
ผลเสีย เมื่อ นำน้ำที่ไม่สะอาด มีสารเจือปน มาผสมคอนกรีต
1.น้ำทะเล ผลเสีย กำลังของคอนกรีตลดลงไปประมาณ 10 - 20 %
2.น้ำประปาที่มีส่วนผสมของคลอไรด์ ผลเสีย มีผลต่อการเกิดสนิมของเหล็กเสริม โดยเฉพาะลวดรับแรงดึงสูงสำหรับงานคอนกรีตอัดแรง แก้ไขโดย ทิ้งน้ำประปาไว้ในถังน้ำสำรองเพื่อให้คลอไรด์ระเหยลดปริมาณลงเสียก่อน
3.สารเจือปนอื่น ๆ ในน้ำ มีผลให้กำลังของคอนกรีตลดลง เช่น ตะไคร่น้ำ น้ำตาล น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำมัน ตะกอน โดยที่ปริมาณที่ยอมให้มีสารเจือปนในน้ำต้องไม่เกินกว่าข้อกำหนดของ ASTM
วัสดุผสมคอนกรีต (Aggregate)
หมายถึง ทราย และ หิน ซึ่งเป็นส่วนผสมที่มีปริมาณมากที่สุดในเนื้อคอนกรีต
โดยทั่วไปมีปริมาณ 60 - 75 %
วัสดุผสมมีหน้าที่รับกำลัง
ปูนซีเมนต์ทำหน้าที่เป็นวัสดุประสาน
ความสำคัญของวัสดุผสม ต่อ คอนกรีต
1.วัสดุผสมมีราคาถูกกว่า ปูนซีเมนต์ อาจใช้วัสดุผสมในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อลดต้นทุนการผลิต
2.วัสดุผสมมีความทนทาน และ ต้านทานต่อการสึกกร่อนได้ดีกว่า ซีเมนต์เพสต์
3.วัสดุผสมมีการหดตัว และ ขยายตัวได้ดีกว่าซีเมนต์เพสต์
4.วัสดุผสมสามารถตบแต่งผิว และ สี ให้สวยงามได้
5.วัสดุผสมต้านทานต่อไฟ ความร้อน และเสียง ได้ดี
6.วัสดุผสมมีหลายชนิด และ หลายหน่วยน้ำหนักให้เลือกใช้ นำมาสร้างคอนกรีตได้หลายลักษณะ
วัสดุผสมแบ่งเป็น 2 ประเภท
ประเภทที่ 1 วัสดุผสมละเอียด (Fine Aggregate) = วัสดุมีขนาดเล็กลอดผ่านตะแกรงเบอร์ 4 ได่ จัดเป็นวัสดุผสมละเอียด ได้แก่วัสดุประเภททราย เช่น ทรายบก ทรายแม่น้ำ
ประเภทที่ 2 วัสดุผสมหยาบ (Coarse Aggregate) = วัสดุที่ค้างบนตะแกรงเบอร์ 4 ได้แก่ กรวด หรือ หินจากโรงโม่ขนาดต่าง ๆ
คุณสมบัติที่สำคัญของน้ำความสะอาดไม่ควรมีสิ่งเจือปนต่าง ๆหลักง่าย ๆ ก็คือ น้ำที่ดื่มได้ เป็น น้ำที่ใช้ในงานคอนกรีตได้
ผลเสีย เมื่อ นำน้ำที่ไม่สะอาด มีสารเจือปน มาผสมคอนกรีต
1.น้ำทะเล ผลเสีย กำลังของคอนกรีตลดลงไปประมาณ 10 - 20 %
2.น้ำประปาที่มีส่วนผสมของคลอไรด์ ผลเสีย มีผลต่อการเกิดสนิมของเหล็กเสริม โดยเฉพาะลวดรับแรงดึงสูงสำหรับงานคอนกรีตอัดแรง แก้ไขโดย ทิ้งน้ำประปาไว้ในถังน้ำสำรองเพื่อให้คลอไรด์ระเหยลดปริมาณลงเสียก่อน
3.สารเจือปนอื่น ๆ ในน้ำ มีผลให้กำลังของคอนกรีตลดลง เช่น ตะไคร่น้ำ น้ำตาล น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำมัน ตะกอน โดยที่ปริมาณที่ยอมให้มีสารเจือปนในน้ำต้องไม่เกินกว่าข้อกำหนดของ ASTM
วัสดุผสมคอนกรีต (Aggregate)
หมายถึง ทราย และ หิน ซึ่งเป็นส่วนผสมที่มีปริมาณมากที่สุดในเนื้อคอนกรีต
โดยทั่วไปมีปริมาณ 60 - 75 %
วัสดุผสมมีหน้าที่รับกำลัง
ปูนซีเมนต์ทำหน้าที่เป็นวัสดุประสาน
ความสำคัญของวัสดุผสม ต่อ คอนกรีต
1.วัสดุผสมมีราคาถูกกว่า ปูนซีเมนต์ อาจใช้วัสดุผสมในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อลดต้นทุนการผลิต
2.วัสดุผสมมีความทนทาน และ ต้านทานต่อการสึกกร่อนได้ดีกว่า ซีเมนต์เพสต์
3.วัสดุผสมมีการหดตัว และ ขยายตัวได้ดีกว่าซีเมนต์เพสต์
4.วัสดุผสมสามารถตบแต่งผิว และ สี ให้สวยงามได้
5.วัสดุผสมต้านทานต่อไฟ ความร้อน และเสียง ได้ดี
6.วัสดุผสมมีหลายชนิด และ หลายหน่วยน้ำหนักให้เลือกใช้ นำมาสร้างคอนกรีตได้หลายลักษณะ
วัสดุผสมแบ่งเป็น 2 ประเภท
ประเภทที่ 1 วัสดุผสมละเอียด (Fine Aggregate) = วัสดุมีขนาดเล็กลอดผ่านตะแกรงเบอร์ 4 ได่ จัดเป็นวัสดุผสมละเอียด ได้แก่วัสดุประเภททราย เช่น ทรายบก ทรายแม่น้ำ
ประเภทที่ 2 วัสดุผสมหยาบ (Coarse Aggregate) = วัสดุที่ค้างบนตะแกรงเบอร์ 4 ได้แก่ กรวด หรือ หินจากโรงโม่ขนาดต่าง ๆ