คอนกรีตรูปทรงกระบอกหรือรูปลูกบาศก์

ในประเทศไทยถึงได้ทดสอบกำลังอัดคอนกรีตโดยใช้รูปลูกบาศก์บ้าง รูปทรงกระบอกบ้าง การใช้รูปทรงของคอนกรีตที่ทดสอบทั้ง  2 รูปแบบมีที่มาอย่างใด, มีข้อดี-ข้อเสียอย่างใด, มีกำลังอัดที่เรียกว่าหน่วยแรง หรือ Stress ที่เท่ากันหรือไม่ และที่สำคัญควรจะเลือกใช้แบบใดดีในงานคอนกรีต



          กำลังอัดของคอนกรีต รูปลูกบาศก์ นิยมใช้ในอังกฤษ, เยอรมนี และประเทศในกลุ่มยุโรปเป็นส่วนใหญ่ ส่วนรูปทรงกระบอก นั้นนิยมใช้ในสหรัฐอเมริกา, ฝรั่งเศส, แคนาดา, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ สำหรับในประเทศไทยนั้นนิยมใช้ทั้ง 2 ประเภท เหตุที่ประเทศไทยนิยมใช้ทั้ง 2 ประเภทอาจเนื่องมาจา

          1) ผู้ที่สำเร็จการศึกษา จากประเทศที่ใช้คอนกรีตรูปลูกบาศก์ หรือรูปทรงกระบอก มักจะยึดถือตามมาตรฐานที่ตัวเองได้ร่ำเรียนมา

          2) ผู้ออกแบบ ใช้รูปทรงกระบอกในการออกแบบแต่ผู้เก็บตัวอย่างและทดสอบนิยมที่จะใช้รูปลูกบาศก์ในการทดสอบมากกว่า เพราะใช้คอนกรีตน้อยกว่า กล่าวคือ คอนกรีตรูปทรงกระบอกจะหนักประมาณ 13 กิโลกรัม ขณะที่รูปลูกบาศก์จะหนัก 8 กิโลกรัม ซึ่งผลต่างของน้ำหนักเท่ากับ 5 กิโลกรัม ต่อตัวอย่าง 1 ก้อน นอกจากนี้การใช้คอนกรีตรูปทรงกระบอกจะต้องทำผิวหน้าของคอนกรีตให้เรียบ โดยการ capping เสียก่อนที่จะทำการทดสอบ ในขณะที่รูปลูกบาศก์ก็สามารถทดสอบได้ทันที

           ในปัจจุบัน จากการทดสอบคอนกรีตที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พบว่าส่วนใหญ่จะเป็นรูปทรงกระบอกโดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 60-70 ส่วนอีกร้อยละ 30-40 จะเป็นคอนกรีตรูปลูกบาศก์

           คอนกรีตรูปลูกบาศก์ การเก็บตัวอย่างคอนกรีตรูปลูกบาศก์จะใช้มาตรฐาน BS 1881 คือใส่คอนกรีตในรูปแบบมาตรฐานขนาด 15x15x15 ซม. จำนวน 3 ชั้น แต่ละชั้นจะกระทุ้งด้วยเหล็กอย่างน้อย 35 ครั้ง เหล็กระทุ้งมีน้ำหนัก 1.8 กก. ยาว 38 ซม. หน้าตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 2.5 ซม. ทิ้งคอนกรีตไว้ 24 ชั่วโมง ถ้าอุณหภูมิ 18 ถึง 22 °C ความชื้นสัมพันธ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 จากนั้นถอดแบบออกและนำไปบ่มในน้ำที่อุณหภูมิ 19 ถึง 21 °C

          คอนกรีตรูปทรงกระบอก การเก็บตัวอย่างคอนกรีตรูปทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 ซม. สูง 30 ซม. ตามมาตรฐาน ASTM C-192 คือหล่อคอนกรีตเป็น 3 ชั้น แต่ละชั้นกระทุ้ง 25 ครั้ง ด้วยเหล็กเส้นกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มม. ยาว 61 ซม. ถอดแบบภายหลังจากอายุ 24 ชั่วโมง โดยมีอุณหภูมิที่ 23 °C ± 1.7 °C
           ก่อนจะทำการทดสอบกำลังอัดของคอนกรีตจะต้องทำการ capping เพื่อให้ผิวหน้าที่จะทำการทดสอบเรียบ หากไม่ทำการ capping จะต้องขัดผิวหน้าคอนกรีตให้เรียบเสียก่อนจึงจะทำการทดสอบ เพราะหากผิวคอนกรีตไม่เรียบหรือเอียงเพียง 0.25 มม. อาจทำให้กำลังอัดของคอนกรีตลดลงได้ถึงร้อยละ 33 และถ้าเป็นคอนกรีตกำลังสูงด้วยแล้ว ผิวหน้าของคอนกรีตที่ไม่เรียบจะทำให้กำลังของคอนกรีตที่ทดสอบได้มีค่าลดลงยิ่งกว่าคอนกรีตธรรมดา
           ความหนาของ capping ควรจะบางมาก ๆ ราว ๆ 1.5 ถึง 3 มม.จะให้ค่าดีที่สุด หาก capping หนามาก จะทำให้กำลังอัดของคอนกรีตลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนกรีตกำลังสูง
ความสัมพันธ์ระหว่างกำลังอัดของคอนกรีตรูปทรงกระบอกและรูปลูกบาศก์
          คอนกรีตซึ่งมีส่วนผสมเดียวกัน ทดสอบที่อายุเท่ากันจะมีค่าแตกต่างกันถ้าทดสอบโดยใช้รูปทรงกระบอกและรูปลูกบาศก์ โดยทั่ว ๆ ไปกล่าวได้ว่ากำลังอัดของคอนกรีตรูปทรงกระบอกจะมีค่าประมาณร้อยละ 80 ของคอนกรีตรูปลูกบาศก์แต่จากการทดลองพบว่ากำลังอัดของคอนกรีตรูปลูกบาศก์และรูปทรงกระบอกควรมีค่าตามรูปที่ 1 แทนที่จะเป็นร้อยละตายตัว
เลือกคอนกรีตรูปทรงกระบอก หรือรูปลูกบาศก์ดี
          โดยหลักการแล้ว หากออกแบบคอนกรีตโดยมาตรฐานอันใดให้ใช้คอนกรีตตามที่มาตรฐานนั้นกำหนด เช่น ตามมาตรฐานอังกฤษควรใช้คอนกรีตรูปลูกบาศก์ในการหากำลังอัดหรือถ้าใช้มาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (ว.ส.ท) หรือมาตรฐานอเมริกัน ก็ควรใช้คอนกรีตรูปทรงกระบอก

หากพิจารณาว่าในงานวิจัยควรจะเลือกใช้คอนกรีตแบบใดดี คำตอนที่ได้ก็คือ ควรจะเลือกใช้แบบรูปทรงกระบอกจะดีกว่า นอกจากนี้ RILEM ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำหนดมาตรฐานการทดสอบก็แนะนำให้ใช้คอนกรีตรูปทรงกระบอก เพราะว่า
          - คอนกรีตรูปทรงกระบอกให้ค่าทดสอบที่ได้สม่ำเสมอกว่า เนื่องจากผลกระทบเนื่องจาก End Restraint ของตัวอย่างมีค่าน้อยกว่า
          - ผลกระทบเนื่องจากชนิดของหินต่อกำลังอัดมีค่าน้อยกว่าแบบรูปลูกบาศก์
          - การกระจายของแรงอัดบนผิวหน้าของคอนกรีตมีค่าสม่ำเสมอกว่า
         - คอนกรีตรูปทรงกระบอกทำการเทและทดสอบให้มีทิศทางเดียวกัน (แนวตั้ง) ในขณะที่คอนกรีตแบบรูปลูกบาศก์มีการเทและการทดสอบในทิศทางที่ทำมุม 90 องศา ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปในงานจริง การเทคอนกรีตจะเป็นแบบรูปทรงกระบอกมากกว่าที่เทในทางนอน ดังนั้นการทดสอบคอนกรีตในทางตั้งซึ่งเป็นทิศทางเดียวกัน จึงน่าจะให้ผลที่ดีกว่า

ขอบคุณที่มา http://v-concrete.com/about-us/knowledge/item/83-concrete-cylinder
คอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนผสมเสร็จ ปูนน้ำ สลั๊มปั๊ม คอนกรีตสำเร็จ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน ราคาถูก!!ผู้ผลิต-จำหน่าย-ขาย บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตสำเร็จ ปูนผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนน้ำ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน หล่อเสา ปูนกันซึม คอนกรีตสลั๊มปั๊ม เข็มเจาะ แพล้นปูน บางพูน ลำลูกกา ธัญบุรี ปทุมธานี มีนบุรี ถนนนิมิตใหม่ รามอินทรา สายไหม เอกชัย พระราม2 คลองหลวง รังสิต นวนคร บางเขน นนทบุรี บางซื่อ บางขุนเทียน บางมด ตลิ่งชัน สุขุมวิท พระราม9 ปทุมวัน ลาดกระบัง นวมินทร์ บางแค บางปู สมุทรปราการ บางนา ท่าพระ ราษฏร์บูรณะ กทม.ราคาถูก รถโม่เล็ก รถโม่ใหญ่

บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนตราช้าง งานคุณภาพผลิตตรงจากแพล้นคอนกรีต สนใจติดต่อสั่งซื้อได้ที่ 02-181-0288 หรือ 02-181-0188 ติดต่อมือถือ 089-797-3536
Back To Top