เหล็กเสริมในโครงสร้างค.ส.ล. ใช้วิธีเชื่อมไฟฟ้าแทนการผูกเหล็กได้หรือไม่


“เหล็กเสริม” ในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กนั้น เป็นส่วนหนึ่งที่มีผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้าง เสา คาน และส่วนต่างๆ ที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักอาคารหรือบ้านพักอาศัย โดยเหล็กเสริมจะประกอบด้วยเหล็กข้ออ้อย และเหล็กเส้นกลมซึ่งถูกจัดวางตามระยะการติดตั้งที่วิศวกรกำหนด ทั้งนี้ เพื่อให้เหล็กแต่ละเส้นอยู่ในตำแหน่งโดยไม่ขยับตัวในขณะที่เทคอนกรีตไปจนถึงคอนกรีตเซตตัว ส่วนใหญ่จึงยึดเหล็กแต่ละเส้นเข้าด้วยกันด้วยการผูกเหล็กโดยใช้ลวดผูกเหล็กมัดตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นการผูกเหล็กข้ออ้อยซึ่งเป็นเหล็กเสริมหลัก กับ เหล็กเส้นกลมซึ่งเป็นเหล็กปลอกในงานโครงสร้างฐานราก เสา และคาน 


 หรือการผูกเหล็กข้ออ้อยกับเหล็กข้ออ้อยในงานพื้นคอนกรีตหล่อในที่ ซึ่งลวดผูกเหล็กที่ใช้ในการผูกเหล็กนี้ไม่ได้มีผลต่อการรับแรงหรือรับน้ำหนักของโครงสร้างแต่อย่างใด ทำหน้าที่ในการยึดเหล็กเส้นให้อยู่ในตำแหน่งเท่านั้น (ถ้าเหล็กเสริมอยู่ในระยะที่กำหนดไว้ได้โดยไม่ขยับ จะไม่จำเป็นต้องใช้ลวดผูกเหล็ก) อย่างไรก็ตาม มีหลายคนที่เห็นว่าเหล็กเป็นวัสดุที่สามารถเชื่อมให้ติดกันได้ จึงสงสัยว่าจะเลือกวิธีเชื่อมไฟฟ้าทดแทนการผูกเหล็กได้หรือไม่



 ตาม
มาตรฐานวิศวกรรมการก่อสร้างจะแนะนำให้เลือกใช้ลวดผูกเหล็กในการผูกเหล็กแต่ละเส้นเข้าด้วยกันเท่านั้น ส่วนการเชื่อมไฟฟ้าเหล็กเสริม (ไม่ว่าจะเชื่อมแต้ม หรือเชื่อมเต็ม) จะไม่อยู่ในมาตรฐานการก่อสร้าง โดยมีหลายเหตุผลประกอบกัน ได้แก่ ความร้อนอาจทำให้เหล็กเสริมนั้นสูญเสียเนื้อเหล็กบางส่วนไป ซึ่งจะมีผลต่อความแข็งแรงของเหล็กเสริมที่อาจกระทบกับความแข็งแรงของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กโดยรวม, วิธีการเชื่อมและมาตรฐานในการทำงานของช่างแต่ละคนที่ไม่เท่ากันซึ่งควบคุมได้ยาก รวมถึงอัตราการยืดหดตัวของคอนกรีตและเหล็กที่ต่างกัน อาจส่งผลให้คอนกรีตแตกร้าวได้ในจุดที่เหล็กเชื่อมติดกัน

  อย่างไรก็ตาม ในกรณีการต่อเหล็กสามารถเลือกใช้วิธีเชื่อมไฟฟ้าแทนการทาบเหล็กได้ โดยเฉพาะเมื่อต้องต่อเหล็กเสริมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 25 มม. โดยใช้วิธีต่อเชื่อมแบบชน (BUTT WELD) ซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานของการเชื่อมต่อ และรอยต่อด้วยวิธีการเชื่อมนั้น ต้องสามารถรับแรงดึงได้อย่างน้อยร้อยละ 125 ของค่ากำลังครากของเหล็กตามที่ระบุไว้ (รอยต่อต้องมีแรงต้านแรงดึงได้ไม่น้อยกว่า 1.25 เท่าของแรงต้านแรงดึงสูงสุดของเหล็กเส้น) โครงสร้างจึงยังคงมีความแข็งแรงดีไม่มีตก ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีข้อต่อเหล็กเส้น “Coupler” ที่ทำให้การต่อเหล็กเสริมง่าย และรวดเร็ว อีกทั้งยังได้ตำแหน่งแนวแกนเส้นเหล็กที่ตรงกันตลอดความยาวของโครงสร้าง



* หมายเหตุ: อ้างอิงตามมาตรฐาน วสท.1007-3
* การต่อเหล็ก มักพบในอาคารขนาดใหญ่หรืออาคารสูงที่มีโครงสร้างยาวต่อเนื่อง

ภาพ: ตัวอย่างการต่อเหล็กด้วยวิธีการเชื่อมแบบชน (BUTT WELD) โดยรอยต่อเชื่อมต้องมีความแข็งแรงไม่น้อยกว่าร้อยละ 125 ของกำลังครากเหล็กเสริมนั้น หรือจุดที่เชื่อมต้องมีความแข็งแรงมากกว่าเหล็กนั่นเอง
       นอกจากวิธีการยึดเหล็กและต่อเหล็กที่ควรปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรฐานวิศวกรรมโดยช่างที่มีความชำนาญแล้ว การเลือกประเภทของเหล็กให้เหมาะสมกับการใช้งาน เลือกขนาดและมาตรฐานเหล็กที่ผลิตให้ตรงตามที่วิศวกรคำนวณก็เป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กเช่นกัน

* เหล็กที่ได้คุณภาพ เมื่อดัดโค้งงอต้องไม่ปริแตกและหักง่าย
** เหล็กต้องไม่เป็นสนิมกินเข้าไปในเนื้อเหล็ก แต่ไม่ต้องกังวลหากเป็นสนิมบ้างบนผิวเหล็กเพราะสภาพอากาศเมืองไทย
*** เหล็กเส้นที่ต่อด้วยวิธีการเชื่อม หากทดสอบแล้วไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ถือว่าเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตชุดนั้นใช้ไม่ได้

ขอบคุณที่มา :: SCG https://goo.gl/UXMRkw
คอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนผสมเสร็จ ปูนน้ำ สลั๊มปั๊ม คอนกรีตสำเร็จ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน ราคาถูก!!ผู้ผลิต-จำหน่าย-ขาย บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตสำเร็จ ปูนผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนน้ำ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน หล่อเสา ปูนกันซึม คอนกรีตสลั๊มปั๊ม เข็มเจาะ แพล้นปูน บางพูน ลำลูกกา ธัญบุรี ปทุมธานี มีนบุรี ถนนนิมิตใหม่ รามอินทรา สายไหม เอกชัย พระราม2 คลองหลวง รังสิต นวนคร บางเขน นนทบุรี บางซื่อ บางขุนเทียน บางมด ตลิ่งชัน สุขุมวิท พระราม9 ปทุมวัน ลาดกระบัง นวมินทร์ บางแค บางปู สมุทรปราการ บางนา ท่าพระ ราษฏร์บูรณะ กทม.ราคาถูก รถโม่เล็ก รถโม่ใหญ่

บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนตราช้าง งานคุณภาพผลิตตรงจากแพล้นคอนกรีต สนใจติดต่อสั่งซื้อได้ที่ 02-181-0288 หรือ 02-181-0188 ติดต่อมือถือ 089-797-3536
Back To Top