การเทคอนกรีตทับหน้า

การเทคอนกรีตทับหน้า (Overlay concrete) หมายถึง การเทวัสดุ ได้แก่ คอนกรีตทับหน้าบนพื้นคอนกรีตเดิม ที่มีอยู่ มักนิยมใช้ซ่อมแซมผิวหน้าพื้นคอนกรีตเดิมที่สึกกร่อน เสียหาย หรือต้องการปรับปรุงผิวหน้าพื้นเดิมให้แข็งแกร่งขึ้น รูปแบบการเทคอนกรีตทับหน้า (Overlay concrete) ที่นิยมทำกันมี 3 แบบ ได้แก่

1. การเททับหน้าแบบเชื่อมประสานสมบูรณ์ (Fully Bonded Overlay) เป็นการเททับหน้าภายหลังจาก กระเทาะผิวพื้นเดิมให้ขรุขระ, ทำความสะอาดพื้นผิว และทาวัสดุเชื่อมประสาน(Bonding agent) ก่อนเทคอนกรีตทับหน้าตามลงไป รูปแบบการเทประเภทนี้ ความหนาของคอนกรีตที่เททับหน้า (Overlay) มักจะน้อยกว่า 5.0 เซนติเมตร แต่สามารถเทที่ควาหนามากกว่านี้ได้ การใช้วัสดุเชื่อมประสานเพื่อให้คอนกรีตที่เทใหม่เชื่อมกับพื้นเดิมได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเททับหน้าเป็นชั้นบางๆ

2. การเททับหน้าแบบเชื่อมประสานบางส่วน (Partially Bonded Overlay) เป็นการเททับหน้าบนพื้นผิวที่ทำ ความสะอาดแล้ว แต่ไม่ได้กระเทาะผิวเดิมให้ขรุขระ ก่อนทาวัสดุเชื่อมประสาน (Bonding Agent) และเทคอนกรีตใหม่ลงไป


3. การเททับหน้าแบบไม่เชื่อมประสาน (Unbonded Overlay) เป็นการเทคอนกรีตทับหน้า (Overlay) โดยมี การปูวัสดุบนพื้นเดิมก่อนจะเทคอนกรีตใหม่ลงไป วัสดุ ที่ปูจะทำให้พื้นเดิมกับคอนกรีตที่เททับหน้าใหม่ไม่ ประสานติดกัน การเททับหน้าวิธีนี้ มักใช้เมื่อพื้น คอนกรีตเดิมอยู่ในสภาพที่ไม่ดี เช่น มีรอยแตกร้าว มี การเปื้อนของน้ำมัน เป็นต้น การทำพื้นคอนกรีตทับหน้ามีข้อควรคำนึง หลายประเด็น ได้แก่ ความหนาของคอนกรีตที่เททับ หน้า (Thickness of Overlay), วัสดุเชื่อมประสานที่ใช้ (Bonding Agent), การทำรอยต่อ (Joint), และส่วนผสมคอนกรีตที่ใช้ (Concrete Mix Proportion) ซึ่ง มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ความหนาของชั้นเททับหน้า (Thickness of Overlay) ความหนาของชั้นคอนกรีตเททับหน้า
(Thickness of Overlay) สามารถกำหนดได้ตาม ประเภทของการเททับหน้า (Overlay) ได้ดังนี้


1.1 การเททับหน้าแบบเชื่อมประสาน สมบูรณ์ (Fully Bonded Overlay) ความหนาต่ำสุดที่
เทได้อยู่ที่ 2.5 – 5.0 เซนติเมตร โดยจะต้องเททับหน้า พื้นเดิมที่อยู่ในสภาพดี สะอาดแข็งแรง ปราศจากรอยแตกร้าว การเทคอนกรีตทับหน้าที่มีความหนาต่ำกว่า 2.5 เซนติเมตร มีโอกาสเกิดการแตกร้าว (Cracking),เกิดการโก่ง (curling) และหลุดร่อนของชั้นเททับหน้า ได้มาก เนื่องจากโดยทั่วไปการเทคอนกรีตทับหน้าที่มีความหนาน้อย จะใช้คอนกรีตที่ผสมด้วยหินขนาดเล็ก กว่า 3/8 นิ้ว (10 มิลลิเมตร) และใส่ปริมาณทรายมากกว่าปกติ ทำให้ใช้น้ำในการผสมคอนกรีตมากกว่า ปกติ จึงเกิดการหดตัวของคอนกรีต (Shrinkage)มากกว่าคอนกรีตปกติที่ใช้หินขนาดใหญ่ และใส่ทราย ในส่วนผสมน้อย

1.2 การเททับหน้าแบบเชื่อมประสาน
บางส่วน (Partially Bonded Overlay) และ การเททับ หน้าแบบไม่เชื่อมประสาน (Unbonded Overlay)ความหนาต่ำสุดของการเททับหน้า (Overlay) สองประเภทนี้อยู่ที่ 10.0 เซนติเมตร พื้นเดิมจะต้องสามารถทำหน้าที่เป็นชั้นรองของวัสดุเททับหน้าเป็นอย่างดี ไม่มีรอยแตกร้าวปรากฏอยู่ จึงจะสามารถใช้การเททับหน้าวิธีได้ การใช้งานพื้นที่รับน้ำหนักขนาด

เบาจนถึงการใช้งานหนักมาก เช่น พื้นโรงงาน อาจทำให้ระดับของพื้นที่เททับหน้าแล้วเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เนื่องจากความหนาของคอนกรีตที่เททับหน้าค่อนข้างมาก วิธีการเททับหน้าดังกล่าวจึงเหมาะสำหรับงานที่ไม่คำนึงถึงระดับของพื้นหลังจากเททับ หน้าใหม่แล้ว ถึงแม้ว่าจะมีการซ่อมแซมรอยแตกร้าวของพื้นเดิมด้านล่างก่อนการเททับหน้า รอยแตกเหล่านั้น อาจจะส่งผลลามขึ้นมาที่ชั้นคอนกรีตเททับหน้าในภายหลังได้ จึงควรใส่ตะแกรงเหล็กเสริมปริมาณ พอเหมาะเพื่อยึดรอยแตกที่อาจเกิดขึ้นให้เข้าด้วยกัน

2. วัสดุเชื่อมประสาน (Bonding Grout) วัสดุเชื่อม สำ หรับการเททับหน้าแบบมีการเชื่อมประสาน
(Bonded Overlay) สามารถใช้ปูนทรายที่ผสมด้วย สัดส่วน ปูนปอร์ตแลนด์ประเภทที่หนึ่ง 1 ส่วน ทราย 1ส่วน น้ำ ½ ส่วน (โดยน้ำหนัก) ผสมให้เข้ากันเป็นครีม ข้น เทบนพื้นคอนกรีตเดิมบางๆ ก่อนจะเทคอนกรีตทับหน้าลงไป สำหรับพื้นที่ใช้งานหนัก เช่น พื้นที่ จอดรถ หรือพื้นโรงงาน ควรผสมวัสดุเชื่อมประสานด้วยลาเทกซ์ (Latex) หรือ อีพ๊อกซี่ (Epoxy modified) ลงไปด้วย เพื่อเพิ่มกำลังแรงแรงดึงของวัสดุเชื่อมประสาน ทำให้การยึดเชื่อมประสานของพื้นเดิมกับ คอนกรีตเททับหน้า มีความแข็งแรงมากขึ้น


3. ส่วนผสมคอนกรีต คอนกรีตที่ใช้เททับหน้าจะต้องมี อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน (Water to binder ratio)
ต่ำ เพื่อให้คอนกรีตเททับหน้ามีกำลังอัดที่สูง สามารถ รับการขัดสีได้ดี มักใช้หินขนาดโตสุดตั้งแต่ 1- 3/8นิ้ว (25-10 มิลลิเมตร) โดยขึ้นกับความหนาของพื้นที่ เททับหน้า การหดตัว (Shrinkage) ของคอนกรีตที่เททับบนคอนกรีตแข็งตัวและแห้งทำให้เกิดการแตกร้าว (Cracking) ของคอนกรีตเททับหน้าได้มาก ในกรณีที่ไม่มีวัสดุปูทับควรใช้คอนกรีตที่มีอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุ ประสาน (Water to binder ratio) ไม่เกิน 0.40-0.45

ปูนซิเมนต์ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 360 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์ เมตร สามารถใช้น้ำ ยาลดน้ำ อย่างมาก (Super plasticizer) เพื่อลดน้ำที่ใช้ในการผสมคอนกรีตได้ ค่ายุบตัว (Slump) ที่เหมาะสมของคอนกรีต ควรมีค่าไม่เกิน 12.5 เซนติเมตร สำหรับคอนกรีต ทั่วไป กรณีผสมน้ำ ยาลดน้ำ อย่างมาก (Super plasticizer) ควรระมัดระวังไม่ให้คอนกรีตเหลวเกินไป เนื่องจากจะเกิดการแยกตัวของคอนกรีต ทำให้มีมอร์ ต้าร์ลอยขึ้นมาที่ผิวหน้ามาก ส่งผลให้การรับแรงขัดสี และความแข็งแกร่งของพื้นคอนกรีตทับหน้าต่ำลง


4. การทำรอยต่อ (Jointing) ถ้าหากพื้นคอนกรีตเททับ หน้า มีการปูวัสดุปิดทับหน้าในภายหลัง เช่น กระเบื้อง
ยาง ซึ่งหากมีรอยแตกร้าวเกิดขึ้นที่คอนกรีตเททับหน้า แล้วไม่ส่งผลต่อวัสดุที่ปิดทับหน้านั้นๆ อาจไม่จำเป็นต้องทำรอยต่อก็ได้ แต่สำหรับพื้นที่ไม่มีการปิด ทับหน้าให้ทำรอยต่อระหว่างแผ่นพื้น (Contractionjoint) เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการแตกร้าวกระจายทั่วไป บนพื้นคอนกรีตที่เททับหน้า การทำรอยต่อระหว่างแผ่นพื้น (Contraction joint) ควรทำให้อยู่ในแนวเดียวกับพื้นคอนกรีตเดิม เพื่อให้พื้นส่วนบน ที่เป็นคอนกรีตเททับห น้า(Overlay) และส่วนล่าง เคลื่อนตัวไปด้วยกัน รอยต่อนี้ ให้ตัดทะลุตลอดความหนาของพื้นคอนกรีตที่เทใหม่
(Overlay) เพื่อให้มั่นใจว่ารอยต่อของส่วนที่เททับหน้า กับรอยต่อของพื้นเดิมข้างใต้มีแนวตรงกัน ระยะเวลาการตัดรอยต่อ (Saw Cut) ควรทำทันทีหลังจาก คอนกรีตแข็งตัวแล้ว การตัดรอยต่อที่ช้าเกินไปทำให้เกิดการแตกร้าวขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเทคอนกรีตทับ หน้าที่มีการหดตัวสูง เช่น ใช้ปูนซีเมนต์ในปริมาณสูงเป็นต้น ในบริเวณที่มีการยึดรั้งจากโครงสร้างที่ติด แน่นไม่เคลื่อนตัว เช่น เสา ผนัง จะต้องทำรอยต่อระหว่างพื้นกับเสา หรือผนัง (Isolation joint) ตาม มาตรฐานที่กำหนดไว้เสมอ หากโครงสร้างเดิมมีการทำรอยต่อเพื่อการขยายตัว (Expansion joint) พื้น คอนกรีตที่เททับหน้าใหม่ (Overlay) จะต้องทำรอยต่อในลักษณะเดียวกันด้วย หลังจากทำรอยต่อแล้ว จะต้องอุดรอยต่อด้วย วัสดุยาแนว (Joint filling) ที่ผลิตมาเฉพาะ เพื่อไม่ให้ รอยต่อที่ทำไว้เกิดการบิ่นของขอบรอยต่อหลังจากใช้ งานแล้ว ประเภทของวัสดุยาแนวให้ปรึกษาจากผู้ผลิต

ให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานของพื้นด้วยการเท คอนกรีตทับหน้าบนพื้นเดิม เสมือนกับการทำพื้น คอนกรีตใหม่ ดังนั้น การทำรอยต่อระหว่างแผ่นพื้น (Contraction Joint) และรอยต่อระหว่างพื้นกับเสาหรือกำแพง (Isolation Joint) ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่ กำหนดไว้ทุกประการ กรณีที่เทคอนกรีตทับหน้าหนา10 เซนติเมตร รอยต่อที่ทำใหม่บนคอนกรีตเททับหน้า จะต้องอยู่ในแนวเดียวกับรอยต่อของพื้นเดิมข้างล่างเพื่อป้องกันการแตกร้าวที่ส่งผลจากรอยต่อของพื้นเดิม ด้านล่าง


5. เหล็กเสริม (Reinforcement)

5.1 การเททับหน้าแบบเชื่อมประสาน สมบูรณ์ (Fully Bonded Overlay) ในกรณีที่มีการเท
ทับหน้าคอนกรีตประเภทนี้ หากความหนาของ คอนกรีตเททับหน้ามีความหนาไม่มากจะไม่นิยมใส่เหล็กเสริมบนคอนกรีตที่เททับใหม่

5.2 การเททับหน้าแบบเชื่อมประสาน
บางส่วน (Partially Bonded Overlay) และ การเททับ หน้าแบบไม่เชื่อมประสาน (Unbonded Overlay) การใส่เหล็กเสริมสำ หรับการเททับหน้าประเภทนี้ มีวัตถุประสงค์ เหมือนกับการก่อสร้างพื้นทั่วไป คือเพื่อยึดรอยแตกที่เกิดที่เกิดขึ้นให้ประสานชิดกัน ทำให้รอยแตกไม่กว้างมากจนเป็นปัญหาต่อการใช้งานหรือต่อการบำรุงรักษาในภายหลัง ปริมาณเหล็กเสริมให้ใช้อยู่ในช่วง 0.1-0.15 % ของพื้นหน้าหน้าตัดของพื้นที่เททับหน้า เหล็กเสริมที่ใส่ให้หยุดที่รอยต่อที่ทำไว้ โดยไม่วางเหล็กผ่านรอยต่อ เพื่อให้รอยต่อสามารถเคลื่อนตัวได้เต็มที่ตำแหน่งของเหล็กเสริมที่ใส่ให้อยู่ในระดับ 5.0 เซนติเมตร จากผิวหน้าพื้นที่เททับหน้าด้วย ปริมาณเหล็กเสริมและตำแหน่งที่วางเหล็กพอเหมาะ จะสามารถควบคุมความกว้างของรอยแตกให้อยู่ใน ระดับที่น่าพอใจ

คอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนผสมเสร็จ ปูนน้ำ สลั๊มปั๊ม คอนกรีตสำเร็จ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน ราคาถูก!!ผู้ผลิต-จำหน่าย-ขาย บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตสำเร็จ ปูนผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนน้ำ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน หล่อเสา ปูนกันซึม คอนกรีตสลั๊มปั๊ม เข็มเจาะ แพล้นปูน บางพูน ลำลูกกา ธัญบุรี ปทุมธานี มีนบุรี ถนนนิมิตใหม่ รามอินทรา สายไหม เอกชัย พระราม2 คลองหลวง รังสิต นวนคร บางเขน นนทบุรี บางซื่อ บางขุนเทียน บางมด ตลิ่งชัน สุขุมวิท พระราม9 ปทุมวัน ลาดกระบัง นวมินทร์ บางแค บางปู สมุทรปราการ บางนา ท่าพระ ราษฏร์บูรณะ กทม.ราคาถูก รถโม่เล็ก รถโม่ใหญ่

บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนตราช้าง งานคุณภาพผลิตตรงจากแพล้นคอนกรีต สนใจติดต่อสั่งซื้อได้ที่ 02-181-0288 หรือ 02-181-0188 ติดต่อมือถือ 089-797-3536
Back To Top