การเกิดฝุ่นที่ผิวหน้าคอนกรีต…มีสาเหตุมาจากอะไร จะแก้ปัญหาได้โดยวิธีไหน

การเกิดฝุ่นที่ผิวหน้าคอนกรีต เป็นการสะสมของวัสดุที่มีลักษณะเป็นผงหรืออนุภาคขนาดเล็กอยู่ที่บริเวณผิวหน้าของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับโครงสร้างคอนกรีตประเภทพื้นและผิวถนน โดยจะเกิดภายหลังจากการใช้งานหรือถูกขัดสีไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง

สาเหตุที่ทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตเป็นฝุ่น
ฝุ่นที่ผิวหน้าคอนกรีตมีสาเหตุมาจากการที่ผิวหน้าคอนกรีตมีความอ่อนแอ ไม่สามารถต้านทานการขัดสีซึ่งเกิดขึ้นโดยปกติหรืออาจถูกขีดข่วนด้วยวัสดุที่มีความแข็งหรือจากการกวาดพื้น อนุภาคของส่วนละเอียดที่ไม่มีแรงยึดเหนี่ยวกับคอนกรีต ทำให้อนุภาคของส่วนละเอียดนี้หลุดร่อนออกมา โดยมีสาเหตุหลักดังนี้

การเลือกใช้คอนกรีตไม่ถูกกับประเภทของงาน เช่น เลือกใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดต่ำเกินไป และมีความสามารถต้านการขัดสีได้น้อย
มีปริมาณน้ำในส่วนผสมคอนกรีตที่มากเกินไปหรือมีการเติมน้ำที่หน้างาน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเยิ้มน้ำขึ้นที่ผิวหน้าคอนกรีต ซึ่งทำให้อัตราส่วนระหว่างน้ำและวัสดุประสานที่ผิวหน้าคอนกรีตสูงขึ้นมาก ทำให้ความทนต่อการขัดสีลดลงอย่างมาก
การแต่งผิวหน้าคอนกรีตที่เร็วเกินไป ทำให้น้ำที่จะเยิ้มขึ้นมาที่ผิวหน้าถูกดันกลับเข้า ไปในเนื้อคอนกรีตขณะแต่งผิว ซึ่งก็ทำให้อัตราส่วนระหว่างน้ำและวัสดุเชื่อมประสานที่ผิวหน้าคอนกรีตสูงขึ้นมาก
น้ำส่วนเกินจากการแต่งผิวหน้าคอนกรีต จากการฉีดพรมน้ำลงบนพื้นเพื่อเพิ่มความสะดวก ในการขัดหน้า
ไม่มีการป้องกันคอนกรีตที่ยังไม่แข็งตัวขณะฝนตก
การเทคอนกรีตบนพื้นดินที่มีการดูดซับต่ำหรือมีการปูแผ่นพลาสติก ทำให้ปริมาณน้ำที่เยิ้มขึ้นมากที่ผิวหน้ามากกว่าปกติ
การเกิดคาร์บอเนชั่น (Carbonation) ท่ีผิวหน้าเนื่องจากไม่มีอากาศถ่ายเทและมีก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์สูง
แต่สาเหตุที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมาจากสองข้อแรก คือการเลือกใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดต่ำหรือปานกลางมาใช้สำหรับเทงานถนนหรืองานพื้น (กำลังอัด 180-240 กก./ตร.ซม.) ซึ่งมีความสามารถต้านการขัดสีน้อยอยู่แล้ว และการเติมน้ำที่หน้างานเพื่อเพิ่ม ความสะดวกในการเทคอนกรีต ซึ่งจะส่งผลให้คอนกรีตมีความสามารถต้านการขัดสีลดลงไปอีก หากมีการขัดหน้าที่ไม่ถูกวิธีเพิ่มขึ้นมาอีกผิวหน้าก็จะเกิดเป็นฝุ่นอย่างแน่นอน

การป้องกันการเกิดเป็นฝุ่นที่ผิวหน้าของคอนกรีตจากสาเหตุหลักที่กล่าวมาทั้ง 7 ข้อ ควรเริ่มจากการใช้ คอนกรีตให้ถูกประเภทซึ่งควรมีกำลังอัดอย่างต่ำ 280 กก./ตร.ซม. (ใช้ตัวอย่างทรงกระบอก มาตรฐาน Ø 15 x 30 ซม.) โดยดูจากปริมาณของปูนซีเมนต์และวัสดุประสานอื่นๆ เป็นหลักว่าควรมีปริมาณ 330 กก./ลบ.ม. อย่างต่ำ หากเป็นส่วนผสมที่มีเถ้าลอยรวมอยู่ด้วย ปริมาณของเถ้าลอยไม่ควรเกินร้อยละ 20 ของวัสดุประสานทั้งหมด

การมีเถ้าลอยในส่วนผสมนั้น ยิ่งมีปริมาณมากก็ยิ่งส่งผลให้คอนกรีตพัฒนากำลังอัดได้ช้าลง ซึ่งไม่เหมาะสมกับพฤติกรรมการก่อสร้างของประเทศไทยที่ต้องการใช้งานของตัวโครงสร้างเร็ว และหลีกเลี่ยงการเติมน้ำหน้างานในรถโม่ อีกทั้งควบคุมการขัดผิวหน้าให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ไม่ใช้วิธีสาดปูนเพื่อซับน้ำที่เยิ้มขึ้นมาที่ผิวหน้า แต่ควรใช้วิธีการอื่นในการซับน้ำ หากเทคอนกรีตกลางแจ้งในช่วงฤดูฝนก็ควรมีการป้องกันน้ำฝนไม่ให้สัมผัสกับผิวหน้า ส่วนการปูแผ่นพลาสติกและการเกิดคาร์บอเนชั่นนั้นไม่ค่อยเป็นปัญหาสำหรับประเทศไทย

ข้อสรุปและการแก้ไขปัญหา
ปัญหาการเกิดฝุ่นที่ผิวหน้าคอนกรีตนั้นสามารถป้องกันได้ไม่ยาก แต่เป็นปัญหาที่พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศ เนื่องจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเทคอนกรีตขาดความรู้ความเข้าใจในวิชาการคอนกรีตและวิธีการก่อสร้าง การป้องกันการใช้คอนกรีตผิดประเภทสามารถทำได้ตั้งแต่ขั้นตอนการสั่งคอนกรีต ผู้ผลิตคอนกรีตควรสอบถามผู้บริโภคถึงลักษณะของโครงสร้างและการใช้งาน หากพบว่าเป็นงานพื้นหรืองานถนนก็ควรแนะนำลูกค้าสั่งคอนกรีตที่มีความทนต่อการขัดสีดีกว่า และให้ความรู้แก่ผู้บริโภคด้านผลของการเติมน้ำ และอาจรวมถึงวิธีขัดมันที่ถูกต้อง


การซ่อมแซมผิวหน้าคอนกรีตที่เป็นฝุ่น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยาก หากชั้นที่เกิดการหลุดล่อนเป็นฝุ่นไม่หนามากนัก (0.5-1.5มม.) ก็อาจแก้ไขได้โดยการขัดชั้นผิวนั้นออก ซึ่งถ้าไม่ลึกมากก็สามารถใช้แปรงลวดขัดออกได้ แต่ถ้าลึกพอสมควรอาจต้องใช้เครื่องขัดประเภทเดียวกับรถกวาดถนนของกรุงเทพฯ หรือหากผิวหน้าไม่หลุดล่อนเป็นแผ่นและคอนกรีตมีอายุ 28 วันขึ้นไปก็อาจใช้สารเคมีจำพวก Sodium Cilicate หรือ Magnesium Fluoro-Silicate ซึ่งจะทำปฏิกิริยาทางเคมีกับแคลเซียมไฮดรอกไซด์และเกิดวัสดุประสานทำให้เพิ่มความแข็งแกร่งที่ผิวหน้าได้ การใช้ Epoxy Sealers หรือ Cement Paint ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งแต่ราคาจะแพงมาก สำหรับชั้นผิวที่หนากว่า 2 มม. อาจแก้ไขโดยการทำการขัด ผิวหน้าแบบเปียก (Wet Grinding) เพื่อลอกชั้นที่อ่อนแอออกจนกระทั่งเห็นเม็ดหิน ซึ่งโดยทั่วไปต้องขัดลึกประมาณ 3 มม. หรือ เททับหน้าใหม่ (Topping or Overlaying) โดยการสกัดเอาส่วนผิวหน้าที่อ่อนแอออกแล้วจึงทำการเททับเพื่อปรับระดับให้ได้ตามที่ต้องการ สำหรับบ้านพักอาศัยอาจเลือกการใช้วัสดุตกแต่งปิดทับผิวหน้าคอนกรีตได้เลย อาทิ พรม หรือกระเบื้อง

https://goo.gl/NkDWb3
คอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนผสมเสร็จ ปูนน้ำ สลั๊มปั๊ม คอนกรีตสำเร็จ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน ราคาถูก!!ผู้ผลิต-จำหน่าย-ขาย บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตสำเร็จ ปูนผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนน้ำ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน หล่อเสา ปูนกันซึม คอนกรีตสลั๊มปั๊ม เข็มเจาะ แพล้นปูน บางพูน ลำลูกกา ธัญบุรี ปทุมธานี มีนบุรี ถนนนิมิตใหม่ รามอินทรา สายไหม เอกชัย พระราม2 คลองหลวง รังสิต นวนคร บางเขน นนทบุรี บางซื่อ บางขุนเทียน บางมด ตลิ่งชัน สุขุมวิท พระราม9 ปทุมวัน ลาดกระบัง นวมินทร์ บางแค บางปู สมุทรปราการ บางนา ท่าพระ ราษฏร์บูรณะ กทม.ราคาถูก รถโม่เล็ก รถโม่ใหญ่

บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนตราช้าง งานคุณภาพผลิตตรงจากแพล้นคอนกรีต สนใจติดต่อสั่งซื้อได้ที่ 02-181-0288 หรือ 02-181-0188 ติดต่อมือถือ 089-797-3536
Back To Top