บรรยากาศในหน้าร้อนที่กำลังจะเข้าหน้าฝนซึ่งบางพื้นที่ก็ได้รับความชุ่มฉ่ำที่สาดเทลงมาของสายฝนไปบ้างแล้วและยิ่งหากกระหน่ำเทลงมามากเพียงใด บริเวณบ้านที่เป็นพื้นดิน เช่น บริเวณทางเดินเข้าบ้าน ก็อาจเกิดน้ำท่วมขัง เฉอะแฉะ ไปซะหมด ไม่สะดวกต่อการประกอบกิจวัตรประจำวัน
ส่วนมากจึงได้ป้องกันและแก้ปัญหาเหล่านี้ ด้วยการราดหรือเทพื้นในบริเวณทางเดินหรือบริเวณที่ก่อให้เกิดความไม่สะดวกในหน้าฝน ด้วยปูนซีเมนต์หรือทำเป็นพื้นคอนกรีตเพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วมขังได้
ดังนั้นการเลือกใช้ พื้นคอนกรีต ที่ในการก่อสร้างบ้าน ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ พื้นคอนกรีตแบบหล่อในที่ และพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ซึ่งก็มีลักษณะการใช้งาน รูปแบบและกรรมวิธีเพื่อความคงทนในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป จำเป็นที่จะต้องศึกษากันให้ดีเสียก่อน อย่างเช่น พื้นคอนกรีตแบบหล่อในที่ เป็นประเภทที่ต้องทำแบบหล่อขึ้นมาเสียก่อนแล้วค่อยจัดเรียงเหล็กเสริมลงไปก่อนที่จะเทคอนกรีตแล้วก็บ่มให้ได้กำลังตามที่ต้องการจากนั้นจึงค่อยถอดแบบออกมา ซึ่งในส่วนนี้ก็จะมีผลผลิตออกมาที่สามารถแบ่งย่อยให้เห็นความแตกต่างและวิธีการใช้งานออกไปอีก 2 แบบ เป็นพื้นหล่อในที่วางบนดินและพื้นหล่อในที่วางบนคาน
โดยพื้นหล่อในที่วางบนดินนั้น จะใช้วิธีการวางเอาไว้บนดินโดยตรง ส่วนใหญ่จะเลือกไช้กับบริเวณบ้านที่ยอมให้มีการทรุดตัว เช่น บริเวณลานซักล้าง บริเวณถนน และที่จอดรถ เป็นต้น ส่วนพื้นที่วางบนคาน จะใช้กับส่วนของบ้านที่ป้องกันการทรุดตัว ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ก็อาจทำให้ผนังเกิดการแตกร้าว ประตูบิดเบี้ยว โก่ง งอได้ ต้องมาเสียเงินเสียทองแก้ปัญหากันอีกไม่จบไม่สิ้น และหากท่านใดที่ต้องการเลือกใช้เป็นพื้นหล่อในที่วางบนดินก็สามารถเลือกหามาใช้ได้ แต่จะมีราคาค่อนข้างแพงกว่าพื้นวางบนคาน ดังนั้นการเลือกใช้พื้นดังกล่าวจึงต้องใส่ใจในเรื่อง การบด อัดดินให้แน่น เพราะหากไม่ใส่ใจในกระบวนการตรงนี้ให้มากเป็นพิเศษ ผลกระทบที่ตามมา ก็คือ เกิดการทรุดตัวของพื้นและเกิดเป็นรอยแตกร้าวได้เหมือนอย่างที่หลายๆ ท่านกำลังประสบพบเจอกันอยู่ในปัจจุบัน
สุดท้ายคือ พื้นสำเร็จรูป เป็นพื้นที่หล่อสำเร็จเสร็จเรียบร้อยมาจากโรงงานแล้ว โดยมีขนาด รูปร่าง และความยาวตามที่โรงงานกำหนด ซึ่งขั้นตอนในการก่อสร้างก็เริ่มมาจากการหล่อคานขึ้นมาเสียก่อน แล้วนำพื้นสำเร็จรูปมาติดตั้งพาดบนคานตามแนวที่กำหนด
จากนั้นปูตะแกรงเหล็กเสริม แล้วเทคอนกรีตทับหน้าลงไปในขั้นตอนสุดท้ายเป็นอันเสร็จเรียบร้อย ดังนั้น พื้นสำเร็จรูป จึงสามารถก่อสร้างได้เร็วกว่าพื้นหล่อในที่และยังมีน้ำหนักเบาสะดวกต่อการก่อสร้างและขนย้ายกว่าแต่ก็ยังมีข้อเสีย คือ ไม่เหมาะกับการตกแต่งในบริเวณบางส่วนของพื้นที่บ้าน โดยเฉพาะในบริเวณบ้านที่เกิดการรั่วซึมและมีน้ำขังได้ง่าย เช่น ดาดฟ้า ห้องน้ำ ระเบียงบ้านหรืออาคาร เป็นต้นครับ
ที่มา:
http://www.planban.net/construction-management/267-2008-09-13-02-36-13.html
ส่วนมากจึงได้ป้องกันและแก้ปัญหาเหล่านี้ ด้วยการราดหรือเทพื้นในบริเวณทางเดินหรือบริเวณที่ก่อให้เกิดความไม่สะดวกในหน้าฝน ด้วยปูนซีเมนต์หรือทำเป็นพื้นคอนกรีตเพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วมขังได้
ดังนั้นการเลือกใช้ พื้นคอนกรีต ที่ในการก่อสร้างบ้าน ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ พื้นคอนกรีตแบบหล่อในที่ และพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ซึ่งก็มีลักษณะการใช้งาน รูปแบบและกรรมวิธีเพื่อความคงทนในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป จำเป็นที่จะต้องศึกษากันให้ดีเสียก่อน อย่างเช่น พื้นคอนกรีตแบบหล่อในที่ เป็นประเภทที่ต้องทำแบบหล่อขึ้นมาเสียก่อนแล้วค่อยจัดเรียงเหล็กเสริมลงไปก่อนที่จะเทคอนกรีตแล้วก็บ่มให้ได้กำลังตามที่ต้องการจากนั้นจึงค่อยถอดแบบออกมา ซึ่งในส่วนนี้ก็จะมีผลผลิตออกมาที่สามารถแบ่งย่อยให้เห็นความแตกต่างและวิธีการใช้งานออกไปอีก 2 แบบ เป็นพื้นหล่อในที่วางบนดินและพื้นหล่อในที่วางบนคาน
โดยพื้นหล่อในที่วางบนดินนั้น จะใช้วิธีการวางเอาไว้บนดินโดยตรง ส่วนใหญ่จะเลือกไช้กับบริเวณบ้านที่ยอมให้มีการทรุดตัว เช่น บริเวณลานซักล้าง บริเวณถนน และที่จอดรถ เป็นต้น ส่วนพื้นที่วางบนคาน จะใช้กับส่วนของบ้านที่ป้องกันการทรุดตัว ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ก็อาจทำให้ผนังเกิดการแตกร้าว ประตูบิดเบี้ยว โก่ง งอได้ ต้องมาเสียเงินเสียทองแก้ปัญหากันอีกไม่จบไม่สิ้น และหากท่านใดที่ต้องการเลือกใช้เป็นพื้นหล่อในที่วางบนดินก็สามารถเลือกหามาใช้ได้ แต่จะมีราคาค่อนข้างแพงกว่าพื้นวางบนคาน ดังนั้นการเลือกใช้พื้นดังกล่าวจึงต้องใส่ใจในเรื่อง การบด อัดดินให้แน่น เพราะหากไม่ใส่ใจในกระบวนการตรงนี้ให้มากเป็นพิเศษ ผลกระทบที่ตามมา ก็คือ เกิดการทรุดตัวของพื้นและเกิดเป็นรอยแตกร้าวได้เหมือนอย่างที่หลายๆ ท่านกำลังประสบพบเจอกันอยู่ในปัจจุบัน
สุดท้ายคือ พื้นสำเร็จรูป เป็นพื้นที่หล่อสำเร็จเสร็จเรียบร้อยมาจากโรงงานแล้ว โดยมีขนาด รูปร่าง และความยาวตามที่โรงงานกำหนด ซึ่งขั้นตอนในการก่อสร้างก็เริ่มมาจากการหล่อคานขึ้นมาเสียก่อน แล้วนำพื้นสำเร็จรูปมาติดตั้งพาดบนคานตามแนวที่กำหนด
จากนั้นปูตะแกรงเหล็กเสริม แล้วเทคอนกรีตทับหน้าลงไปในขั้นตอนสุดท้ายเป็นอันเสร็จเรียบร้อย ดังนั้น พื้นสำเร็จรูป จึงสามารถก่อสร้างได้เร็วกว่าพื้นหล่อในที่และยังมีน้ำหนักเบาสะดวกต่อการก่อสร้างและขนย้ายกว่าแต่ก็ยังมีข้อเสีย คือ ไม่เหมาะกับการตกแต่งในบริเวณบางส่วนของพื้นที่บ้าน โดยเฉพาะในบริเวณบ้านที่เกิดการรั่วซึมและมีน้ำขังได้ง่าย เช่น ดาดฟ้า ห้องน้ำ ระเบียงบ้านหรืออาคาร เป็นต้นครับ
ที่มา:
http://www.planban.net/construction-management/267-2008-09-13-02-36-13.html
Tag :
พื้นคอนกรีต