ประเภทของโครงสร้าง
|
ค่าการยุบตัว ( ซม.)
|
|
ค่าสูงสุด
|
ค่าต่ำสุด
|
|
งานฐานราก กำแพง คอนกรีตเสริมเหล็ก
|
8.0
|
2.0
|
งานฐานรากคอนกรีตไม่เสริมเหล็ก งานก่อสร้างใต้น้ำ
|
8.0
|
2.0
|
งานพื้น คาน และผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก
|
10.0
|
2.0
|
งานเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก
|
10.0
|
2.0
|
งานพื้นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก
|
8.0
|
2.0
|
งานคอนกรีตขนาดใหญ่
|
5.0
|
2.0
|
ค่าการยุบตัวของคอนกรีต มีผลต่อความสามารถในการเทได้ Workability มีผลต่อความแข็งแรงของคอนกรีตโดยยิ่งมีค่าการยุบตัวน้อยความแข็งแรงยิ่งสูงขึ้น เป็นการควบคุมปริมาณน้ำไม่ให้มีมากจนเกิดการแยกตัว และเกิดทางน้ำเยิ้มสู่ผิวซึ่งจะทำให้เนื้อคอนกรีตเป็นโพรงเล็ก ทำให้ความแข็งแรงต่ำลง และอาจเกิดเป็นตามด ก่อให้เกิดการรั่วซึมถ้าคอนกรีตนั้นเป็นถังน้ำ หรือหลังคาดาดฟ้า
ทั้งนี้ไม่รวมคอนกรีตสด Fresh Concrete ที่ผสมสารเคมีผสมเพิ่มพวก Fly Ash ; Hydrated Lime ; Bentonite ซึ่งสารเหล่านี้จะช่วยให้เทคอนกรีตได้ง่ายขึ้น และช่วยป้องกันการเกิดการเยิ้มที่ผิวหน้าของคอนกรีต
การทดสอบค่าการยุบตัวของคอนกรีต ทดสอบได้โดยวิธี Slump Test ซึ่งวิศวกรต่างรู้จักกันดี แต่เชื่อเถอะยังมีอีกหลายคน ยังจำไม่ได้ว่าจะต้องทำอย่างไร
วิธีการทดสอบไม่ยาก ขั้นแรกเก็บตัวอย่างใส่รถเข็น มาซักคันหนึ่ง เหยียบ Slumpให้แน่น ประมาณความสูงแบ่งเป็นสามส่วน แล้วใส่คอนกรีตทีละส่วน กระทุ้งด้วยเหล็กกระทุ้ง ขนาดRB16 ยาว 60 ซม.ปลายมน ส่วนละ 25 ครั้ง ความลึกของการกระทุ้ง กะประมาณให้ลึกลงไปครึ่งหนึ่งของชั้นถัดลงไป กระจายให้ทั่วบริเวณ ครบสามชั้นแล้วปาดผิวหน้าเรียบ ยก Slump ขึ้นตรงๆ วางข้างๆตัวอย่าง ใช้เหล็กกระทุ้งพาดปาก Slump แล้ววัดจากท้องเหล็กมาที่ส่วนบนของตัวอย่าง ใช้ได้หรือไม่ได้ดูมาตรฐานที่ตาราง
Tag :
โครงสร้างของอาคาร