การเกิดผิวหน้าคอนกรีตปูดพอง (Concrete Blisters)

                 การเกิดการปูดพอง (Blisters) บริเวณผิวหน้าคอนกรีตจริงๆ แล้วคือโพรงอากาศที่ถูกกักไว้ภายใต้ผิวหน้าของคอนกรีต ซึ่งจะทำให้บริเวณผิวหน้าคอนกรีตมีลักษณะตะปุ่มตะป่ำมีขนาดตั้งแต่เท่าเหรียญห้าสิบสตางค์ไปจนถึงขนาด 1 นิ้ว แต่บางครั้งอาจจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 2-3 นิ้ว ก็เป็นไปได้  ในขั้นตอนการแต่งผิวหน้าคอนกรีตถ้าใช้เกรียงปาดผิวหน้าคอนกรีตซ้ำไปซ้ำมามากๆ

              ชั้นของมอร์ต้าบางๆ ซึ่งมีความหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร  ก็จะกักฟองอากาศให้อยู่ข้างใต้นั้น โดยการเกิดผิวหน้าปูดพองมักจะเกิดขึ้นภายหลังการแต่งผิวหน้าคอนกรีตไม่นานนัก เป็นการยากมากที่จะสังเกตเห็นการเกิดผิวหน้าปูดพองที่มีขนาดเล็กๆ ในการเทคอนกรีตในสถานที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ ซึ่งส่วนใหญ่จะทราบก็ต่อเมื่อพบว่าผิวหน้าคอนกรีตเกิดความเสียหายแล้ว




สาเหตุของการเกิดผิวหน้าคอนกรีตปูดพอง 

    ผิวหน้าคอนกรีตปูดพองจะเกิดขึ้นที่ผิวหน้าในขณะที่คอนกรีตยังไม่แข็งตัว โดยจะเกิดขึ้นเนื่องจากฟองอากาศที่ถูกกักเอาไว้ หรือเกิดจากน้ำที่เยิ้มขึ้นมา (Bleeding) บริเวณผิวหน้าของคอนกรีตแต่ได้ถูกกักเอาไว้เนื่องจากการแต่งผิวหน้าคอนกรีตก่อนเวลาอันควร โดยการเกิดผิวหน้าคอนกรีตปูดพองโดยทั่วไปมักจะเกิดขึ้นจากปัจจัยเหล่านี้

    1. การจี้เขย่าคอนกรีตที่น้อยเกินไปหรือมากจนเกินไป  โดยการจี้เขย่าที่น้อยเกินไปนั้นจะทำให้ฟองอากาศยังคงอยู่ภายในเนื้อคอนกรีต ส่วนการจี้เขย่าที่มากจนเกินไปนั้นอาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่องเขย่าชนิดวางบนผิวคอนกรีต (vibrating screeds)  ถ้าเขย่ามากเกินไปจะทำให้มอร์ต้าลอยขึ้นมาอยู่บริเวณผิวหน้าของคอนกรีตเป็นจำนวนมาก

    2. การใช้เครื่องมือที่ไม่เหมาะสมกับการแต่งผิวหน้าคอนกรีตให้เรียบ หรือการใช้อย่างไม่ถูกวิธี โดยควรมีการทดสอบปาดหน้าคอนกรีตด้วยเกรียงที่ทำจากวัสดุต่างๆ โดยเกรียงที่เลือกใช้ควรเรียบไม่ขรุขระ

    3. ในสภาวะอากาศที่ร้อน ลมแรง ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ จะทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตสูญเสียน้ำออกไปอย่างรวดเร็วจนทำให้ผิวหน้าแข็งจนสามารถแต่งผิวหน้าคอนกรีตได้ (ขณะที่ในความเป็นจริงยังต้องรอ)  แต่ภายในเนื้อคอนกรีตยังไม่แข็งตัวดี ลักษณะเช่นนี้จะเป็นการปิดกั้นน้ำและฟองอากาศที่จะลอยขึ้นสู่ผิวหน้าของคอนกรีต

    4. การใช้คอนกรีตที่ผสมสารกักกระจายฟองอากาศหรือการใช้ปริมาณมากกว่าปกติ ซึ่งอัตราการเยิ้มและปริมาณของน้ำที่เยิ้ม จะลดลงอย่างมากเมื่อใส่สารกักกระจายฟองอากาศในคอนกรีต จึงอาจเป็นสาเหตุของการแต่งผิวหน้าคอนกรีตก่อนเวลาอันควร

    5. ชั้นของดินที่รองรับมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณภูมิอากาศมาก สภาพเช่นนี้จะทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตแข็งตัวเร็วกว่าด้านล่างจึงทำให้เกิดการแต่งผิวหน้าคอนกรีตก่อนเวลาอันควร

    6. ความหนาของพื้นจะเป็นตัวกำหนดช่วงเวลาของการเยิ้มน้ำและฟองอากาศที่จะขึ้นมาที่ผิวหน้า ฉะนั้นพื้นที่หนาๆ ก็จะใช้เวลาที่นานกว่าระยะเวลาที่เคยทำงานตามปกติ

    7. คอนกรีตที่มีความข้นเหลว (Slump) ต่ำๆ เนื่องจากมีปริมาณวัสดุประสานหรือใช้ทรายที่ละเอียดมากๆ จะทำให้มีอัตราการเยิ้มน้อยหรือเกิดขึ้นช้า กลับกันถ้าส่วนผสมคอนกรีตที่ใช้ปริมาณวัสดุประสานต่ำจะทำให้เกิดการเยิ้มอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาที่สั้นกว่า สำหรับคอนกรีตที่มีแนวโน้มที่จะมีอัตราการเยิ้มช้าจะต้องยืดเวลาการแต่งผิวหน้าออกไป

    8. การสาดปูนซีเมนต์ผงลงบนผิวหน้าคอนกรีตเพื่อทำการขัดหน้านั้นเป็นการแต่งผิวหน้าคอนกรีตโดยทำเร็วกว่าเวลาอันสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรทำในคอนกรีตที่ผสมสารกักกระจายฟองอากาศ

    9. การเทคอนกรีตโดยตรงบนวัสดุกันน้ำหรือที่รองรับที่น้ำไม่สามารถซึมผ่านได้นั้น จะทำให้น้ำที่เยิ้มขึ้นมาบนผิวหน้าคอนกรีตมากขึ้น เนื่องจากชั้นดินที่รองรับไม่สามารถดูดซึมน้ำในคอนกรีตบางส่วนไว้ได้


วิธีการป้องกันการเกิดผิวหน้าคอนกรีตปูดพอง 
    1. ควรใช้ความระมัดระวังในการแต่งผิวหน้าคอนกรีตเพิ่มมากขึ้น เพราะบางครั้งผิวหน้าของคอนกรีตอาจดูเหมือนพร้อมสำหรับการแต่งผิวหน้าได้ก่อนเวลาปกติที่สามารถทำได้ อีกทั้งไม่ควรปาดหน้าคอนกรีตซ้ำไปซ้ำมาจนมอร์ต้าลอยขึ้นมาอยู่บริเวณผิวหน้ามากเกินไป

    2. ในสภาวะอากาศที่มีอัตราการระเหยสูงถ้ายังไม่สามารถแต่งผิวหน้าคอนกรีตได้ภายหลังจากที่เทคอนกรีตเสร็จแล้ว ให้คลุมผิวหน้าด้วยพลาสติกหรือวัสดุกันน้ำอื่นๆ ไว้ในช่วงระหว่างที่รอ เพื่อป้องกันน้ำที่ผิวหน้าระเหยออกเร็วเกินไป โดยเหลือเปิดไว้เฉพาะส่วนที่คาดว่ายังเกิดการเยิ้มอยู่  

   3. ในการปาดผิวหน้าให้เรียบด้วยแปรงปาด ควรเลือกใช้ใบปาดที่มีความเรียบไม่ขรุขะ เพื่อหลีกเลี่ยงการกระจายน้ำหนักที่ไม่เท่ากันลงบนผิวหน้าคอนกรีต

    4. ใช้น้ำยาเร่งการก่อตัวหรือใช้คอนกรีตที่มีความร้อนสูงกว่าปกติ เพื่อป้องกันการเกิดผิวหน้าคอนกรีตปูดพองเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็น

    5. ควรหลีกเลี่ยงการใช้คอนกรีตที่ผสมสารกักกระจายฟองอากาศในการเทพื้นภายในอาคาร และไม่ควรใช้เกรียงเหล็กในการแต่งผิวหน้าของคอนกรีตที่ผสมสารกักกระจายฟองอากาศ

    6. ในขณะการแต่งผิวหน้าคอนกรีตถ้าเกิดการปูดพองขึ้นให้พยายามใช้เกรียงขัดซ้ำบริเวณที่เกิดให้เรียบหรือใช้เกรียงฉีกรอยที่ปูดออกแล้วขัดซ้ำด้วยเกรียงที่ทำจากไม้ รวมทั้งยืดเวลาการแต่งผิวหน้าให้นานออกไป

    7. ในการเทคอนกรีตในสภาวะที่มีอัตราการระเหยสูงควรจะต้องมีการป้องกัน โดยการทำที่กั้นลม (wind breaks) เพื่อไม่ให้ลมสัมผัสกับผิวหน้าคอนกรีตโดยตรง รวมทั้งทำการฉีดพ่นน้ำให้เป็นละอองฝอยทันทีหลังการแต่งผิวหน้าเสร็จและคลุมด้วยกระสอบเปียกหรือใช้แผ่นพลาสติกคลุมทันทีที่ทำได้ ซึ่งข้อแนะนำอื่นๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก ACI 302.1R และ ACI 305

ที่มา : Concrete Blisters, National Ready Mixed Concrete Association U.S.A. 
เรียบเรียงโดย : ดร.ปัณฑ์ ปานถาวร, อภินันท์ บัณฑิตนุกูล


คอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนผสมเสร็จ ปูนน้ำ สลั๊มปั๊ม คอนกรีตสำเร็จ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน ราคาถูก!!ผู้ผลิต-จำหน่าย-ขาย บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตสำเร็จ ปูนผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนน้ำ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน หล่อเสา ปูนกันซึม คอนกรีตสลั๊มปั๊ม เข็มเจาะ แพล้นปูน บางพูน ลำลูกกา ธัญบุรี ปทุมธานี มีนบุรี ถนนนิมิตใหม่ รามอินทรา สายไหม เอกชัย พระราม2 คลองหลวง รังสิต นวนคร บางเขน นนทบุรี บางซื่อ บางขุนเทียน บางมด ตลิ่งชัน สุขุมวิท พระราม9 ปทุมวัน ลาดกระบัง นวมินทร์ บางแค บางปู สมุทรปราการ บางนา ท่าพระ ราษฏร์บูรณะ กทม.ราคาถูก รถโม่เล็ก รถโม่ใหญ่

บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนตราช้าง งานคุณภาพผลิตตรงจากแพล้นคอนกรีต สนใจติดต่อสั่งซื้อได้ที่ 02-181-0288 หรือ 02-181-0188 ติดต่อมือถือ 089-797-3536
Back To Top