ศัพท์ช่าง: รูปทรงหลังคา ปูนซีเมนต์ และคอนกรีต ไม้

ทรงจั่ว หลังคาประเภทนี้จะมีปัญหาการรั่วซึมน้อยมาก เนื่องจากมุมองศาที่มีความลาดเอียง เมื่อฝนตก จะทำให้น้ำไหลสู่ด้านล่างได้อย่างรวดเร็ว ลดการแตกหักของวัสดุมุงหลังคาจากลม ฝน ลูกเห็บ หรือกิ่งไม้ต่างๆ หากมีการรั่วซึมก็มักไม่สร้างปัญหามากนัก แต่มีข้อเสียคือหากทิศทางของฝนสาดเข้าจั่วบ้าน อาจทำให้มีน้ำซึมเข้าบ้านได้ ทางแก้คืออาจต้องติดตั้งกันสาด หรือชายคาบ้าน


ทรงปั้นหยา หลังคาทรงนี้จะมีมุมลาดเอียงน้อยกว่าแบบจั่วลักษณะของหลังคาจะครอบคลุมทุกทิศทาง ของบ้าน โดยส่วนบนสุดของหลังคาจะเป็นจุดยอดรวมของแต่ละด้าน หลังคาทรงนี้สามารถกันแดดกันฝน ได้ทุกด้าน สวยงาม ทนต่อการปะทะของแรงลมได้ดี

ทรงปีกผีเสื้อ เป็นโครงหลังคาที่แหงนออกทั้งสองด้าน โดยด้านนอกเป็นมุมสูง ตรงกลางจะเป็นมุมต่ำ ลักษณะคล้ายผีเสื้อกระพือปีกบิน ส่วนตรงกลางมักทำเป็นรางน้ำ อาจให้เอนมาด้านใดด้านหนึ่ง เป็นหลังคาที่สามารถรองรับน้ำฝนได้ดีกว่าหลังคาแบบอื่น รวมถึงให้ความเป็นโมเดิร์น ทันสมัย

ทรงเพิงหมาแหงน เป็นหลังคาที่มีลักษณะแบนราบแต่ลาดเอียงโดยยกด้านหน้าสูงกว่าด้านหลัง และมีเชิงชายรอบตัวบ้าน โดยอาจจะออกแบบให้ด้านหน้ามีเชิงชายยื่นออกมามากกว่าด้านอื่นๆ เล็กน้อยเพื่อให้บังแดดด้านหน้าบ้านได้ดี และการทำลาดเอียงจะช่วยระบายน้ำฝนได้เร็วอีกด้วย โดยทั่วไปเราอาจจะพบเห็นหลังคาเพิงหมาแหงนในบ้านที่มีรูปทรงแบบโมเดิร์น

ทรงโค้งกลม จากหลังคาทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นลักษณะของหลังคาที่ต้องใช้ร่วมกับกระเบื้องประเภทต่างๆ แต่สำหรับหลังคากลม แน่นอนว่าไม่สามารถใช้กระเบื้องได้ แต่ต้องใช้โลหะรีดลอน หรือวัสดุสังเคราะห์จากไฟเบอร์กลาสหุ้ม ซึ่งถ้าหากโครงสร้างมีรัศมีน้อยกว่าค่ามาตรฐานของผู้ผลิต อาจทำให้เกิดการซ้อนทับกันของแผ่นหลังคาไม่แนบสนิท และน้ำรั่วซึมได้  ทรงแบน เป็นทรงยอดนิยมสำหรับบ้านสมัยใหม่ บางคนอาจเรียกว่า บ้านไม่มีหลังคา หรือบ้านหลังคาเปลือย พื้นที่หลังคาจึงเป็นที่รับรับน้ำฝนโดยตรง ควรมีการป้องกันการรั่วซึมที่ดี เช่น ในระหว่างการเทปูนในช่วงก่อสร้างควรปรับระดับความชันของหลังคาให้ดีไม่มีส่วนน้ำขังและผสมน้ำยากันซึมในคอนกรีต หรือเสริมแผ่นกันซึมบนผิวคอนกรีต เป็นต้น

มารู้จักคำศัพท์ที่เรามักใช้แบบทับศัพท์กันดีกว่า ว่าแท้จริงแล้วมันมีความหมายว่า

 ฟาสาด (Façade) มีความหมายว่า หน้าตาของอาคาร ผนังอาคารด้านนอก หรือเปลือกของอาคาร

อาเขต (arcade) พื้นที่ที่อาร์คหลายๆ ตัว ต่อเนื่องกัน อาจจะเป็นทางเดินเล็กๆ หรือโถงแนวยาวขนาดใหญ่
อาร์ค (arch) มีความหมายแบบตรงตัวว่า ลักษณะโค้งที่ใช้รองรับน้ำหนักสิ่งก่อสร้างด้านบน


ศัพท์ช่าง ปูนซีเมนต์ และคอนกรีต

ผงปูนสีเทาๆ ที่เราเปิดออกมาจากถุงโดยที่ยังไม่ได้ผสมสารอะไรนั้นเรา เรียก “ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์” ซึ่งปัจจุบันมีแบบสำเร็จรูปหลากหลายชนิด ได้แก่ ปูนพอร์ตแลนด์สำหรับโครงสร้างทั่วไป หรือปูนที่มีคุณสมบัติพิเศษทนน้ำทะเล เป็นต้น สำหรับวัสดุก่อสร้างที่มีส่วนผสมของ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ หิน ทราย และน้ำ เราเรียกว่าส่วนผสมนี้ว่า “คอนกรีต” หากต้องการคุณสมบัติที่แข็งแรงมากขึ้นก็จะใส่เหล็กไว้ข้างใน เราเรียกคอนกรีตชนิดนี้ว่า "คอนกรีตเสริมเหล็ก" นั่นเอง ซึ่งสูตรการผสมคอนกรีตในการใช้งานต่างๆ ก็จะมีอัตราส่วนที่ไม่เหมือนกัน แต่ก่อนอื่นเราควรเริ่มต้นจากการเลือกใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์การใช้งานเสียก่อน ซึ่งประเภทของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ

ประเภท 1 (Normal Portland Cement) เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา เหมาะกับงานก่อสร้างคอนกรีตทั่วๆ ไปที่ไม่ต้องการคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติม เช่น คาน เสา พื้น ถนน ค.ส.ล. เป็นต้น แต่ไม่เหมาะกับงานที่ต้องสัมผัสกับเกลือซัลเฟต

ประเภท 2 (Modified Portland Cement) เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ดัดแปลงเพื่อให้สามารถต้านทานเกลือซัลเฟตได้ปานกลาง และจะเกิดความร้อนปานกลางในช่วงหล่อ เหมาะกับงานโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น ตอม่อ สะพาน ท่าเทียบเรือ เขื่อน

ประเภท 3 (High-early Strength Portland Cement) เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ที่สามารถให้กำลังได้รวดเร็วในเวลาอันสั้น หลังจากเทแล้วสามารถใช้งานได้ภายใน 3-7 วัน เหมาะกับงานที่เร่งด่วน เช่น คอนกรีตอัดแรง เสาเข็ม พื้นถนนที่จราจรคับคั่ง

ประเภท 4 (Low-heat Portland Cement) เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ชนิดพิเศษที่มีอัตราความร้อนต่ำกำลังของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ซึ่งส่งผลดีทำให้การขยายตัวน้อยช่วยลดการแตกร้าว เหมาะกับงานสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ปูนซีเมนต์

ประเภท 5 (Sulfate-resistant Portland Cement) เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ที่ทนต่อเกลือซัลเฟตได้สูงเหมาะกับงานก่อสร้างบริเวณดินเค็ม หรือใกล้กับทะเล ผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ที่มีจำหน่ายได้แก่ ตราช้าง ทนน้ำทะเล

    นอกจากนี้ยังมีปูนซีเมนต์สำหรับงานก่อและงานฉาบด้วย หรือ นิยมเรียกกันว่า มอร์ตาร์ (Mortar) ซึ่งมีคุณสมบัติและส่วนผสมที่ไม่เหมือนกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ จึงควรสังเกตและเลือกใช้ให้ถูกต้องเพื่อบ้านที่แข็งแรงทนทาน - See more at:

ศัพท์ช่าง ไม้ต่างๆ

  เมื่อท่านเจ้าของบ้านต้องเดินทางไปเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไม้สังเคราะห์สำหรับงานก่อสร้างหรือตกแต่งบ้าน บ่อยครั้งที่เจ้าของบ้านอาจเกิดความสับสนกับชื่อหรือชนิดของไม้สังเคราะห์แต่ละประเภทว่า ไม้สังเคราะห์แต่ละชนิดนั้นแตกต่าง และเหมาะสมกับงานลักษณะใด เพื่อที่จะทำให้ท่านเจ้าของบ้านสามารถมีความเข้าใจในการเลือกซื้อไม้สังเคราะห์ได้ดียิ่งขึ้น ควรทำความเข้าใจกับศัพท์ช่างพื้นฐานเหล่านี้

    ไม้เชิงชาย หรือ ไม้ปิดเชิงชาย คือ ไม้ที่ปิดทับปลายของจันทัน (สำหรับเชิงชายที่ปิดทับด้านข้างของจันทันของหลังคาจั่ว มักนิยมเรียกว่า ปั้นลม หรือ ไม้ปิดปั้นลม) ทำหน้าที่ปิดช่องว่างระหว่างจันทันและรับปลายกระเบื้องมุงหลังคา มีขนาดกว้าง 4 – 8 – 10 นิ้ว และ ยาวท่อนละ 3 – 4 เมตร

    ไม้ปิดกันนก คือ ไม้ที่ปิดช่องว่างระหว่างไม้เชิงชายกับช่องด้านล่างของกระเบื้องมุงหลังคา ไม้ปิดกันนกทำหน้าที่ตรงตามชื่อของมันคือ ป้องกันไม่ให้นกเข้าไปอาศัยทำรังอยู่ภายในหลังคา ซึ่งจะก่อให้เกิดความสกปรกขึ้นได้ ไม้ปิดกันนกจะมีขนาดกว้าง 6 นิ้ว และ ยาวท่อนละ 3 เมตร

    ไม้ระแนง หรือ ไม้ทำฝ้าระแนง คือ ไม้ที่มีลักษณะเป็นแผ่น ที่ติดตั้งเรียง (เกือบ) ต่อชิดกันอยู่บริเวณใต้ชายคารอบตัวบ้าน ไม้ระแนงเหล่านี้ทำหน้าที่เสมือนฝ้าเพดาน แต่มีข้อที่ดีกว่าคือสามารถช่วยระบายอากาศและลดความร้อนที่สะสมอยู่ในบริเวณใต้หลังคา ข้อดีที่ว่านี่ เกิดมาจากการติดตั้งไม้ระแนงที่เว้นระยะห่างกันเล็กน้อยประมาณ 0.5 - 1.0 เซนติเมตร ซึ่งเป็นหลักคิดมาจากภูมิปัญญาของช่างไทยในสมัยก่อนนั่นเอง ไม้ระแนงจะมีขนาดกว้าง 3 – 4 นิ้ว แต่ละท่อนยาวท่อนละ 3 เมตร

    ไม้บัว คือ ไม้ที่ติดตั้งบริเวณแนวรอยต่อระหว่างพื้นกับผนัง ไม้บัวจะทำหน้าที่ปิดขอบรอยต่อของวัสดุปูพื้นที่อยู่ชิดริมผนัง เพราะโดยปกติแล้วเมื่อช่างทำการติดตั้งวัสดุปูพื้น อย่างเช่น พื้นกระเบื้อง พื้นไม้ปาร์เก้ หรือพื้นไม้ลามิเนต ตรงบริเวณริมผนังห้องมักจะเกิดเป็นช่องว่างเล็กอันเนื่องจากวัสดุที่ไม่ลงตัว ทำให้เกิดความไม่สวยงาม ไม่เรียบร้อย ไม้บัวจะทำหน้าที่ปิดบังความไม่เรียบร้อยเหล่านั้น และประโยชน์อีกอย่างของไม้บัวก็คือป้องกันความสกปรกที่มักจะเกิดขึ้นบริเวณริมรอยต่อของพื้นกับผนังอันเนื่องมาจากการทำความสะอาดเช็ดถูพื้นด้วยไม้กวาดหรือผ้าถูพื้น ไม้บัวจะมีขนาดกว้าง 3 – 4 นิ้ว ยาวท่อนละ 3 เมตร

    ไม้มอบ คือ ไม้ที่ติดตั้งบริเวณรอยต่อระหว่างผนังกับฝ้าเพดาน ไม้มอบจะทำหน้าที่ปิดรอยต่อของขอบฝ้าเพดานที่อยู่ชิดริมผนัง เพราะในลักษณะคล้ายๆ กันกับการติดตั้งวัสดุปูพื้น การติดตั้งฝ้าเพดานฉาบเรียบก็มักจะเกิดรอยของวัสดุฉาบเรียบที่ไม่เรียบร้อย ไม้มอบจะช่วยทำหน้าที่ปิดบังรอยฉาบเหล่านั้นให้ดูเรียบร้อยและสวยงามยิ่งขึ้น ไม้มอบจะมีขนาดกว้าง 2 นิ้ว ยาวท่อนละ 3 เมตร

    ไม้บังตา คือ ไม้ที่ติดตั้งเพื่อจุดประสงค์ในการปิดบังมุมมองที่ไม่สวยงามจากภายในสู่ภายนอก หรือสร้างพื้นที่เพื่อความเป็นส่วนตัว (ซ่อนมุมมองจากภายนอกสู่ภายใน) ระยะห่างระหว่างแผ่นไม้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการและความเหมาะสม เพราะหากติดตั้งไม้บังตาให้มีความถี่มากๆ เราก็จะได้พื้นที่ ที่มีความเป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้น แต่ในทางกลับกันเราก็จะได้รับลมและแสงธรรมชาติลดน้อยลงเช่นกัน ไม้บังตามีขนาดกว้าง 3 – 4 นิ้ว แต่ละท่อนยาวท่อนละ 3 เมตร

    นอกจากชื่อชนิดของไม้สังเคราะห์ที่กล่าวมาแล้วยังมี ไม้รั้ว ซึ่งเหมาะสำหรับใช้ทำรั้วบ้านที่ทนแดดทนฝน และ ไม้ฝา สำหรับทำฝาผนังบ้านหรือตกแต่งปิดผิวอาคารให้เลือกใช้อีกด้วย

ที่มา: trachang.co.th
คอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนผสมเสร็จ ปูนน้ำ สลั๊มปั๊ม คอนกรีตสำเร็จ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน ราคาถูก!!ผู้ผลิต-จำหน่าย-ขาย บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตสำเร็จ ปูนผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนน้ำ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน หล่อเสา ปูนกันซึม คอนกรีตสลั๊มปั๊ม เข็มเจาะ แพล้นปูน บางพูน ลำลูกกา ธัญบุรี ปทุมธานี มีนบุรี ถนนนิมิตใหม่ รามอินทรา สายไหม เอกชัย พระราม2 คลองหลวง รังสิต นวนคร บางเขน นนทบุรี บางซื่อ บางขุนเทียน บางมด ตลิ่งชัน สุขุมวิท พระราม9 ปทุมวัน ลาดกระบัง นวมินทร์ บางแค บางปู สมุทรปราการ บางนา ท่าพระ ราษฏร์บูรณะ กทม.ราคาถูก รถโม่เล็ก รถโม่ใหญ่

บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนตราช้าง งานคุณภาพผลิตตรงจากแพล้นคอนกรีต สนใจติดต่อสั่งซื้อได้ที่ 02-181-0288 หรือ 02-181-0188 ติดต่อมือถือ 089-797-3536
Back To Top