วิธีการทำแนวและอุดแนวบริเวณรอยร้าว (Routing และ Sealing) สำหรับการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตเพื่อให้รับน้ำหนักได้ดังเดิม

การทำแนวและอุดแนวบริเวณรอยร้าว (Routing และ Sealing)

     วิธีการนี้ประกอบด้วยการทำแนวตามรอยร้าวให้มีขนาดใหญ่กว่ารอยร้าวที่ปรากฎอยู่และอุดแนวนั้นด้วยวัสดุที่เหมาะสมดังรูปที่ 1 หากไม่ทำแนวอาจทำให้การซ่อมได้ผลไม่ถาวร วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดและใช้มากสำหรับการซ่อมรอยร้าวที่หยุดขยายตัวแล้ว และรอยร้าวที่อยู่ระดับตื้น (รอยร้าวลึกไม่ถึงระดับเหล็กเสริม)



1.วัสดุ
1.1 วัสดุ ให้เลือกใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติ อีพอกซีเรซิน หรือ ซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัว
1.2 วัสดุปิดแนวที่ใช้อาจเลือกใช้ประเภทไหนก็ได้ขึ้นอยู่กับความแน่นหรือความคงทนถาวรที่ต้องการ ประเภทที่นิยมใช้คือส่วนประกอบของ อีพอกซีเรซิน
1.3 วัสดุปิดแนวแบบเทขณะร้อนเหมาะที่สุดสำหรับกรณีที่ไม่จำเป็นต้องซ่อมแนวรอยแตกเพื่อให้ทึบน้ำหรือให้มีความสวยงาม
1.4 การใช้สารประเภทยูเรเทน พบว่าเหมาะสำหรับรอยร้าวขนาดกว้างถึง 19 มิลลิเมตร(EM 1110-2-2002) และลึกพอสมควร เพราะเป็นวัสดุที่คงความยืดหยุ่นอยู่ได้ในช่วงอุณหภูมิที่ต่างกันมาก


2.การใช้งานและข้อจำกัด
2.1 วิธีการนี้ใช้ได้เหมาะสมสำหรับรอยร้าวที่หยุดขยายตัว และอยู่ในโครงสร้างที่ไม่มีความสำคัญมากนัก
2.2 วิธีการนี้สามารถใช้ได้ทั้งกับรอยร้าวขนาดเล็กที่มีจำนวนมากและรอยร้าวขนาดใหญ่ที่อยู่แยกห่างจากกัน
2.3 ไม่ควรใช้ซ่อมรอยร้าวที่ยังไม่หยุดขยายตัวหรือรอยแตกที่อยู่บนโครงสร้างที่รับแรงดันน้ำ อย่างไรก็ตามวิธีการนี้สามารถใช้ชะลอการไหลของน้ำในการซ่อมรอยร้าวของโครงสร้างด้านที่รับแรงดันน้ำ
2.4 การปิดรอยร้าวด้วยวัสดุปิ ดแนว มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปถึงเหล็กเสริม (2) ป้องกันไม่ให้เกิดแรงดันน้ำที่แนวรอยร้าว (3) ป้องกันไม่ให้ผิวคอนกรีตเกิดรอยสกปรก หรือ (4) ป้องกันไม่ให้ความชื้นจากอีกด้านของโครงสร้างซึมผ่านรอยร้าวเข้ามาได้ วิธีการติดตั้งวัสดุปิ ดแนวขึ้นอยู่กับประเภทของวัสดุที่ใช้

3.ขั้นตอนการซ่อม
3.1 การทำแนวสำหรับการซ่อม
ตัดคอนกรีตตามแนวรอยร้าวด้วยเลื่อยหรือเครื่องมือที่เหมาะสมอื่น ๆ เพื่อเปิดรอยร้าวให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการอุดปิดด้วยวัสดุปิดแนว (Sealant) อย่างน้อยควรกว้าง 6 มิลลิเมตร เพราะหากแคบกว่านี้อาจไม่สามารถเติมวัสดุปิดแนวได้สะดวก ควรทำความสะอาดผิวหน้าของแนวรอยร้าวและปล่อยให้แห้งก่อนการซ่อม

3.2 การเตรียมผิวรอยร้าว
(1) ผิวรอยร้าวต้องสะอาดและปราศจากสิ่งแปลกปลอมที่อาจส่งผลเสียต่อความสามารถในการยึดติดระหว่างวัสดุปิดแนวกับผิวรอยร้าว หรืออาจทำให้การยึดติดไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ วิธีการเตรี

ยมแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
ก. การเตรียมผิวโดยทั่วไป เป็นการกำจัดสิ่งแปลกปลอมซึ่งรวมถึงการล้างทำความสะอาดเศษสิ่งสกปรกที่เกิดจากการตัด และการปัดทำความสะอาดผิวคอนกรีตด้วยแปรงลวด หรือการทำแนวรอยต่อโดยใช้น้ำและเป่าด้วยลมให้แห้ง
ข. การเตรียมผิวโดยวิธีพิเศษ ทำโดยการพ่นด้วยทราย เพื่อขจัดสิ่งแปลกปลอมออก แม้การพ่นด้วยทรายจะมีราคาแพง แต่ก็เป็นวิธีการที่ใช้ได้ผลดีและควรใช้โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องใช้วัสดุปิดแนวราคาสูงประเภทแข็งตัวด้วยอุณหภูมิหรือการบ่มด้วยสารเคมีที่ติดตั้งหน้างาน
(2) ต้องซ่อมแซมความผิดปกติที่ผิวรอยต่อคอนกรีตเนื่องจากมวลรวมที่ใกล้หลุดร่อน สิ่งแปลกปลอมที่ฝังตัวอยู่ในเนื้อคอนกรีต และเนื้อคอนกรีตที่หลุดร่อนจากการรับแรงอัด ในการทำความสะอาดครั้งสุดท้ายอาจใช้แปรงขัดแต่ควรใช้ลมเป่า (ที่ปราศจากน้ำมันปนเปื้อน) หรือใช้เครื่องดูดฝุ่นจะให้ผลดีกว่า

3.3 การตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนการติดตั้ง
(1) ก่อนการติดตั้งวัสดุปิดแนวให้ตรวจสอบทุกแนวรอยร้าวเพื่อให้มั่นใจว่าแนวรอยร้าวนั้นสะอาดและแห้งก่อนการติดตั้งวัสดุสำหรับรองรับวัสดุปิดแนว การทารองพื้นหรือการติดตั้งวัสดุปิดแนว
(2) ควรวัดความกว้างของแนวรอยร้าวเพื่อหาปริมาณวัสดุที่ใช้ซ่อม และพิจารณาความเหมาะสมของวัสดุที่จะใช้

3.4 การทารองพื้นโดยใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติตาม ประเภทสารเชื่อมประสาน
(1) การทารองพื้นนั้นจำเป็นสำหรับการทำงานกับผิววัสดุที่มีความพรุนของผิว เช่น คอนกรีต ไม้ และพลาสติก เพื่อให้วัสดุปิดแนวที่ติดตั้งหน้างานยึดติดได้ดี
(2) การทาด้วยแปรงอาจต้องใช้ความระมัดระวังโดยต้องแปรงเอาวัสดุรองพื้นส่วนเกินออกเพื่อให้มั่นใจว่าวัสดุปิดแนวจะยึดเกาะผิวคอนกรีตได้อย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง มิฉะนั้นการติดตั้งอาจไม่ประสบผลสำเร็จได้ สำหรับแนวรอยต่อแนวราบ การพ่นสารรองพื้นอาจเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่า
(3) สารรองพื้นส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาปล่อยให้แห้งก่อนการติดตั้งวัสดุปิดแนวหากไม่ปล่อยให้แห้งก่อนอาจทำให้วัสดุปิดแนวยึดติดได้ไม่ดี
(4) การติดตั้งวัสดุรองรับวัสดุปิดแนว หรือ วัสดุคั่น (Bond Breakers) ต้องมีการกำหนดตำแหน่งด้วยมือก่อนการติดตั้งวัสดุปิดแนวโดยต้องติดตั้งไว้ที่ความลึกที่เหมาะสมและป้องกันไม่ให้เกิดการบิดหรือไม่ให้แนวรอยร้าวที่เตรียมไว้สกปรก



3.5 การผสมและติดตั้งวัสดุปิดแนว
(1) การผสมวัสดุปิดแนว
การผสมวัสดุปิดแนว ต้องผสมวัสดุปิดแนวอย่างทั่วถึง หากมีปริมาณวัสดุปิดแนวมากพอสมควร อาจจำเป็นต้องใช้เครื่องมือผสมแบบใช้แรงกล แต่หากปริมาณไม่มากอาจใช้เครื่องปั่นไฟฟ้าแบบมือถือได้ หากมีปริมาณมากต้องใช้เครื่องมือผสมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เช่น โม่ เป็นต้น
(2) การติดตั้งวัสดุปิดแนวประเภทพอลิเมอร์
การติดตั้งวัสดุปิดแนวประเภทพอลิเมอร์ที่หน้างาน วัสดุปิดแนวจะถูกอัดด้วยแรงดันออกมาจากปลายหัวฉีดซึ่งมีขนาดและรูปร่างเหมาะสมในการอัดวัสดุปิดแนวในปริมาณที่พอดีลงในแนวรอยต่อ อุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง คือ ปืนยิงวัสดุปิดแนวประกอบภาชนะใส่วัสดุปิดแนวที่บรรจุสำเร็จกับปืนยิงเมื่อต้องการใช้งาน หรือใช้วัสดุปิดแนวที่เตรียมไว้หรือที่ผสมไว้ (ในกรณีที่วัสดุปิดแนวมีส่วนผสมสองชนิด) ในภาชนะต่างหากและบรรจุในปืนสำหรับฉีดที่หน้างานทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของงาน ซึ่งอาจเลือกใช้อุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่านี้ เช่น อุปกรณ์ที่ส่วนผสมสองชนิดผ่านท่อแยกกันสองสายและมาผสมกันบริเวณ หัวฉีดซึ่งมีภาชนะขนาดเล็กบรรจุไว้ ก่อนที่จะถูกอัดฉีดเพื่อยาแนวรอยต่อ การฉีดอาจใช้แรงดันจากเครื่องสูบแบบอัดอากาศหรือก๊าซก็ได้

3.6 ขั้นตอนวิธีการซ่อมแซมแบบทำแนวและอุดแนวบริเวณรอยร้าว (Routing และ Sealing) สามารถสรุปได้ดังรูปที่ 2

คอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนผสมเสร็จ ปูนน้ำ สลั๊มปั๊ม คอนกรีตสำเร็จ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน ราคาถูก!!ผู้ผลิต-จำหน่าย-ขาย บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตสำเร็จ ปูนผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนน้ำ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน หล่อเสา ปูนกันซึม คอนกรีตสลั๊มปั๊ม เข็มเจาะ แพล้นปูน บางพูน ลำลูกกา ธัญบุรี ปทุมธานี มีนบุรี ถนนนิมิตใหม่ รามอินทรา สายไหม เอกชัย พระราม2 คลองหลวง รังสิต นวนคร บางเขน นนทบุรี บางซื่อ บางขุนเทียน บางมด ตลิ่งชัน สุขุมวิท พระราม9 ปทุมวัน ลาดกระบัง นวมินทร์ บางแค บางปู สมุทรปราการ บางนา ท่าพระ ราษฏร์บูรณะ กทม.ราคาถูก รถโม่เล็ก รถโม่ใหญ่

บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนตราช้าง งานคุณภาพผลิตตรงจากแพล้นคอนกรีต สนใจติดต่อสั่งซื้อได้ที่ 02-181-0288 หรือ 02-181-0188 ติดต่อมือถือ 089-797-3536
Back To Top