กรดทำลายคอนกรีตได้อย่างไร
กรดสามารถทำลายสารประกอบแคลเซียมทุกประเภทที่มีอยู่ในคอนกรีต เช่น แคลเซียมซิลิเกตไฮเดรต (C-S-H) แคลเซียมอลมิเนตไฮเดรต (C-A-H) และแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) โดยส่วนใหญ่แล้ว กรดจะเขาไปทำปฏิกิริยากับสารประกอบแคลเซียมดังกล่าว และได้ผลผลิตเป็นเกลือแคลเซียมซึ่งละลายน้ำได้ง่าย เมื่อสารประกอบแคลเซียมในคอนกรีตถถูกเปลี่ยนไปเป็นเกลือ จะทำให้บริเวณที่ถูกกัดกร่อนสูญเสียความสามารถในการยึดเกาะระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างซีเมนต์เพสต์กับมวลรวม เกลือที่เกิดขึ้นจะสามารถถูกชะล้างออกไปได้ง่าย ทำให้เนื้อคอนกรีตถูกทำลายหายไป และมวลรวมจึงหลุดออกจากคอนกรีตได้ง่าย
กรดสามารถทำลายสารประกอบแคลเซียมทุกประเภทที่มีอยู่ในคอนกรีต เช่น แคลเซียมซิลิเกตไฮเดรต (C-S-H) แคลเซียมอลมิเนตไฮเดรต (C-A-H) และแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) โดยส่วนใหญ่แล้ว กรดจะเขาไปทำปฏิกิริยากับสารประกอบแคลเซียมดังกล่าว และได้ผลผลิตเป็นเกลือแคลเซียมซึ่งละลายน้ำได้ง่าย เมื่อสารประกอบแคลเซียมในคอนกรีตถถูกเปลี่ยนไปเป็นเกลือ จะทำให้บริเวณที่ถูกกัดกร่อนสูญเสียความสามารถในการยึดเกาะระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างซีเมนต์เพสต์กับมวลรวม เกลือที่เกิดขึ้นจะสามารถถูกชะล้างออกไปได้ง่าย ทำให้เนื้อคอนกรีตถูกทำลายหายไป และมวลรวมจึงหลุดออกจากคอนกรีตได้ง่าย
ผลกระทบต่อคุณสมบัติทางวิศวกรรม
- โครงสร้างสูญเสียกำลังและความแข็งแกร่ง
- ความพรุน และความสามารถซึมผ่านของน้ำในคอนกรีต
เพิ่มขึ้น ทำให้ความทนทานลดลง
- ค่า pH ของคอนกรีตลดลงอย่างมาก
- การสูญเสียมวลหรือน้ำหนักคอนกรีต
ความรุนแรงของการกัดกร่อน
ความรุนแรงของการกัดกร่อนจะขึ้นอยู่กับชนิดและความเข้มข้นของกรด กรดที่มีการกัดกร่อนรุนแรง จะเป็นชนิดที่เปลี่ยนสารประกอบแคลเซียมในคอนกรีตไปเป็นเกลือแคลเซียมที่ ละลายน้ำได้ง่าย ดังนั้น กรดเกลือ (HCl) จะเป็นกรดที่มีการกัดกร่อนคอนกรีตที่รุนแรงมาก เนื่องจากเกลือแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) สามารถละลายน้ำได้ดีว่าเกลือแคลเซียมที่เกิดจากกรดชนิดอื่นๆ
CPAC Acid Attack Resisting Concrete คือคอนกรีตพิเศษที่ซีแพควิจัย และพัฒนาขึ้น เพื่อยืดอายุของคอนกรีตในสภาวะกัดกร่อนโดยกรดให้ยาวนานขึ้น ด้วยหลักการลดปริมาณแคลเซียมไฮดรอกไซด์ Ca(OH)2 ในคอนกรีต โดยการผสมวัสดุปอซโซลานที่มีปริมาณ SiO2 สูงมาก เช่น ซิลิกาฟูม ในส่วนผสมคอนกรีตในระดับที่เหมาะสม ประกอบกับการออกแบบส่วนผสมจากทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญของซีแพคให้มีอัตราส่วน น้ำต่อตัวเชื่อมประสานที่ต่ำที่สุด เพื่อเพิ่มความแน่นของคอนกรีตให้ดีเยี่ยม ซึ่งนับเป็นวิธีการแก้ปัญหาความเสียหายจากการกัดกร่อนโดยกรดที่ต้นเหตุอย่าง แท้จริง