งานก่อสร้างเสา : ขั้นตอนการก่อสร้างเสา
เสาเป็นองค์อาคารในแนวดิ่งทำหน้าที่รับน้ำหนักจากหลังคา ผนัง พื้น คาน และถ่ายสู่ฐานราก ในการก่อสร้างเสาคอนกรีตเสริมเหล็กสามารถทำได้ดังนี้
1. ตรวจสอบแบบว่าเสามีขนาด ความยาว ความสูงเป็นเท่าไรก่อน แล้วจึงลงมือก่อสร้าง
2. เสริมเหล็กแกนเสา และเหล็กปลอกให้ได้ตามแบบก่อสร้างระบุไว้ ต้องจัดให้มุมของเหล็กปลอกยึดเหล็กแกนเสาตามมุมทุกมุม โดยที่เหล็กแกนเสาไม่หนีศูนย์
3. การต่อทาบเหล็กแกนเสาจะต้องเป็นไปตามแบบก่อสร้างหรือมาตรฐาน ว.ส.ท. กำหนด
4. เมื่อเสริมเหล็กเสร็จเรียบร้อยแล้วจะทำการติดตั้งแบบหล่อเสา โดยที่แบบหล่ออาจจะเป็นไม้หรือเหล็กก็ได้ ทำการเสียบเหล็กที่แบบหล่อหรือเสียบภายหลังถอดแบบหล่อแต่ต้องอุดด้วยปูน grout ยาวออกจากเสาประมาณ 30-40 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการร้าวเมื่อก่อผนัง และจะต้องเช็คดิ่งทุกครั้งเพื่อไม่ให้เสามีขนาดผิดไปจากแบบ จากมาตรฐาน ว.ส.ท. ยอมให้ขนาดของเสาคลาดเคลื่อนไปจากแบบในทางลบไม่เกิน 6 มิลลิเมตร ในทางบวกไม่เกิน 12 มิลลิเมตร
5. ติดตั้งค้ำยันแบบหล่อเสาให้แข็งแรงสามารถรับแรงดันคอนกรีตได้โดยไม่แตก พร้อมที่จะเทคอนกรีต
6. หาระดับเทคอนกรีตโดยเทียบจากระดับอ้างอิงในกรณีที่เป็นเสาชั้น 1 แต่ถ้าเป็นเสาที่มีการก่อสร้างพื้นเสร็จแล้วอาจเทียบระดับจากระดับพื้นได้ และราดน้ำแบบหล่อให้ชุ่ม เพื่อลดอุณหภูมิและการดูดน้ำจากคอนกรีต
7. เทปูนซีเมนต์ผสมกับทรายลงไปจำนวนหนึ่งก่อน เพื่อที่เคลือบผิวแบบหล่อและเหล็กเสริม
8. เทคอนกรีตอาจเทโดยถังปูน กระบะ (Buckets) หรือเทผ่านท่อผ้าใบก็ได้ ซึ่งสามารถลดการแยกตัวของคอนกรีต
9. อาจหยุดเทคอนกรีตที่ระดับต่ำกว่าท้องคานประมาณ 2.5 เซนติเมตร เพื่อสะดวกต่อการวางท้องคาน
10. เมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว ประมาณ 2 วันก็สามารถถอดแบบข้างเสาได้ซึ่งอาจจะเร็วกว่าก็ได้ขึ้นอยู่กับคอนกรีตที่ใช้ และจะทำการบ่มคอนกรีตทันที
เสาเป็นองค์อาคารในแนวดิ่งทำหน้าที่รับน้ำหนักจากหลังคา ผนัง พื้น คาน และถ่ายสู่ฐานราก ในการก่อสร้างเสาคอนกรีตเสริมเหล็กสามารถทำได้ดังนี้
1. ตรวจสอบแบบว่าเสามีขนาด ความยาว ความสูงเป็นเท่าไรก่อน แล้วจึงลงมือก่อสร้าง
2. เสริมเหล็กแกนเสา และเหล็กปลอกให้ได้ตามแบบก่อสร้างระบุไว้ ต้องจัดให้มุมของเหล็กปลอกยึดเหล็กแกนเสาตามมุมทุกมุม โดยที่เหล็กแกนเสาไม่หนีศูนย์
3. การต่อทาบเหล็กแกนเสาจะต้องเป็นไปตามแบบก่อสร้างหรือมาตรฐาน ว.ส.ท. กำหนด
4. เมื่อเสริมเหล็กเสร็จเรียบร้อยแล้วจะทำการติดตั้งแบบหล่อเสา โดยที่แบบหล่ออาจจะเป็นไม้หรือเหล็กก็ได้ ทำการเสียบเหล็กที่แบบหล่อหรือเสียบภายหลังถอดแบบหล่อแต่ต้องอุดด้วยปูน grout ยาวออกจากเสาประมาณ 30-40 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการร้าวเมื่อก่อผนัง และจะต้องเช็คดิ่งทุกครั้งเพื่อไม่ให้เสามีขนาดผิดไปจากแบบ จากมาตรฐาน ว.ส.ท. ยอมให้ขนาดของเสาคลาดเคลื่อนไปจากแบบในทางลบไม่เกิน 6 มิลลิเมตร ในทางบวกไม่เกิน 12 มิลลิเมตร
5. ติดตั้งค้ำยันแบบหล่อเสาให้แข็งแรงสามารถรับแรงดันคอนกรีตได้โดยไม่แตก พร้อมที่จะเทคอนกรีต
6. หาระดับเทคอนกรีตโดยเทียบจากระดับอ้างอิงในกรณีที่เป็นเสาชั้น 1 แต่ถ้าเป็นเสาที่มีการก่อสร้างพื้นเสร็จแล้วอาจเทียบระดับจากระดับพื้นได้ และราดน้ำแบบหล่อให้ชุ่ม เพื่อลดอุณหภูมิและการดูดน้ำจากคอนกรีต
7. เทปูนซีเมนต์ผสมกับทรายลงไปจำนวนหนึ่งก่อน เพื่อที่เคลือบผิวแบบหล่อและเหล็กเสริม
8. เทคอนกรีตอาจเทโดยถังปูน กระบะ (Buckets) หรือเทผ่านท่อผ้าใบก็ได้ ซึ่งสามารถลดการแยกตัวของคอนกรีต
9. อาจหยุดเทคอนกรีตที่ระดับต่ำกว่าท้องคานประมาณ 2.5 เซนติเมตร เพื่อสะดวกต่อการวางท้องคาน
10. เมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว ประมาณ 2 วันก็สามารถถอดแบบข้างเสาได้ซึ่งอาจจะเร็วกว่าก็ได้ขึ้นอยู่กับคอนกรีตที่ใช้ และจะทำการบ่มคอนกรีตทันที