การออกแบบส่วนผสมคอนกรีต

การออกแบบส่วนผสมคอนกรีต (1.หลักการในการออกแบบส่วนผสม)

หลักการในการออกแบบส่วนผสมคอนกรีต
     เป้าหมายหลักของการหาสัดส่วนผสมของคอนกรีตหรือการออกแบบส่วนผสมคอนกรีต มีด้วยกัน 2 ประการ คือ
 1.เพื่อเลือกวัสดุผสมคอนกรีตที่เหมาะสมอันได้แก่ ปูนซีเมนต์ หิน ทราย น้ำ น้ำยาผสมคอนกรีต ให้เป็นไปตามข้อกำหนดและวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
 2.คำนวณหาสัดส่วนผสมของวัสดุผสมนี้ เพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามข้อกำหนดและการใช้งานทั้งในสภาพคอนกรีตสดและคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว ในราคาที่เหมาะสมที่สุด

     เพื่อให้บรรลุเป้าหมายข้างต้นผู้ออกแบบส่วนผสมคอนกรีตต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้
-การหาได้ของวัสดุผสมคอนกรีต
-การผันแปรในคุณสมบัติของวัสดุผสม
-ความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนผสมกับธรรมชาติของวัสดุผสม
-การผันแปของคุณสมบัติที่ต้องการในสภาพการใช้งาน.

การออกแบบส่วนผสมคอนกรีต(2.ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการออกแบบ)

ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการออกแบบส่วนผสมคอนกรีต

    การออกแบบและเลือกใช้คอนกรีตให้เหมาะกับงานก่อสร้างนั้นที่จะต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ซึ่งอาจกระทบต่อการเลือกใช้คอนกรีตประเภทนั้นๆ โดยสามารถแยกพิจารณาได้เป็น 2 ประการคือ
1.ปัจจัยด้านเทคนิค
2.ปัจจัยด้านราคา

ปัจจัยด้านเทคนิค
     วิศวกรผู้ออกแบบต้องพิจารณาปัจจัยด้านเทคนิคซึ่งแบ่งตามสภาพของคอนกรีตได้เป็น 2 ประการ คือ
1.สภาพที่คอนกรีตบังเหลวอยู่   ปัจจัยที่ต้องพิจารณา 2 ประการ คือ
-ความสามารถเทได้
-การอยู่ตัว
โดยผู้ออกแบบควรเลือกคอนกรีตสดที่มีคุณสมบัติ ดังนี้

1.มีความเหลวเพียงพอต่อการใช้งาน คือ คอนกรีตสามารถไหลลื่นเข้าไปเต็มทุกๆ ส่วนของแบบหล่อ
2.ต้องไม่แยกตัวระหว่างการขนย้ายหรือการเท
3.ต้องสามารถอัดตัวแน่นในแบบหล่อได้อย่างดี

วิธีการใช้วัดความสามารถเทได้ของคอนกรีตที่ใช้กันแพร่หลาย คือ การวัดค่ายุบตัว ตัวอย่างค่ายุบตัวที่เหมาะสมกับงานก่อสร้างทั่วๆไปในประเทศไทย  ดังตาราง

ค่าการยุบตัวที่เหมาะกับงานประเภทต่างๆ
สำหรับปัจจัยด้สนการอยู่ตัว หมายถึง คอนกรีตจะคงความสม่ำเสมอของเนื้อคอนกรีตตลอดการใช้งาน โดยไม่เกิดการแยกตังวและไม่เกิดการเยิ้ม ในปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการวัดการอยู่ตัว โดยทั่วไปจะใช้การสังเกตเป็นหลัก

2.สภาพที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว
ปัจจัยที่ผู้แบบต้องพิจารณาที่สำคัญ 2 ประการ คือ
-กำลัง
-ความทนทาน
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่สำคัญรองลงมาอีก 2 ประการ คือ
-การเปลี่ยนแปลงที่ขึ้นอยู่กับน้ำหนักบรรทุก
-การเปลี่ยนแปลงที่ไม่ขึ้นอยู่กับน้ำหนักบรรทุก

   โดยทั่วไปกำลังเป็นคุณสมบัติที่าำคัญและคุณภาพของคอนกรีตก็จะพิจารณาจากกำลังอัด ในหลายๆ กรณี คุณสมบัติ อื่นๆ อาจมีความสำคัญมากกว่า เช่น คอนกรีตสำหรับโครงสร้างที่ต้องการป้องกันน้ำ หรือถึงเก็บน้ำ จำเป็นต้องมีคุณสมบัติสำคัญ คือ มีการซึมผ่านของน้ำและอากาศต่ำ และมีการหดตัวต่ำ การเพิ่มปริมาณ ปูนซีเมนต์เพื่อเพิ่มกำลังอัดจะส่งผลให้เกิดการหดตัวมาก ซึ่งมีผลเสียอย่างมากต่อคุณสมบัติด้านความทนทาน และการซึมผ่านของน้ำ
    ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับคุณสมบัติของคอนกรีตจะแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการ คือ ชนิดของโครงสร้าง และสภาพแวดล้อมขณะใช้งาน ในหลายๆ กรณีข้อกำหนดจะเกี่ยวข้องกับ
   1.กำลังอัดต่ำสุดที่ยอมรับได้ ดดยทั่วไปใช้เป็นข้อกำหนดหลักในงานคอนกรีต
   2.อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์สูงสุด เพื่อความทนทานของโครงสร้าง
   3.ปริมาณปูนซีเมนต์ต่ำสุด เพื่อความทนทานของโครงสร้าง
   4.ปริมาณปูนซีเมนต์สูงสุึด เพื่อลดการแตกร้าวในโครงสร้างขนาดใหญ่
   5.ความหนาแน่นต่ำสุด เพื่องานก่อสร้างบางประเภท เช่น เขื่อนหรือโครงสร้างป้องกันรังสีต่างๆ

    แต่ยังมีกำหนดซึ่งระบุคุณสมบัติเฉพาะของคอนกรีตที่ต้องการ เช่น
   1.กำหนดให้ได้กำลังอัดในเวลารวดเร็ว ใช้สำหรับงานซ่อมแวฒ , งานถอดไม้แบบเร็ว หรืองานคอนกรีตอัดแรง เป็นต้น
   2.กำหนดให้สามารถทนทานซัลเฟตได้ดี
   3.กำหนดให้มีความเหลวมาก หรือป้องกันการซึมผ่านของน้ำได้ดี เป็นต้น คอนกรีตที่มีข้อกำหนดต่างๆ เหล่านี้จะได้กล่าวถึงอย่างละเอียดในเรื่องคอนกรีตพิเศษ

ปัจจัยด้านราคา
    นอกจากปัจจัยด้านเทคนิดแล้วผู้ออกแบบจำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องพิจารณาปัจจัยด้านราคาด้วยซึ่งไม่ใช่ค่าเฉพาะวัสดุแต่รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับกองเก็บวัตถุดิบ การชั่งตวง การผสม การลำเลียง ค่าใช้จ่ายในการเท และทำให้คอนกรีตแน่น รวมไปถึงค่าควบคุมงานคอนกรีต โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.วัสดุ  : วัสดุองค์ประกอบ
คอนกรีตประกอบด้วย หินทราย ซีเมนต์ น้ำและน้ำยาผสมคอนกรีต หรืออาจมีวัสดุเพิ่มมีช่วยปรับปรุงให้คอนกรีตมีคุณสมบัติดีขึ้น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับราคาที่ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงได่แก่
         - การหาได้ของวัสดุพื้นฐาน
ผู้ออกแบบจำเป็นต้องศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุพื้นฐานในภูมิภาคนั้นๆ ว่าหาได้หรือไม่ เพราะถ้าจำเป็นต้องหาแหล่งอื่นๆ ค่าใช้จ่ายโดยรวมอาจจะสูงมาก ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ออกแบบต้องการออกแบบฐานรากแผ่ขนาดใหญ่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้คอนกรีตที่มีความร้อนจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่นต่ำ แต่ในประเทศไทยไม่มีการผลิตปูนซีเมนต์ประเภทความร้อนต่ำ ผู้ออกแบบจะต้องดัดแปลงส่วนผสมคอนกรีต เช่น ใช้น้ำยาผสมคอนกรีต หรือในบางภูมิภาคของประเทศไทยสามารถหากรวดแทนหินย่อมได้ โดยคุณสมบัติอื่นๆ เช่น กำลังอัด ความสามารถเทได้ ต้องได้ตามข้อกำหนดของงาน เป็นต้น

          -การผันแปรของคุณภาพวัสดุ
วัตถุดิบที่มีความผันแปรของคุณภาพมาก เมื่อนำมาใช้ผสมเป็นคอนกรีต จะก่อให้เกิดต้นทุนการควบคุมที่สูง เพื่อที่จะให้ได้คอนกรีตที่มีคุณภาพตามาข้อกำหนด

*สัดส่วนผสม
วัสดุผสมที่ลักษณะแตกต่างกัน จะส่งผลต่อสัดส่วนเพื่อให้ได้คุณสมบัติของคอนกรีตตามต้องการ เช่น หินที่มีรูปร่างกลมมนจะใช้ปริมาณน้ำน้อยกว่าหินที่มีลักษณะเป็นเหลี่ยมมุมหรือที่มีลักษณะแบน หรือทรายที่มีความละเอียดจะใช้ปริมาณน้ำที่มากกว่าทรายหยาบ เมื่อต้องการคอนกรีตที่มีความสามารถเทได้ เท่าๆกัน นั้นคือ ปริมาณซีเมนต์ที่ใช้ในส่วนผสมจะแตกต่างกนราคาคอนรกีตก็จะแตกต่างกันด้วย
           -ชนิดของโครงสร้าง
โครงสร้างคอนกรีตที่มีความสำคัญมากๆ เช่น เขื่อนหรือผนังห้องปฏิกรณ์ปรมาณู การออกแบบจำเป็นต้องใช้คอนกรีตที่ีมีส่วนเผื่อ มากกว่าคอนกรีตโครงสร้างทั่วๆ ไป หรือโครงสร้างคอนกรีตสำหรับบ่อบำบัดน้ำเสีย ผู้ออกแบบจำเป็นต้องเลือกใช้ ส่วนผสมคอนกรีตที่มีปริมาณและชนิดของซีเมนต์ทีแตกต่างจากโครงสร้างทั่วๆไป เพื่อให้ได้ความทนทานที่สูง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาคอนกรีต เป็นต้น

2.วิธีการทำงาน
ขบวนการลำเลียงวัตถุดิบ วิธีการผสม การลำเลียง คอนกรีตสู่สถานที่เทรวมถึงการทำให้คอนกรีตอัดแน่น ล้วนแต่กระทบต้นทุนของคอนกรีต ที่ผู้ออกแบบต้องนำมาพิจารณา

3.การควบคุมงานคอนกรีต
ต้นทุนการควบคุมงานคอนกรีตนี้ รวมตั้งแต่ต้นทุนการควบคุมคุณภาพคอนกรีต ณ หน่วยงานก่อสร้าง จนเริ่มใช้งานโครงสร้างนั้น

การออกแบบส่วนผสมคอนกรีต(3.ความสัมพันธ์ที่มีประโยชน์ในการออกแบบ)

ความสัมพันธ์ที่มีประโยชน์ในการออกแบบส่วนผสมคอนกรีต

1.กำลังอัดและอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์
    สำหรับวัสดุผสมคอนกรีตที่กำหนดไว้ ค่ากำลังอัดจะมี ความสัมพันธ์กับอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ ตาม Ablam's Law  ดังนี้

fcm  คือ ค่ากำลังอัดของคอนกรีต ณ อายุที่กำหนด
A      คือ  ค่าคงที่
B      คือ   ค่าคงที่ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของซีเมนต์ และค่า อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์โดยน้ำหนัก



ตามสมการนี้ จะพบว่า กำลังอัดจะเป็นสัดส่วนผกผันกับอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ค่าความสัมพันธ์นี้ สามารถแสดงได้ดังกราฟนี้
ความสัมพันธ์ระหว่างกำลังอัดและอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์
2.คุณสมบัติของมวลรวมกับประมาณน้ำ
คุณสมบัติของมวลรวมที่มีผลต่อปริมาณน้ำ และความสามารถเทได้ของคอนกรีตมีดังนี้
-รูปร่างและลักษณะผิว
-ขนาดและส่วนคละ
           - ขนาดคละของมวลรวม
           - ขนาดใหญ่สุดของมวลรวม
           - อัตราส่วนของมวลรวมละเอียดต่อมวลรวมหยาบ
-ปริมาณความชื้น
           - การดูดซึมของน้ำและความชื้นที่ผิว
           - การเพิ่มขึ้นของปริมาตรของทราย
-ความถ่วงจำเพราะ
-หน่วยน้ำหนักและช่องว่าง ซึ่งสัมพันธ์กับขนาดและส่วนคละของมวลรวม

3.ความสามารถเทได้และปริมาณน้ำ
ความสามารถเทได้ของคอนกรีตจะมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อปริมาณน้ำในส่วนผสม กล่าวคือ ความสามารถเทได้ของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น แต่ความสัมพันธ์นี้จะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เมื่อคุณสมบัติของวัสดุผสมเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งจะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการใช้วัสดุผสมพิเศษอื่นๆ ด้วย

การวัดความสามารถเทได้ของคอนกรีตมีหลายวิธี ผู้ออกแบบควรกำหนดวิธีที่เหมาะสมดังแสดงในตาราง
วิธีการวัดค่าความสามารถเทได้ของคอนกรีต
4.ต้นทุนและประสิทธิภาพการใช้งาน
เป้าหมายที่สำคัญที่สุดของการหาสัดส่วนผสมคอนกรีตก็เพื่อที่จะให้ได้คอนกรีตที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามข้อกำหนดแลการใช้งาน ในราคาที่ถูกที่สุด
          โดยทั่วไปข้อกำหนดของงานคอนกรีต สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
-การกำหนดคุณสมบัติทั่วๆไป
            -ค่ายุบตัวมาตรฐาน
            -ค่ากำลังอัดทั่วๆไป
            -ความทนทานทั่วๆไป
           การที่จะให้ได้คอนกรีตที่มีคุณสมบัติดังกล่าวทำได้โดยกำหนดสัดส่วนผสมที่มีปริมาณปูนซีเมนต์ต่ำที่สุด และใช้อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ที่สูงสุด เป็นต้น

-การกำหนดคุณสมบัติพิเศษ
             -มีความสามารถเทได้สูงมากๆ
             -เกิดความร้อนจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่นไม่สูงมาก
             -กำลังอัดสูง หรือกำลังอัดสูงในเวลารวดเร็ว
             -ความทนทานพิเศษต่างๆ เช่น ทนต่อซัลเฟต เป็นต้น
   คอนกรีตพวกนี้อาจจำเป็นต้องใช้วัสดุพิเศษประเภทอื่นๆ เป็นส่วนผสมด้วบ เช่น
    ปูนซีเมนต์และวัสดุทดแทนปูนซีเมนต์ เช่น ปูนปอร์ตแลนด์ ประเภท 3 , ปูนปอร์ตแลนด์ต้านทานซัลเฟต (ประเภท 5) , PFA , GGBS , MS
     สารผสมเพื่ม เช่น สารเร่งหรือหน่วงการก่อตัว,สารลดน้ำหรือสารลดนำจำนวนมาก , สารกักกระจายฟองอากาศ
      มวลรวมพิเศษ เช่น มวลรวมหนัก,มวลรวมเบา, มวลรวมที่มีการหดตัวน้อยมาก
คอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนผสมเสร็จ ปูนน้ำ สลั๊มปั๊ม คอนกรีตสำเร็จ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน ราคาถูก!!ผู้ผลิต-จำหน่าย-ขาย บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตสำเร็จ ปูนผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนน้ำ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน หล่อเสา ปูนกันซึม คอนกรีตสลั๊มปั๊ม เข็มเจาะ แพล้นปูน บางพูน ลำลูกกา ธัญบุรี ปทุมธานี มีนบุรี ถนนนิมิตใหม่ รามอินทรา สายไหม เอกชัย พระราม2 คลองหลวง รังสิต นวนคร บางเขน นนทบุรี บางซื่อ บางขุนเทียน บางมด ตลิ่งชัน สุขุมวิท พระราม9 ปทุมวัน ลาดกระบัง นวมินทร์ บางแค บางปู สมุทรปราการ บางนา ท่าพระ ราษฏร์บูรณะ กทม.ราคาถูก รถโม่เล็ก รถโม่ใหญ่

บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนตราช้าง งานคุณภาพผลิตตรงจากแพล้นคอนกรีต สนใจติดต่อสั่งซื้อได้ที่ 02-181-0288 หรือ 02-181-0188 ติดต่อมือถือ 089-797-3536
Back To Top