คอนกรีตงานห้องเย็นซีแพค
คอนกรีตถึงแม้จะเป็นวัสดุที่มีความแข็งแกร่งทนทานสูงในสภาพอุณหภูมิปกติก็ตาม แต่เมื่อต้องอยู่ในสภาพอากาศที่หนาวเย็นถึงระดับจุดเยือกแข็ง เช่น ในห้องแช่แข็งหรือห้องเย็นที่มีอุณหภูมิที่ต่ำถึง -40 องศาเซลเซียส คอนกรีตจะเกิดการแตกร้าวหลุดร่อนหลักการใช้งาน จึงต้องทำการซ่อมแซมเกือบปี นอกจากทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมที่มากมายแล้วยังต้องปิดห้องเย็นเพื่อซ่อมซึ่งทำให้การค้าต้องหยุดชะงัก อีกทั้งยังต้องเสียค่าพลังงานในการลดอุณหภูมิหลังการซ่อมให้ได้ ณ จุดเดิมอีก ปัญหา ดังกล่าวจะหมดไปด้วย อีกหนึ่งวัตกรรมจากซีแพค
CPAC Freezing Room Concrete คือ นวัตกรรมของคอนกรีตที่ทีมวิศวกรของซีแพคได้วิจัยและพัฒนาขึ้นเพื่อให้มีความสามารถสูงในการต้านทานการแตกร้าว ซึ่งเกิดจากการแข็งตัวของน้ำในคอนกรีต อีกทั้งยังทนทานต่อการขัดสีที่บริเวณผิวหน้าจากการใช้งานรถขนถ่ายสินค้า (Fork lift) จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานห้องแช่แข็ง ห้องเย็น และห้องปรับอุณหภูมิ (Ante Room) อย่างแท้จริง
โดยปกติในคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วจะยังมีน้ำอยู่จำนวนหนึ่งที่หลงเหลืออยู่ใน Capillary Pores ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงที่อุณหภูมิปกติ แต่ในห้องแช่แข็งหรือห้องปรับอุณหภูมินั้น เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงถึงจุดเยือกแข็ง น้ำที่หลงเหลืออยู่ในช่องว่างจะมีปริมาตรเพิ่มขึ้นและขยายตัวดันให้คอนกรีตแตกร้าว และต่อมาเมื่ออุณหภูมิ (ห้องปรับอุณหภูมิ) น้ำในช่องว่างจะละลายและเคลื่อนที่ไปอยู่ตามรอยแตกที่เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อมีการลดอุณหภูมิอีกครั้งน้ำในรอยแตกเหล่านี้ก็จะขยายตัวดันให้รอยแตกขยายใหญ่ขึ้นอีก
กระบวนการเช่นนี้จะเกิดสลับกับไปเรื่อยๆ จนคอนกรีตแตกร้าวเสียหาย ทั้งที่บริเวณผิวและภายในจนสูญเสียความสามารถในการใช้งานและความสามารถในการรับกำลังในที่สุด
ข้อแนะนำในการก่อสร้าง เพื่อใช้คอนกรีตห้องเย็นซีแพคให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ในการก่อสร้างพื้นห้องเย็นนอกจากจะต้องใช้คอนกรีตที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมแล้ว การเสริมเหล็กเพื่อช่วยรับการหดตัวเมื่อทำการปรับลดอุณหภูมิลง ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงต้องทำการเสริมเหล็กในปริมาณที่เพียงพอเพื่อป้องกันการแตกร้าวของพื้น
การเสริมเหล็ก
-ตามข้อแนะนำของ ACI 224R Control of Cracking in Concrete Structures ได้กำหนดปริมาณเหล็กเสริมไม่ควรต่ำกว่า 0.60% ในโครงสร้างพื้นที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิ และการหดตัวเป็นพิเศษ
-การแตกร้าวของพื้นห้องเย็น บริเวณมุมประตูหรือมุมเสาเกิดจากการยึดรั้งตามมุมทำให้เกิด Stress Concentration สูง ส่วนมากมักจะเกิดบริเวณมุมนอก (Outward) มากกว่า มุมภายใน ( Inward ) จึงควรทำการป้องกันโดยการเสริมเหล็กพิเศษขวางตามแนวที่จะเกิดการแตกร้าว โดยเหล็กเสริมควรมีขนาด 12 มม. ขึ้นไป วางอยู่ในระดับกึ่งกลางของความหนาพื้น การเสริมเหล็กพิเศษดังกล่าวจะช่วยกระจายการแตกร้าวขนาดใหญ่ใหญ่ไปเป็นรอยแตกร้าวขนาดเล็กจำนวนมากที่มองไม่เห็น
การควบคุมการแตกร้าว
-การทำรอยต่อ(Joint) เป็นการบังคับให้การแตกร้าวเกิดในตำแหน่งที่กำหนด โดยทั่วไปควรทำ Contraction joint ที่ระยะห่างทุกๆ 24-35 เท่าของความหนาแผ่นพื้น และแบ่งพื้นเป็นสี่เหลี่ยมชิ้นเล็กๆ โดยให้อัตราส่วนด้านยาวต่อด้านสั้นไม่เกิน 1.5 :1.0 และถ้าเป็นไปได้ควรเปลี่ยนตำแหน่งของพื้นที่ต่างๆระดับให้อยู่ใน Grid เดียวกัน
-ในการทำ Contraction joint ด้วยการใช้เลื่อยตัด (Sawed cut) ระยะเวลาในการตัดควรทำให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้หลังจากคอนกรีตแข็งตัวแล้ว รอยตัดจะต้องให้มีความลึกมากพอ เพื่อบังคับให้การแตกเกิดในแนวรอยตัด ACI 302.1R Guide For Concrete Floor and Slab Construction แนะนำให้ความลึกรอยตัดเท่ากับ ¼ ของความหนาพื้น หากรอยตัดตื้นเกินไป รอบแตกจะเกิดแบบกระจายทั่วไป (Random Crack)
-บริเวณรอยต่อควรมีการใช้วัสดุอุด (Joint Filling Compound) ที่ทนต่ออุณหภูมิติดลบ 40 องศาเซลซียส ได้ เช่น วัสดุประเภทโพลียูริเทน (Polyurethane base)
-บริเวณรอยต่อในห้องทางเดินควรมีการ Break ด้วย Water Stop เพื่อกันการซึมผ่านของน้ำแข็งที่ละลายลงสู่ชั้นโฟม (เพราะเมื่อน้ำที่ไหลลงไปเกิดการเซ็งตัวจะดันตัวให้ชั้นโฟมแตกเสียหายได้)
การป้องกันการแยกตัวระหว่างพื้น Ante room กับ Freezing room
-บริเวณประตูทางเข้าห้องแช่แข็ง (Freezing Room) ควรมีการยื่นพื้นรอยต่อเข้าไปข้างในลึก 1.5 เมตร ความกว้างเท่ากับความกว้างของประตู เพื่อป้องกันการแยกตัวของพื้นห้องเย็น
การปรับลดอุณหภูมิ
-การเริ่มปรับลดอุณหภูมิในห้องเย็นควรทำหลังจากเทคอนกรีตไปแล้ว 28 วัน เนื่องจากการพัฒนากำลังอัดของคอนกรีตจะหยุดลงเมื่อมีการปรับลดอุณหภูมิ
-ระยะเวลาในการปรับอุณหภูมิลง ข้อแนะนำคือไม่ควรเร็วกว่า 1 เดือน โดยที่การปรับลดที่เป็นบวกให้ปรับลดลงวันละ 3 องศาเซลเซียส และเมื่อถึง 0 องศาเซลเซียส ให้ทิ้งไว้ 5-7 วัน จากนั้นปรับลดอุณหภูมิที่ติดลบลงวันละ 1-1.5 องศาเซลเซียส เพราะถ้าทำการปรับเร็วเกินไปอาจเกิดปรากฏการณ์ Thermal Shock ซึ่งจะทำให้คอนกรีตเกิดการแตกร้าวได้
การขัดผิวหน้าคอนกรีต
ควรวางแผนการขัดผิวคอนกรีตให้ดี เนื่องจากการขัดผิวที่ดีมีส่วนช่วยในเรื่องของ Abrasion Resistance โดยห้ามใช้น้ำพรมเพื่อช่วยในการขัดผิวหน้าคอนกรีต เพราะจะทำให้ผิวคอนกรีตมีกำลังต่ำและหลุดร่อน