งาน บริการคอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตซีแพค CPAC

งานบริการเทครอนกรีตของซีแพคCpac นอกจากจะมี คอนกรีตมาตรฐานของซีแพคแล้ว ยังมีคอนกรีตประเภทอื่นอีก เพื่อเลือกใช้ตามชนิดงานให้ถูกประเภท


คอนกรีตความร้อนต่ำซีแพค   CPAC Low Heat Concrete 
     การเทคอนกรีตในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่มีขนาดกว้างยาวมากกว่า เมตร และความหนามากกว่า 0.5 เมตร เช่น เขื่อนคอนกรีต ตอม่อ ฐานรากแผ่ กำแพงพืด (Diaphragm Wall) ความร้อนจากปฏิกิริยาระหว่างปูนซีเมนต์กับน้ำ (Heat of Hydration) จะสะสมอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อุณหภูมิในเนื้อคอนกรีตสูงขึ้นมากกว่า 70 องศาเซลเซียส

     ความร้อนที่สะสมในโครงสร้างคอนกรีตนั้นจะถูกถ่ายเทสู่ภายนอก ความร้อนที่อยู่ภายในจะถ่ายเทออกได้ช้ากว่าบริเวณผิวคอนกรีต ก่อให้เกิดความแตกต่างของอุณหภูมิที่ผิว และภายในโครงสร้าง (Differential Temperature) ทำให้โครงสร้างของคอนกรีตเกิดการหดตัวและการยึดรั้งที่ต่างกันในที่สุดคอนกรีตจะแตกร้าว(Thermal Crack)
      หลังการแตกร้าว น้ำและความชื้นจะซึมผ่านโครงสร้างคอนกรีต เข้าทำลายเหล็กเสริม ทำให้โครงสร้างไม่สามารถรับกำลังตามที่ออกแบบไว้ และความทนทานของโครงสร้างจะลดลงอย่างมาก 

CPAC Low Heat Concrete คือ คอนกรีตพิเศษที่ซีแพควิจัย และพัฒนาขึ้นเพื่อควบคุมปริมาณความร้อนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่นโดยตรง ด้วยการควบคุมปริมาณแคลเซียมออกไซด์ ที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดความร้อนในคอนกรีต โดยการเพิ่มวัสดุปอซโซลาน ประเภทPFA (Pulverized Fuel Ash) เข้าไปในส่วนผสมคอนกรีต นับเป็นวิธีการแก้ปัญหาการแตกร้าวจากความร้อนที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง
 ปัจจุบัน ซีแพคได้มีการพัฒนาส่วนผสมคอนกรีตอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมปริมาณความร้อนที่เกิดขึ้นให้เหมาะกับขนาดของโครงสร้าง และเป็นไปตามข้อกำหนดเพื่อลดปัญหาการแตกร้าวภายในโครงสร้างคอนกรีต

คอนกรีตงานดาดฟ้าซีแพค   CPAC Roof - Slab Concrete 

      พื้นดาดฟ้าเป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่ปกป้องตัวอาคารจากความร้อนและฝนโดยตรง ดังนั้น คอนกรีตที่ใช้ก็ควรจะต้องมีคุณสมบัติในเรื่องของความทึบน้ำและความทนทานเป็นอย่างดี แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดสำหรับโครงสร้างประเภทนี้ที่มีผิวสัมผัสอากาศมาก (อัตราส่วนของพื้นที่ผิวต่อปริมาตรสูง) โดยเฉพาะในช่วงกลางวันหรือสถานที่ก่อสร้างที่มีลมแรง คุณสมบัติกันซึมเพียงอย่างเดียวกับโครงสร้างดาดฟ้าจึงไม่เพียงพอ มักจะพบปัญหารอยแตกร้าวหดตัวพลาสติก (Plastic Shrinkage Cracks)

     ซึ่งเป็นรอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นหลังจากเทคอนกรีตเพียงไม่กี่ชั่วโมง ความรุนแรงมีตั้งแต่เป็นรอยแตกแบบเส้นผม (Hair Cracks) ที่บริเวณผิวหน้าหรือจนกระทั่งถึงแตกร้าวแบบทะลุ ทำให้เกิดการรั่วซึมของน้ำได้ ส่งผลกระทบต่อความทนทานของโครงสร้างรวมไปถึงปัญหาการใช้งานอาคาร
       
CPAC Roof - Slab Concrete คืออีกขั้นหนึ่งของคอนกรีตกันซึม (Waterproof Concrete) ที่ซีแพคได้ทำการพัฒนาขึ้นให้เหมาะสมกับการใช้งานในโครงสร้างพื้นดาดฟ้าเพื่อแก้ปัญหาทั้งระบบกล่าวคือ มีคุณสมบัติกันซึมและลดปัญหาการแตกร้าวแบบหดตัวพลาสติก (Plastic Shrinkage Cracks) โดยการออกแบบส่วนผสมให้มีคุณสมบัติข้างต้น ด้วยการใช้สารผสมเพิ่มพิเศษ ซึ่งช่วยลดโอกาสการเกิดรอยแตกร้าวแบบหดตัวพลาสติกอย่างมาก แต่ทั้งนี้ก็ยังคงคุณสมบัติกันซึมไว้

คอนกรีตงานห้องเย็นซีแพค  CPAC Freezing Room Concrete

     คอนกรีตถึงแม้จะเป็นวัสดุที่มีความแข็งแกร่งทนทานสูงในสภาพอุณหภูมิปกติก็ตาม แต่เมื่อต้องอยู่ในสภาพอากาศที่หนาวเย็นถึงระดับจุดเยือกแข็ง เช่น ในแช่แข็งหรือห้องเย็นที่มีอุณหภูมิที่ต่ำถึง -40 องศาเซลเซียสนั้น คอนกรีตก็จะเกิดปัญหาการแตกร้าวหลุดร่อนออกหลังการใช้งาน การซ่อมแซมนั้นแทบต้องทำเกือบทุกปี นอกจากทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมที่มากมายแล้วยังต้องปิดห้องเย็นเพื่อซ่อม ซึ่งทำให้การค้าต้องหยุดชะงัก อีกทั้งยังต้องเสียค่าพลังงานในการลดอุณหภูมิหลังการซ่อมให้ได้ ณ จุดเดิมอีกจากปัญหาดังกล่าวซีแพคจึงพัฒนาคอนกรีตพิเศษที่เหมาะกับการใช้งานในห้องแช่เย็นและห้องเย็นโดยเฉพาะ

     โดยปกติในคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว จะยังมีน้ำอยู่จำนวนหนึ่งที่หลงเหลืออยู่ใน Capillary Pores ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงที่อุณหภูมิปกติ แต่ในห้องแช่แข็งหรือห้องปรับอุณหภูมินั้น เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงถึงจุดเยือกแข็ง น้ำที่หลงเหลืออยู่ในช่องว่างจะมีปริมาตรเพิ่มขึ้นและขยายตัวดันให้คอนกรีตแตกร้าว และต่อมาเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น (ห้องปรับอุณหภูมิ) น้ำในช่องว่างจะละลายและเคลื่อนที่ไปอยู่ตามรอยแตกที่เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อมีการลดอุณหภูมิอีกครั้งน้ำในรอยแตกเหล่านี้ก็จะขยายตัวดันให้รอยแตกขยายใหญ่ขึ้นอีก กระบวนการเช่นนี้จะเกิดสลับกันไปเรื่อยๆ จนคอนกรีตแตกร้าวเสียหาย ทั้งที่บริเวณผิวและภายในจนสูญเสียความสามารถในการใช้งานและความสามารถในการรับกำลังในที่สุด

CPAC Freezing Room Concrete  คือ นวัตกรรมของคอนกรีตที่ทีมวิศวกรของซีแพคได้วิจัย และพัฒนาขึ้นเพื่อให้มีความสามารถสูงในการต้านทานการแตกร้าวซึ่งเกิดจากการแข็งตัวของน้ำในคอนกรีต และมีความทนทานต่อการขัดสีจากรถขนถ่ายสินค้า (Forklift) บริเวณผิวหน้า จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานห้องแช่แข็ง ห้องเย็น ห้องปรับอุณหภูมิ (Anti Room) อย่างแท้จริง

คอนกรีตชายฝั่งทะเลซีแพค   CPAC Marine Concrete
       โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่ต้องสัมผัสน้ำทะเล น้ำกร่อยหรืออยู่บริเวณชายฝั่ง รวมทั้งโครงสร้างใต้ดินบริเวณนั้นจะประสบปัญหาความเสียหายอย่างมากจากสภาพแวดล้อม ดังนั้นในการออกแบบให้โครงสร้างมีอายุการใช้งานตามที่ต้องการจะต้องคำนึงถึงความต้านทานความเสียหายที่จะเกิดขึ้นด้วย ซึ่งคอนกรีตถือว่าเป็นส่วนสำคัญเนื่องจากเป็น "ด่านแรก" ของโครงสร้างที่จะต้านทานความเสียหาย

       เดิมมีความเข้าใจกันว่า คอนกรีตที่มีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ประเภทที่ ซึ่งมีปริมาณ C3A ที่ต่ำจะเหมาะสำหรับโครงสร้างที่สัมผัสน้ำทะเล แต่เมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบใน้ำทะเลโดยแท้จริงแล้วพบว่าวิธีการนี้ไม่เพียงพอเสียแล้ว ทั้งนี้เพราะในน้ำทะเล มีปริมาณซัลเฟตอยู่ประมาณ 10% ส่วนคลอไรด์นั้นกลับมีปริมาณถึง 90% ดังนั้นการคำนึงถึงทุกองค์ประกอบของน้ำทะเล ดูจะมีเหตุผลมากกว่าการพิจารณาแต่เพียงซัลเฟตเท่านั้น
        
        นอกจากโครงสร้างสัมผัสน้ำทะเลแล้ว โครงสร้างที่สัมผัสไอทะเล ที่อาจจะอยู่ห่างชายฝั่งหลายกิโลเมตรก็ยังจัดว่าเป็นโครงสร้างที่ต้องคำนึงถึงความต้านทานต่อน้ำทะเลเช่นกัน เนื่องจากเกลือในอากาศสามารถแพร่ไปถึงโครงสร้างที่ห่างจากทะเลถึง กิโลเมตร

คลอไรด์ สาเหตุสำคัญของการกัดกร่อนในเหล็กเสริม
         คลอไรด์ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในน้ำทะเลจะซึมเข้าสู่เนื้อคอนกรีต โดยคลอไรด์อิสระ(Free Chloride) จะเป็นส่วนสำคัญ ทำให้เหล็กเสริมภายในเกิดสนิม สนิมเหล็กจะทำให้คอนกรีตสูญเสียแรงยึดเกาะกับเหล็กเสริม     และจะขยายตัวดันให้คอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมหลุดร่อนนอกจากนั้นพื้นที่หน้าตัดเหล็กเสริมก็จะลดลงจนทำให้โครงสร้างพังทลายได้
          จากการวิจัย และศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อความเสียหายของคอนกรีตบริเวณชายฝั่งทะเล ทำให้ซีแพคสามารถพัฒนาCPAC Marine Concrete ให้มีคุณสมบัติครบถ้วนเหมาะสมกับงานโครงสร้างบริเวณชายฝั่งทะเล
โดยเฉพาะ

ความสามารถทนทานต่อการแพร่ของคลอไรด์
          การเพิ่มความสามารถในการจับยึดคลอไรด์ในคอนกรีต(Chloride Binding Capacity) การใช้วัสดุเชื่อมประสานที่เหมาะสม ได้แก่ ปูนซีเมนต์ชนิดที่มีปริมาณ C3A เหมาะสม และวัสดุปอซโซลานจะช่วยลดการแพร่ของคลอไรด์
          ความสามารถทนทานต่อแมกนีเซียมซัลเฟต ด้วยความทึบน้ำที่ดีเยี่ยมของ CPAC Marine Concrete แมกนีเซียมอิออนจะแพร่เข้าไปทำลาย CSH ได้ยาก นอกจากนั้น Ca(OH)2 ซึ่งเป็นสารประกอบที่ก่อให้เกิดการขยายตัวก็จะลดลงจากปฏิกริยาปอซโซลานด้วยเช่นกัน
          ความสามารถทนทานต่อแรงกระทำทางกายภาพ คุณสมบัตินี้ออกแบบมาเพื่อให้สามารถต้านทานต่อแรงกระแทกของคลื่นและการขัดสีของกรวด ทราย โดย CPAC Marine Concrete สามารถอัดแน่นได้ง่ายซึ่งจะทำให้คอนกรีตมีเนื้อสม่ำเสมอ และได้ระยะหุ้มตามต้องการ ดังเห็นได้จากผลทดสอบความสามารถในการต้านทานการขัดสีของ CPAC Marine Concrete ที่มีค่าสูงกว่าคอนกรีตทั่วไปอย่างชัดเจน

คอนกรีตทนกรด   CPAC Acid Attack Resisting Concrete 

       โดยปกติคอนกรีตจะมีสภาพเป็นด่าง หรือ ค่า pH ประมาณ 12.5 แต่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดหรือ pH ต่ำกว่า 6.5 คอนกรีตจะเริ่มเกิดความเสียหายขึ้น ตัวอย่างของกรดที่สามารถกัดกร่อนคอนกรีตอย่างรุนแรงคือ กรด Carbonic, Hydrochloric, Hydrofluoric, Nitric, Phosphoric, Sulfuric, Acetic, Citric, Humic, Lactic และ Tannic

กรดมาจากไหน
1. โรงงานหรือแหล่งผลิตทีมีการใช้กรดในการผลิตหรือได้กรดเป็นผลิตผลจากการผลิต เช่นอุตสาหกรรมผักและผลไม้ดอง อุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา เป็นต้น
2. ระบบบำบัดน้ำเสียและท่อระบายน้ำเสียจากบ้านเรือน ซึ่งโดยระบบทางชีวภาพทำให้เกิดกรดซัลฟุริก (H2SO4)
3. ฝนกรด ซึ่งอาจจะมีกรดซัลฟุริก หรืดคาร์บอนิก เป็นต้น

กรดทำลายคอนกรีตได้อย่างไร
       กรดสามารถทำลายสารประกอบแคลเซียมทุกประเภทที่มีอยู่ในคอนกรีต เช่น แคลเซียมซิลิเกตไฮเดรต (C-S-H) แคลเซียมอลมิเนตไฮเดรต (C-A-H) และแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) โดยส่วนใหญ่แล้ว กรดจะเขาไปทำปฏิกิริยากับสารประกอบแคลเซียมดังกล่าว และได้ผลผลิตเป็นเกลือแคลเซียมซึ่งละลายน้ำได้ง่าย เมื่อสารประกอบแคลเซียมในคอนกรีตถถูกเปลี่ยนไปเป็นเกลือ จะทำให้บริเวณที่ถูกกัดกร่อนสูญเสียความสามารถในการยึดเกาะระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างซีเมนต์เพสต์กับมวลรวม เกลือที่เกิดขึ้นจะสามารถถูกชะล้างออกไปได้ง่าย ทำให้เนื้อคอนกรีตถูกทำลายหายไป และมวลรวมจึงหลุดออกจากคอนกรีตได้ง่าย

ผลกระทบต่อคุณสมบัติทางวิศวกรรม
โครงสร้างสูญเสียกำลังและความแข็งแกร่ง
ความพรุน และความสามารถซึมผ่านของน้ำในคอนกรีตเพิ่มขึ้น ทำให้ความทนทานลดลง
ค่า pH ของคอนกรีตลดลงอย่างมาก
การสูญเสียมวลหรือน้ำหนักคอนกรีต

ความรุนแรงของการกัดกร่อน
      ความรุนแรงของการกัดกร่อนจะขึ้นอยู่กับชนิดและความเข้มข้นของกรด กรดที่มีการกัดกร่อนรุนแรง จะเป็นชนิดที่เปลี่ยนสารประกอบแคลเซียมในคอนกรีตไปเป็นเกลือแคลเซียมที่ละลายน้ำได้ง่าย ดังนั้น กรดเกลือ (HCl) จะเป็นกรดที่มีการกัดกร่อนคอนกรีตที่รุนแรงมาก เนื่องจากเกลือแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) สามารถละลายน้ำได้ดีว่าเกลือแคลเซียมที่เกิดจากกรดชนิดอื่นๆ

CPAC Acid Attack Resisting Concrete คือคอนกรีตพิเศษที่ซีแพควิจัย และพัฒนาขึ้น เพื่อยืดอายุของคอนกรีตในสภาวะกัดกร่อนโดยกรดให้ยาวนานขึ้น  ด้วยหลักการลดปริมาณแคลเซียมไฮดรอกไซด์
Ca(OH)2 ในคอนกรีต โดยการผสมวัสดุปอซโซลานที่มีปริมาณ SiO2 สูงมาก เช่น ซิลิกาฟูม ในส่วนผสมคอนกรีตในระดับที่เหมาะสม ประกอบกับการออกแบบส่วนผสมจากทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญของซีแพคให้มีอัตราส่วนน้ำต่อตัวเชื่อมประสานที่ต่ำที่สุด เพื่อเพิ่มความแน่นของคอนกรีตให้ดีเยี่ยม ซึ่งนับเป็นวิธีการแก้ปัญหาความเสียหายจากการกัดกร่อนโดยกรดที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง


คอนกรีตทนซัลเฟตซีแพค  CPAC Sulphate Resisting Concrete 

          โครงสร้างคอนกรีตทั่วไปที่ต้องสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่มีสารซัลเฟต เช่น ในดิน หรือน้ำใต้ดินน้ำเสียจากบ้านเรือน จากโรงงานอุตสาหกรรมหรือจากโรงงานผลิตสารเคมีบางประเภท จะเกิดปัญหาการผุกร่อน พองตัว และแตกร้าว อย่างรุนแรง ทำให้โครงสร้างไม่สามารถใช้งานตามที่ออกแบบไว้ได้ในที่สุด ดังนั้นการเลือกใช้คอนกรีตที่สามารถทนทานต่อความเสียหายจากซัลเฟตได้ จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่ต้องพิจารณา เป็นลำดับแรกสำหรับโครงสร้างดังกล่าว ปฏิกิริยาไฮเดรชั่นของ ไตรคัลเซียมซิลิเกต(C3S)ไดคัลเซียมซิลิเกต (C2S) และไตรแคลเซียมอลูมิเนต (C3A) ในน้ำปูนซีเมนต์กับน้ำจะก่อให้เกิดสารประกอบแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) แคลเซียมอลูมิเนตไฮเดรต (CAH) และแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรต (CSH)

          กระบวนการกัดกร่อนของซัลเฟตจะเริ่มจากซัลเฟตอิออนของโซเดียมซัลเฟต (Na2So4) และ แมกนีเซียมซัลเฟต (MgSo4) แพร่กระจายเข้าในโพรงคอนกรีตแล้วทำปฏิกิริยากับสารประกอบ Ca(OH)2 และ CAH ที่เหลือจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่น เกิดเป็นยิปซั่ม และคัลเซียมโฟอลูมิเนต Ettringite สารประกอบ ยิปซั่ม และ Ettringite ที่เกิดขึ้นนี้จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นจากเดิมกว่า เท่า ทำให้เกิดการขยายตัวของซีเมนต์เพสท์จนแตกร้าว หลังการแตกร้าว น้ำและความชื้นจะซึมผ่านรอยแตกเหล่านี้เข้าทำลายเหล็กเสริมทำให้เหล็กเสริมเกิดสนิม และพองตัวดันให้คอนกรีตแตกร้าวมากยิ่งขึ้น จนสูญเสียความสามารถในการรับกำลังในที่สุดและสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กคือพื้นที่หน้าตัดของเหล็กเสริมจะลดน้อยลงด้วย นอกจากนั้นปฏิกิริยาของ MgSo4 ยังก่อให้เกิดการสลายตัวของ CSHทำให้ความสามารถในการรับกำลังของคอนกรีตลดลงอีกด้วย จากการวิจัยเกี่ยวกับความเสียหายจากซัลเฟตในคอนกรีตของทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญของซีแพคอย่างต่อเนื่องโดยนำปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการกัดกร่อนมาพิจารณาอย่างละเอียด

        ทำให้ซีแพคสามารถพัฒนาส่วนผสมคอนกรีตที่มีความสามารถในการต้านทานความเสียหายจากซัลเฟตได้สูงสุด และเหมาะกับการใช้งานในประเทศ
    
       CPAC Sulphate Resisting Concrete คือคอนกรีตพิเศษที่ซีแพควิจัย และพัฒนาขึ้นเพื่อให้มีความสามารถในการต้านทานความเสียหายจากซัลเฟตสูงสุด ด้วยหลักการลดปริมาณรวมของ CAH และ Ca(OH)2 ที่เป็นสาเหตุหลักของความเสียหาย โดยการผสมวัสดุปอซโซลานในส่วนผสมคอนกรีตในระดับที่เหมาะสมประกอบกับการออกแบบส่วนผสมจากทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญของซีแพคให้มีอัตราส่วนน้ำต่อตัวเชื่อมประสานที่ต่ำที่สุด และมีปริมาณซีเมนต์ในระดับที่เหมาะสม นับเป็นวิธีการแก้ปัญหาความเสียหายจากซัลเฟตที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง


คอนกรีตพื้นอุตสาหกรรมซีแพค  CPAC Industrial Floor Concrete   

ปัญหาของงานพื้นอุตสาหกรรม : งานพื้นอุตสาหกรรม (Industrial Floor) เป็นอีกงานโครงสร้างที่กำลังเข้ามามีบทบาทในธุรกิจค้าปลีกค้าส่งประเภท Superstore รวมไปถึงอุตสาหกรรมภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาห-กรรมผลิตและประกอบรถยนตร์ หรืออุตสาหกรรมทั่วไป เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ อุตสาห-กรรมการผลิตอาหาร ฯลฯ และเนื่องจากพื้นอุตสาห-กรรม เป็นโครงสร้างคอนกรีตที่ต้องเจอการขัดสีที่ผิวหน้าสูง ทั้งจากรถบรรทุกสินค้าหรือจากรถ Fork Lift ดังนั้น คอนกรีตที่ใช้เทพื้นอุตสาหกรรมจะต้องมีคุณสมบัติทนทาน มีความแข็งแกร่ง ต้านทานการขัดสีได้ดี  และสามารถทำผิวให้เรียบได้ง่าย

           โดยทั่วไปวิธีการหนึ่งเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้ผิวหน้าคอนกรีต คือการเทคอนกรีตปกติทั่วไป แล้วตามด้วยการทำ Floor Hardenerบนผิวหน้าคอนกรีตที่เท  ซึ่งเป็นวิธีการที่ยุ่งยาก คุณภาพผิวหน้าคอนกรีตไม่สม่ำเสมอ อีกทั้งคุณภาพพื้นผิวที่ทำเสร็จแล้วจะขึ้นอยู่กับความสามารถและความชำนาญส่วนบุคคลของช่างผู้ปฏิบัติเป็นหลัก หากช่างไม่มีความชำนาญที่เพียงพอแล้ว และการควบคุมคุณภาพไม่ดีพอ ก็มักพบปัญหา Floor Hardener กระเทาะหลุดร่อนออกจากพื้นคอนกรีต ทำให้ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมภายหลัง

ทางเลือกใหม่ของพื้นอุตสาหกรรม  : เพื่อขจัดปัญหาการทำ Floor Hardener ซึ่งทำการควบคุมคุณภาพได้ยาก ใช้เวลาในการทำงานนานและมีความยุ่งยาก

    CPAC Industial Floor Concrete จึงเป็นทางเลือกใหม่ในงานพื้นอุตสาหกรรมทุกรูปแบบทางซีแพคได้พัฒนาและออกแบบคอนกรีตมาให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงานอุตสาหกรรม ด้วยส่วนผสมคอนกรีตที่มีปริมาณน้ำและปริมาณซีเมนต์ที่เหมาะสม ทำให้คอนกรีตพื้นอุตสาหกรรมCPAC มีคุณสมบัติทนทานต่อการขัดสี  สามารถทำงานได้ง่ายและไม่ต้องทำ Floor Hardener เมื่อเทคอนกรีตแล้วสามารถทำการขัดมันได้เลย ทำให้ประหยัดเวลาและมีความสะดวกรวดเร็ว


คอนกรีตไหลเข้าแบบง่ายซีแพค   CPAC Self-Compacting Concrete 

           สำหรับงานก่อสร้างคอนกรีต การทำคอนกรีตให้แน่นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการรับน้ำหนัก และมีความทนทาน   แต่สำหรับงานก่อสร้างหลายประเภทการทำคอนกรีตให้แน่นด้วยวิธีการปกติหรือใช้คอนกรีตปกติไม่สามารถทำได้ ได้แก่ งานโครงสร้างที่มีเหล็กเสริมซับซ้อนและหนาแน่นมากเป็นพิเศษ หรือโครงสร้างที่การจี้เขย่าทำได้ยากหรือทำไม่ได้เลย รวมทั้งทั้งโครงสร้างเสาหรือกำแพงสูง ที่ไม่สามารถเทได้เพียงครั้งเดียว ล้วนก่อให้เกิดปัญหาที่หนักใจแก่วิศวกรผู้ออกแบบ ผู้รับเหมา และผู้ควบคุมงาน ว่าจะทำอย่างไรให้คอนกรีตไหลผ่านเหล็กเสริมที่หนาแน่นมากๆ เข้าเต็มแบบได้โดยไม่เกิดการแยกตัว รวมทั้งเมื่อถอดไม้แบบออกคอนกรีตมีเนื้อแน่นไม่เป็นรูโพรง(Honeycomb) สามารถรับน้ำหนักตามที่ออกแบบไว้ได้ หรืองานที่มีวิธีการเทคอนกรีตที่ไม่สามารถทำด้วยวิธีปกติ เช่น วิธีการเทด้วยท่อส่งคอนกรีต (Tremie Process) ที่ต้องการคอนกรีตที่มีคุณสมบัติไหลตัวเป็นพิเศษหรือแม้กระทั่งงานซ่อมโครงสร้าง ที่คอนกรีตต้องมีคุณสมบัติทดแทนวัสดุเก่าได้ โดยมีวิธีการทำให้คอนกรีตแน่นได้ง่ายที่สุด แล้ววันนี้ปัญหาดังกล่าวก็หมดไปด้วย CPAC Self-Compacting Concrete

       CPAC Self-Compacting Concrete  คือนวัตกรรมของคอนกรีตที่ซีแพควิจัย และพัฒนาขึ้นให้มีคุณสมบัติของความสามารถในการเปลี่ยนรูปร่าง (Deformability) ความสามารถในการแทรกตัว (Filling Ability) และความสามารถในการต้านทานการแยกตัว (Segregation Resistance) สูง สามารถไหลผ่านเหล็กเสริมที่ซับซ้อนและหนาแน่นมากๆ ได้อย่างง่ายดาย และเนื้อคอนกรีตยังสามารถอัดแน่นเข้าไปยังทุกมุมมองแบบหล่อด้วยน้ำหนักของคอนกรีตเองโดยไม่ต้องมีการจี้เขย่า นอกจากนี้เนื้อคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วยังมีความทึบน้ำและความคงทนสูงทำให้โครงสร้างมีอายุการใช้งานยาวนาน

      CPAC Self-Compacting Concrete ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการทำงาน และได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาตลอดจนข้อจำกัดต่างๆ อย่างมากในงานก่อสร้าง เช่น
   1.โครงสร้างที่มีรูปแบบยากต่อการจี้เขย่า เช่น โครงสร้างประเภท Steel Composited Column, Sandwiched Composited Box, I-Girder, T-Girder, Lining
   2.โครงสร้างที่ไม่สามารถเทได้ภายในครั้งเดียว หรือต้องใช้เทคนิคการเทพิเศษอื่นๆ เช่น เสา หรือกำแพงสูงๆ ทำให้ไม่ต้องเจาะแบบข้าง หรือแบ่งชั้นเท และลดรอยต่อในโครงสร้างลงได้
   3.โครงสร้างที่มีเหล็กเสริมซับซ้อน และหนาแน่นมากๆ
   4.งานซ่อมแซมโครงสร้างที่ต้องการคอนกรีตที่มีการไหลตัวดีเยี่ยม
   5.โครงสร้างที่ต้องการผิวหน้าคอนกรีตที่เรียบ ทำให้ลดระยะเวลา และค่าใช้จ่ายในการตกแต่งผิวหน้า
   6.โครงสร้างที่ต้องการความสะดวก และรวดเร็วในการเทสูง   

CR : ศูนย์วิชาการ ซีแพค CPAC
คอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนผสมเสร็จ ปูนน้ำ สลั๊มปั๊ม คอนกรีตสำเร็จ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน ราคาถูก!!ผู้ผลิต-จำหน่าย-ขาย บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตสำเร็จ ปูนผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนน้ำ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน หล่อเสา ปูนกันซึม คอนกรีตสลั๊มปั๊ม เข็มเจาะ แพล้นปูน บางพูน ลำลูกกา ธัญบุรี ปทุมธานี มีนบุรี ถนนนิมิตใหม่ รามอินทรา สายไหม เอกชัย พระราม2 คลองหลวง รังสิต นวนคร บางเขน นนทบุรี บางซื่อ บางขุนเทียน บางมด ตลิ่งชัน สุขุมวิท พระราม9 ปทุมวัน ลาดกระบัง นวมินทร์ บางแค บางปู สมุทรปราการ บางนา ท่าพระ ราษฏร์บูรณะ กทม.ราคาถูก รถโม่เล็ก รถโม่ใหญ่

บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนตราช้าง งานคุณภาพผลิตตรงจากแพล้นคอนกรีต สนใจติดต่อสั่งซื้อได้ที่ 02-181-0288 หรือ 02-181-0188 ติดต่อมือถือ 089-797-3536
Back To Top