วัสดุที่ใช้ในการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต : สารเคมีที่ใช้ในการอัดฉีด
สารเคมีที่ใช้ในการอัดฉีดเป็นส่วนผสมทางเคมีที่อยู่ในรูปของเจลโฟม หรือสารตกตะกอน ซึ่งจะตรงกันข้ามกับซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัวซึ่งมีการแขวนลอยของอนุภาคในสารอัดฉีด ปฏิกิริยาในสารอัดฉีดอาจจะเกิดขึ้นระหว่างส่วนผสมด้วยกันหรือกับสารอื่น เช่น น้ำที่ใช้ในกระบวนการอัดฉีดปฏิกิริยาที่เกิดจะทำให้การไหลตัวลดลง และก่อตัวเติมเต็มช่องว่างในคอนกรีตที่ต้องการซ่อม
ประโยชน์
ประโยชน์ของการอัดฉีดด้วยสารเคมี คือสามารถใช้ได้ในสภาวะแวดล้อมที่มีความชื้นสูงและมีความหลากหลายของเจล ความหนืด และระยะเวลาการก่อตัว นอกจากนี้ยังสามารถใช้ซ่อมรอยร้าวในคอนกรีต
ที่มีความกว้างเพียง 0.05 มิลลิเมตรได้ (ACI 546R-04) สารเคมีอัดฉีดที่มีความแกร่งสูง เช่น อีพอกซีเรซิน มีคุณสมบัติการยึดเกาะที่ดีกับพื้นผิวที่แห้งและสะอาด หรือในบางกรณีอาจใช้กับพื้นผิวที่เปี ยกก็ได้ สารเคมีอัดฉีดในรูปของเจลหรือโฟมเช่น พอลิยูรีเทน เหมาะสำหรับการป้ องกันน้ำในรอยแตกหรือจุดต่อต่างๆ สารเคมีอัดฉีดบางประเภทสามารถผสมให้มีความเหลวได้เหมือนน้ำ ทำให้สามารถใช้อัดฉีดผ่านรอยแตกใดๆก็ตามที่น้ำสามารถไหลซึมผ่านเข้าไปได้
ข้อจำกัด
สารเคมีที่ใช้อัดฉีดมีราคาแพงกว่าซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัวและการทำงานต้องใช้ทักษะสูงนอกจากนี้อีพอกซีเรซินบางประเภทอาจจะไม่ยึดเกาะในความชื้นปกติ สารยึดเกาะประเภทอีพอกซีเรซินมักจะมีอายุการเก็บสั้น รวมทั้งมักจะแข็งตัวเร็วที่อุณหภูมิสูงทำให้มีระยะเวลาในการทำงานสั้น สารอัดฉีดประเภทเจลหรือโฟมไม่ควรใช้ซ่อมโครงสร้างที่ต้องรับกำลังเนื่องจากส่วนใหญ่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ และจะเกิดการหดตัวได้เมื่อแห้ง
การใช้งาน
เหมาะสำหรับใช้ซ่อมรอยร้าวขนาดเล็ก(โดยทั่วไปในประเทศไทย การอัดฉีดรอยร้าวด้วยอีพอกซีใช้งานกับรอยร้าวที่มีความกว้างอยู่ในช่วง 0.3 ถึง 2 มิลลิเมตร) และป้องกันการซึมผ่านของน้ำหรือความชื้นการเลือกใช้อีพอกซีเรซินแต่ละประเภทเป็นดังนี้
(1) อีพอกซีเรซินที่ใช้ในงานอัดฉีดรอยแตกต้อง มีคุณภาพตามมาตรฐาน ASTM C-881 Type I หรือ IV, Grade 1, Class B หรือ C
(2) ในกรณีที่ต้องการอัดฉีดอีพอกซีเรซินเพื่อให้โครงสร้างคอนกรีตกลับมามีกำลังเท่าเดิมควรใช้อีพอกซีเรซินที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน ASTM C-881 Type IV
(3) ในกรณีซ่อมโดยไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อคืนกำลังให้แก่คอนกรีต อีพอกซีเรซินที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน ASTM C-881 Type I ก็สามารถใช้ได้อย่างเหมาะสม
(4) ไม่ควรทำการเจือจางอีพอกซีเรซินไม่ว่าจะด้วยวิธีใดรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติของอีพอกซีแต่ละประเภทระบุไว้ในภาคผนวกที่ 1
มาตรฐาน
มาตรฐาน ASTM C881 ได้กล่าวถึงสารยึดเกาะอีพอกซีเรซิน ที่ใช้กับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์และคอนกรีต ซึ่งสามารถบ่มตัวได้ภายใต้ความชื้นและยึดเกาะกับพื้นผิวที่เปียกได้
สารเคมีที่ใช้ในการอัดฉีดเป็นส่วนผสมทางเคมีที่อยู่ในรูปของเจลโฟม หรือสารตกตะกอน ซึ่งจะตรงกันข้ามกับซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัวซึ่งมีการแขวนลอยของอนุภาคในสารอัดฉีด ปฏิกิริยาในสารอัดฉีดอาจจะเกิดขึ้นระหว่างส่วนผสมด้วยกันหรือกับสารอื่น เช่น น้ำที่ใช้ในกระบวนการอัดฉีดปฏิกิริยาที่เกิดจะทำให้การไหลตัวลดลง และก่อตัวเติมเต็มช่องว่างในคอนกรีตที่ต้องการซ่อม
ประโยชน์
ประโยชน์ของการอัดฉีดด้วยสารเคมี คือสามารถใช้ได้ในสภาวะแวดล้อมที่มีความชื้นสูงและมีความหลากหลายของเจล ความหนืด และระยะเวลาการก่อตัว นอกจากนี้ยังสามารถใช้ซ่อมรอยร้าวในคอนกรีต
ที่มีความกว้างเพียง 0.05 มิลลิเมตรได้ (ACI 546R-04) สารเคมีอัดฉีดที่มีความแกร่งสูง เช่น อีพอกซีเรซิน มีคุณสมบัติการยึดเกาะที่ดีกับพื้นผิวที่แห้งและสะอาด หรือในบางกรณีอาจใช้กับพื้นผิวที่เปี ยกก็ได้ สารเคมีอัดฉีดในรูปของเจลหรือโฟมเช่น พอลิยูรีเทน เหมาะสำหรับการป้ องกันน้ำในรอยแตกหรือจุดต่อต่างๆ สารเคมีอัดฉีดบางประเภทสามารถผสมให้มีความเหลวได้เหมือนน้ำ ทำให้สามารถใช้อัดฉีดผ่านรอยแตกใดๆก็ตามที่น้ำสามารถไหลซึมผ่านเข้าไปได้
ข้อจำกัด
สารเคมีที่ใช้อัดฉีดมีราคาแพงกว่าซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัวและการทำงานต้องใช้ทักษะสูงนอกจากนี้อีพอกซีเรซินบางประเภทอาจจะไม่ยึดเกาะในความชื้นปกติ สารยึดเกาะประเภทอีพอกซีเรซินมักจะมีอายุการเก็บสั้น รวมทั้งมักจะแข็งตัวเร็วที่อุณหภูมิสูงทำให้มีระยะเวลาในการทำงานสั้น สารอัดฉีดประเภทเจลหรือโฟมไม่ควรใช้ซ่อมโครงสร้างที่ต้องรับกำลังเนื่องจากส่วนใหญ่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ และจะเกิดการหดตัวได้เมื่อแห้ง
การใช้งาน
เหมาะสำหรับใช้ซ่อมรอยร้าวขนาดเล็ก(โดยทั่วไปในประเทศไทย การอัดฉีดรอยร้าวด้วยอีพอกซีใช้งานกับรอยร้าวที่มีความกว้างอยู่ในช่วง 0.3 ถึง 2 มิลลิเมตร) และป้องกันการซึมผ่านของน้ำหรือความชื้นการเลือกใช้อีพอกซีเรซินแต่ละประเภทเป็นดังนี้
(1) อีพอกซีเรซินที่ใช้ในงานอัดฉีดรอยแตกต้อง มีคุณภาพตามมาตรฐาน ASTM C-881 Type I หรือ IV, Grade 1, Class B หรือ C
(2) ในกรณีที่ต้องการอัดฉีดอีพอกซีเรซินเพื่อให้โครงสร้างคอนกรีตกลับมามีกำลังเท่าเดิมควรใช้อีพอกซีเรซินที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน ASTM C-881 Type IV
(3) ในกรณีซ่อมโดยไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อคืนกำลังให้แก่คอนกรีต อีพอกซีเรซินที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน ASTM C-881 Type I ก็สามารถใช้ได้อย่างเหมาะสม
(4) ไม่ควรทำการเจือจางอีพอกซีเรซินไม่ว่าจะด้วยวิธีใดรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติของอีพอกซีแต่ละประเภทระบุไว้ในภาคผนวกที่ 1
มาตรฐาน
มาตรฐาน ASTM C881 ได้กล่าวถึงสารยึดเกาะอีพอกซีเรซิน ที่ใช้กับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์และคอนกรีต ซึ่งสามารถบ่มตัวได้ภายใต้ความชื้นและยึดเกาะกับพื้นผิวที่เปียกได้