สำหรับวิธีผสมปูนด้วยมือ ที่ผมกำลังพูดถึงบางคนอาจนึกแย้งในใจว่า ถ้าไม่ใช้มือผสมแล้วจะใช้อะไรผสมล่ะ? ในที่นี้ผมหมายถึง การผสมปูนโดยใช้แรงคนล้วนๆไม่ได้ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องทุ่นแรงมาช่วย สำหรับช่างมือสมัครเล่นและคนที่ต้องการผสมปูนหรือเทคอนกรีตซ่อมแซมบริเวณต่างๆภายในบ้านเอง หรือ อยากต่อเติมอะไรเล็กๆน้อยๆ เช่น เทคอนกรีตทำม้านั่ง ,หล่อปูนแท่นซิงค์ครัว, เทปูนพื้นปูบล็อกทางเดินรอบบ้าน เป็นต้น
การผสมปูนในที่นี้ยังหมายถึง การผสมที่ต้องมีส่วนผสมของหินเข้าไปด้วย ซึ่งปูนที่เราผสมออกมาโดยมีส่วนผสมของ ปูน+ทราย+หิน จะเรียกว่า “คอนกรีต”
ขั้นตอนวิธีผสมปูนด้วยมือ
1. ตวงส่วนผสมของปูนซีเมนต์กับทราย แล้วเทลงไปรวมกัน
2. ให้ผสมปูนซีเมนต์กับทรายให้เข้ากันเสียก่อน โดยอย่าพึ่งในหินลงไป (เมื่อผสมจนเข้ากันแล้วสังเกตดูจะมองเห็นวัสดุทั้งสองอย่างผสมกันจนออกเป็นสีเทาๆเหมือนปูนซีเมนต์) สาเหตุที่ต้องผสมปูนกับทรายก่อนก็เพราะจะช่วยทุ่นแรงไปได้มาก เพราะถ้าเอาวัสดุทั้งสามอย่างลงไปพร้อมกันแล้วผสมจะต้องใช้แรงเยอะมากเพราะว่าหินจะมีน้ำหนักมาก การที่เราจะผสมวัสดุให้เข้ากันทั้งสามอย่างจึงต้องออกแรงมาก แต่ถ้าผสมปูนกับทรายให้เข้ากันก่อนแล้วค่อยเอาหินใส่ทีหลังจะช่วยทุ่นแรงได้มากและประหยัดเวลากว่า)
3. เมื่อปูนซีเมนต์กับทรายเข้ากันดีแล้ว ก็โกยรวมกันเป็นกอง ใช้จอบตักตรงกลางโกยออกให้เป็นหลุมแล้วใส่น้ำลงไปทิ้งไว้ซักพักหนึ่ง สังเกตดูเมื่อน้ำซึมเข้าไปในเนื้อปูนหมดแล้ว ค่อยเริ่มทำการผสม ช่วงที่ใส่น้ำลงไปและรอให้น้ำซึมเข้าไปในเนื้อปูนก็เอาหินที่เตรียมไว้เทลงไปรอบๆกองปูนที่เราใสน้ำไว้ให้ครบตามอัตราส่วน
4. เมื่อน้ำที่เราใส่ไว้ตรงกลางกองปูนเริ่มซึมหายเข้าไปในเนื้อปูนหมดแล้ว จะมองเห็นปูน (ตรงกลางที่ใส่น้ำ) มีลักษณะเหนียวๆ ก็เริ่มผสมเลย โดยเริ่มผสมจากในหลุมตรงกลางนั่นแหละค่อยๆผสมขยายวงออกมา ให้โกยหินจากรอบๆกองเข้าไปผสมทีละน้อยๆ จากจุดที่เราเริ่มผสมจากตรงกลางก็จะผสมขยายออกมาเรื่อยๆจนหมดกอง
* สาเหตุที่ต้องทำอย่างนี้ก็เพราะว่า ถ้าเราเอาน้ำใส่ตรงกลางกองปูนแล้วทำการผสมเลย สำหรับมือสมัครเล่นอาจเจอปัญหาน้ำทะลักรั่วออกจากกองปูนที่กำลังผสมอยู่ทำให้น้ำปูนไหลออกไปด้วย จึงต้องใช้เทคนิคปล่อยให้น้ำเริ่มอิ่มตัวซึมเข้าไปในเนื้อปูนก่อน
แล้วค่อยทำการผสมจะทำให้ปูนเหนียวไม่ไหลรั่วออกมา และเมื่อผสมจนปูนเหนียวพอสมควรแล้วก็ค่อยกระจากกองปูนออกเพื่อผสมให้ทั่วกอง ในช่วงที่ผสมอยู่นี้หากปูนข้นเกินไปก็เติมน้ำเข้าไปได้ โดยการตักปูนเป็นแอ่งไว้แล้วเทน้ำใส่เข้าไป ต่อจากนั้นก็ค่อยๆผสมกระจากออกมาเหมือนเดิม
ถ้าใช้กระบะผสมก็ง่ายครับ ไม่ต้องกลัวน้ำปูนรั่วออก ทำตามข้อ 1และ 2 เสร็จแล้วก็ใส่น้ำลงไปเลย ตามด้วยหินใส่ให้ครบ เสร็จแล้วพ่อ-แม่-ลูก ก็จับจอบคนละอันร้องเพลงสามัคคีชุมนุมแล้วก็ลงมือ คน-กวน-ผสม เลยครับไม่ต้องเปิดตำราแล้ว ผสมจนเข้ากันดีแล้วก็รีบเอาไปใช้งานให้หมดโดยเร็ว
ควรผสมปูนให้เสร็จโดยใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที
ควรใช้ปูนให้หมด จะเอาไปเทหรือทำอะไรก็แล้วแต่ เทปูนให้เสร็จภายในเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงหลังจากที่เริ่มผสม อย่างช้าสุดก็ไม่ควรเกินชั่วโมงครึ่ง
ก็เอาประมาณนี้นะครับเป็นวิธีผสมปูนด้วยมือ แบบทำกันเองสนุกๆในครอบครัวไม่ต้องซีเรียสมาก ทำในส่วนที่ไม่ส่งผลกระทบอะไรมากกับโครงสร้างบ้าน แต่ถ้าซีเรียสก็ไม่ต้องทำเองนะครับจ้างช่างมืออาชีพมาทำให้จะดีกว่า
* รูปที่สองผสมปูนกับทรายใ้ห้เข้ากันก่อน
** รูปที่สามหลังจากปูนกับทรายเข้ากันแล้วก็ใส่น้ำใส่หินได้เลย ไม่ต้องพะวงเรื่องน้ำปูนรั่วเพราะผสมในกระบะ
การผสมคอนกรีตนั้นอาจผสมสมได้หลายวิธี เช่น ผสมด้วยมือธรรมดาด้วยแรงคนโดยใช้พลั่วหรือจอบผสมปูน ผสมด้วยเครื่องผสมคอนกรีตขนาดเล็กซึ่งมีจำหน่ายสำหรับผสมคอนกรีตโดยใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนหม้อผสม หรือเป็นเครื่องผสมคอนกรีตขนาดใหญ่จากโรงงานและบรรทุกมาส่งยังที่ก่อสร้าง ขณะขับรถมาบนถนนโม่ที่ผสมคอนกรีตก็หมุนผสมไปด้วยเพื่อไม่ให้คอนกรีตแข็งตัวเสียก่อน
ส่วนของผสมคอนกรีต
ส่วนผสมของวัสดุต่างๆ ในคอนกรีตเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องระมัดระวังคอนกรีตจะมีสมบัติดีได้นั้นจะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับความสะอาดของวัสดุ สมบัติของวัสดุ ชนิดของปูนซิเมนต์ อัตราส่วระหว่างน้ำกับปูนซิเมนต์ เพื่อไม่ให้คอนกรีตข้นหรือเหลวเกินไป การผสมให้วัสดุต่างๆ เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียว อัตราส่วนผสมของวัสดุนั้นอาจใช้ได้ 2 วิธีคือ
1. อัตราส่วนผสมโดยน้ำหนักของวัสดุผสมชนิดต่างๆ
2. อัตราส่วนผสมโดยปริมาตรของวัสดุของส่วนผสม
สำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วๆไปนั้นมีส่วนผสมคือ ปูนซิเมนต์ : ทราย: หินย่อย ซึ่งตวงโดยปริมาตรดังนี้
อัตราส่วน 1: 1 ½: 3 ใช้ในกรณีที่หล่อเสาและส่วนของโครงสร้างอาคารที่ต้องการให้แน่นกับน้ำ
อัตราส่วน 1: 2: 4 ใช้ในกรณีที่ต้องการคอนกรีตเสริมเหล็กที่เป็นโครงสร้างทั่วไปเช่น เสา พื้น คาน บันได
อัตราส่วน 1: 3: 5 ใช้ในกรณีที่หล่องานคอนกรีตขนาดใหญ่ เช่น ฐานรากขนาดใหญ่ หรือผนังหนาๆ
การเทคอนกรีต
การเทคอนกรีตนั้นจะต้องระวังอย่าให้ส่วนแยกออกจากกัน เพราะจะทำให้คอนกรีตเสียกำลัง เช่น ในกรณีที่เทคอนกรีตในระยะที่สูงมาก ๆ อาจทำให้วัสดุผสมแยกตัวกัน
ตามปกติในเสาขนาดใหญ่นั้น ถ้าการเทสูงกว่า 2 เมตร จะต้องทำท่อลำเลียงลงไป แต่ในงานขนาดเล็ก เช่น บ้าน ซึ่งเสาขนาดไม่ใหญ่มากและต้องเทเสาสูงเกือบสามเมตร ก็อนุโลมให้เทได้โดยไม่ต้องใช้ท่อ เพื่อให้คอนกรีตแทรกตัวเข้าไปในแบบหล่อได้ทั่วถึงและแน่น ขณะเทจะต้องใช้เครื่องเขย่าคอนกรีตที่เรียกว่า เครื่องสั่น (Vibrator) การใช้เครื่องนี้จะต้องให้สั่นพอสมควร ถ้าสั่นมากจะทำให้น้ำปูนลอยขึ้นมาหน้าผิวคอนกรีต
การผสมปูนในที่นี้ยังหมายถึง การผสมที่ต้องมีส่วนผสมของหินเข้าไปด้วย ซึ่งปูนที่เราผสมออกมาโดยมีส่วนผสมของ ปูน+ทราย+หิน จะเรียกว่า “คอนกรีต”
ขั้นตอนวิธีผสมปูนด้วยมือ
1. ตวงส่วนผสมของปูนซีเมนต์กับทราย แล้วเทลงไปรวมกัน
2. ให้ผสมปูนซีเมนต์กับทรายให้เข้ากันเสียก่อน โดยอย่าพึ่งในหินลงไป (เมื่อผสมจนเข้ากันแล้วสังเกตดูจะมองเห็นวัสดุทั้งสองอย่างผสมกันจนออกเป็นสีเทาๆเหมือนปูนซีเมนต์) สาเหตุที่ต้องผสมปูนกับทรายก่อนก็เพราะจะช่วยทุ่นแรงไปได้มาก เพราะถ้าเอาวัสดุทั้งสามอย่างลงไปพร้อมกันแล้วผสมจะต้องใช้แรงเยอะมากเพราะว่าหินจะมีน้ำหนักมาก การที่เราจะผสมวัสดุให้เข้ากันทั้งสามอย่างจึงต้องออกแรงมาก แต่ถ้าผสมปูนกับทรายให้เข้ากันก่อนแล้วค่อยเอาหินใส่ทีหลังจะช่วยทุ่นแรงได้มากและประหยัดเวลากว่า)
3. เมื่อปูนซีเมนต์กับทรายเข้ากันดีแล้ว ก็โกยรวมกันเป็นกอง ใช้จอบตักตรงกลางโกยออกให้เป็นหลุมแล้วใส่น้ำลงไปทิ้งไว้ซักพักหนึ่ง สังเกตดูเมื่อน้ำซึมเข้าไปในเนื้อปูนหมดแล้ว ค่อยเริ่มทำการผสม ช่วงที่ใส่น้ำลงไปและรอให้น้ำซึมเข้าไปในเนื้อปูนก็เอาหินที่เตรียมไว้เทลงไปรอบๆกองปูนที่เราใสน้ำไว้ให้ครบตามอัตราส่วน
4. เมื่อน้ำที่เราใส่ไว้ตรงกลางกองปูนเริ่มซึมหายเข้าไปในเนื้อปูนหมดแล้ว จะมองเห็นปูน (ตรงกลางที่ใส่น้ำ) มีลักษณะเหนียวๆ ก็เริ่มผสมเลย โดยเริ่มผสมจากในหลุมตรงกลางนั่นแหละค่อยๆผสมขยายวงออกมา ให้โกยหินจากรอบๆกองเข้าไปผสมทีละน้อยๆ จากจุดที่เราเริ่มผสมจากตรงกลางก็จะผสมขยายออกมาเรื่อยๆจนหมดกอง
* สาเหตุที่ต้องทำอย่างนี้ก็เพราะว่า ถ้าเราเอาน้ำใส่ตรงกลางกองปูนแล้วทำการผสมเลย สำหรับมือสมัครเล่นอาจเจอปัญหาน้ำทะลักรั่วออกจากกองปูนที่กำลังผสมอยู่ทำให้น้ำปูนไหลออกไปด้วย จึงต้องใช้เทคนิคปล่อยให้น้ำเริ่มอิ่มตัวซึมเข้าไปในเนื้อปูนก่อน
แล้วค่อยทำการผสมจะทำให้ปูนเหนียวไม่ไหลรั่วออกมา และเมื่อผสมจนปูนเหนียวพอสมควรแล้วก็ค่อยกระจากกองปูนออกเพื่อผสมให้ทั่วกอง ในช่วงที่ผสมอยู่นี้หากปูนข้นเกินไปก็เติมน้ำเข้าไปได้ โดยการตักปูนเป็นแอ่งไว้แล้วเทน้ำใส่เข้าไป ต่อจากนั้นก็ค่อยๆผสมกระจากออกมาเหมือนเดิม
วิธีที่กล่าวถึงทั้งหมดนี้เป็นวิธีผสมปูนด้วยมือที่ไม่มีกระบะผสมนะครับ
ถ้าใช้กระบะผสมก็ง่ายครับ ไม่ต้องกลัวน้ำปูนรั่วออก ทำตามข้อ 1และ 2 เสร็จแล้วก็ใส่น้ำลงไปเลย ตามด้วยหินใส่ให้ครบ เสร็จแล้วพ่อ-แม่-ลูก ก็จับจอบคนละอันร้องเพลงสามัคคีชุมนุมแล้วก็ลงมือ คน-กวน-ผสม เลยครับไม่ต้องเปิดตำราแล้ว ผสมจนเข้ากันดีแล้วก็รีบเอาไปใช้งานให้หมดโดยเร็ว
ควรผสมปูนให้เสร็จโดยใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที
ควรใช้ปูนให้หมด จะเอาไปเทหรือทำอะไรก็แล้วแต่ เทปูนให้เสร็จภายในเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงหลังจากที่เริ่มผสม อย่างช้าสุดก็ไม่ควรเกินชั่วโมงครึ่ง
* รูปที่สองผสมปูนกับทรายใ้ห้เข้ากันก่อน
** รูปที่สามหลังจากปูนกับทรายเข้ากันแล้วก็ใส่น้ำใส่หินได้เลย ไม่ต้องพะวงเรื่องน้ำปูนรั่วเพราะผสมในกระบะ
การผสมคอนกรีตนั้นอาจผสมสมได้หลายวิธี เช่น ผสมด้วยมือธรรมดาด้วยแรงคนโดยใช้พลั่วหรือจอบผสมปูน ผสมด้วยเครื่องผสมคอนกรีตขนาดเล็กซึ่งมีจำหน่ายสำหรับผสมคอนกรีตโดยใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนหม้อผสม หรือเป็นเครื่องผสมคอนกรีตขนาดใหญ่จากโรงงานและบรรทุกมาส่งยังที่ก่อสร้าง ขณะขับรถมาบนถนนโม่ที่ผสมคอนกรีตก็หมุนผสมไปด้วยเพื่อไม่ให้คอนกรีตแข็งตัวเสียก่อน
ส่วนของผสมคอนกรีต
ส่วนผสมของวัสดุต่างๆ ในคอนกรีตเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องระมัดระวังคอนกรีตจะมีสมบัติดีได้นั้นจะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับความสะอาดของวัสดุ สมบัติของวัสดุ ชนิดของปูนซิเมนต์ อัตราส่วระหว่างน้ำกับปูนซิเมนต์ เพื่อไม่ให้คอนกรีตข้นหรือเหลวเกินไป การผสมให้วัสดุต่างๆ เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียว อัตราส่วนผสมของวัสดุนั้นอาจใช้ได้ 2 วิธีคือ
1. อัตราส่วนผสมโดยน้ำหนักของวัสดุผสมชนิดต่างๆ
2. อัตราส่วนผสมโดยปริมาตรของวัสดุของส่วนผสม
สำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วๆไปนั้นมีส่วนผสมคือ ปูนซิเมนต์ : ทราย: หินย่อย ซึ่งตวงโดยปริมาตรดังนี้
อัตราส่วน 1: 1 ½: 3 ใช้ในกรณีที่หล่อเสาและส่วนของโครงสร้างอาคารที่ต้องการให้แน่นกับน้ำ
อัตราส่วน 1: 2: 4 ใช้ในกรณีที่ต้องการคอนกรีตเสริมเหล็กที่เป็นโครงสร้างทั่วไปเช่น เสา พื้น คาน บันได
อัตราส่วน 1: 3: 5 ใช้ในกรณีที่หล่องานคอนกรีตขนาดใหญ่ เช่น ฐานรากขนาดใหญ่ หรือผนังหนาๆ
การเทคอนกรีต
การเทคอนกรีตนั้นจะต้องระวังอย่าให้ส่วนแยกออกจากกัน เพราะจะทำให้คอนกรีตเสียกำลัง เช่น ในกรณีที่เทคอนกรีตในระยะที่สูงมาก ๆ อาจทำให้วัสดุผสมแยกตัวกัน
ตามปกติในเสาขนาดใหญ่นั้น ถ้าการเทสูงกว่า 2 เมตร จะต้องทำท่อลำเลียงลงไป แต่ในงานขนาดเล็ก เช่น บ้าน ซึ่งเสาขนาดไม่ใหญ่มากและต้องเทเสาสูงเกือบสามเมตร ก็อนุโลมให้เทได้โดยไม่ต้องใช้ท่อ เพื่อให้คอนกรีตแทรกตัวเข้าไปในแบบหล่อได้ทั่วถึงและแน่น ขณะเทจะต้องใช้เครื่องเขย่าคอนกรีตที่เรียกว่า เครื่องสั่น (Vibrator) การใช้เครื่องนี้จะต้องให้สั่นพอสมควร ถ้าสั่นมากจะทำให้น้ำปูนลอยขึ้นมาหน้าผิวคอนกรีต
Tag :
การเทคอนกรีต,
การเทคอนกรีตพื้นบ้าน