ขั้นตอนการทำงานเกี่ยวกับ คอนกรีตผสม Steel fiber
1. การจัดเตรียมพื้นที่ (Ground Preparation)
1.1 ในกรณีก่อสร้างแผ่นพื้นคอนกรีตวางบนชั้นดินเดิม (Slab on Grade) ชั้นดินดังกล่าวจะต้องได้รับการบดอัดจนมีความสามารถในการรับน้ำหนักในรูปของค่า Modulus of Subgrade (k) หรือค่า California Bearing Ratio (CBR) ตามที่วิศวกรผู้ออกแบบกำหนด นอกจากนี้ บริเวณผิวหน้าของชั้นดินเดิมจะต้องปรับให้เรียบและได้ระดับด้วยหินคลุก (Crushed Rock) หรือวัสดุอื่น ๆ ที่ได้รับการอนุมัติ
รูปที่ 1 การจัดเตรียมพื้นที่และวางแผ่นพลาสติกบนชั้นดินเดิม
1.2 ชั้นดินเดิมจะต้องทำการบดอัดให้ได้ความหนาแน่น ตามมาตรฐานการทดสอบที่เชื่อถือได้ ในส่วนของระดับผิวหน้าของชั้นดินดังกล่าวจะต้องมีความเรียบและสม่ำเสมอโดยมีค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้ได้ไม่เกิน +/- 10 มิลลิเมตร
1.3 ในกรณีก่อสร้างแผ่นพื้นคอนกรีตบนเสาเข็ม (Pile Supported Slab) ชั้นดินเดิมโดยรอบกลุ่มเสาเข็มจะต้องได้รับการปรับปรุงคุณภาพดินด้วยซีเมนต์ (Cement Stabilized) หรืออาจใช้วิธีการเทคอนกรีตหยาบ (Lean Concrete) ก่อนดำเนินการก่อสร้างแผ่นพื้น สำหรับการก่อสร้างแผ่นพื้นลงบนชั้นดินเดิมจำเป็นต้องพรมน้ำให้ดินมีความชุ่มชื้นเพียงพอเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำออกไปจากมวลคอนกรีต
1.4 เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำออกไปจากมวลคอนกรีตอาจใช้แผ่นพลาสติกวางรองตลอดชั้นดินเดิมก่อนทำการเทคอนกรีต
1.5 บริเวณพื้นที่ก่อสร้างควรหาวิธีการป้องกันผลกระทบเนื่องจากสภาพอากาศที่อาจ ส่งผลกระทบต่อคอนกรีต
1.6 ตรวจสอบระบบไม้แบบและค้ำยันเพื่อใช้เป็น Construction Joint ว่าได้ติดตั้งตรงตามจุดที่วิศวกรผู้ออกแบบกำหนดไว้หรือไม่
รูปที่ 2 จุดต่อและไม้แบบ
1.7 สำหรับบริเวณที่เป็นจุดวิกฤติ (Critical Location) เช่น ส่วนมุมของแผ่นพื้น ช่วงพื้นลดระดับ (Floor Drop) ช่องเปิดในแผ่นพื้น และแผ่นพื้นใกล้เสาอาคาร จะต้องเสริมเหล็กเพิ่มเติมเข้าไปในส่วนดังกล่าวตามปริมาณที่วิศวกรผู้ออกแบบกำหนด ในกรณีทั่วไป เหล็กเสริมจะต้องติดตั้งต่ำกว่าแผ่นพื้นประมาณ 30 มิลลิเมตร และห่างจากส่วนมุมของส่วนวิกฤติ 50 มิลลิเมตร
รูปที่ 3 การเพิ่มเหล็กเสริมบริเวณเสาอาคาร
1.8 ควรวางแผนและกำหนดจุดตั้งเครื่องผสมเส้นใยเหล็ก (Dosing Machine) ในบริเวณที่มีความสะดวกในการทำงาน
รูปที่ 4 เครื่องผสมเส้นใยเหล็ก
1.9 ก่อนดำเนินการก่อสร้างควรตรวจสอบความพร้อมในด้านต่าง ๆ เช่น ถนนทางเข้าสำหรับลำเลียงคอนกรีต เครื่องผสม วัสดุอื่น ๆ ที่ใช้เพิ่มเติมในการผสม ตลอดจนต้องมีเส้นใยเหล็กจำนวนเพียงพอในการผสมลงในคอนกรีตแต่ละครั้ง
2. การผสมเส้นใยเหล็กผสมลงในคอนกรีตสด (Batching and Mixing of Steel Fibre)
2.1 ก่อนผสมเส้นใยเหล็กลงในคอนกรีตสดควรตรวจสอบให้แน่ชัดว่าคุณสมบัติของคอนกรีตและค่าการยุบตัว (Slump) ก่อนผสม มีคุณสมบัติตรงตามรายการข้อกำหนดวัสดุประเภทของคอนกรีตหรือไม่
2.2 ปริมาณเส้นใยเหล็กที่ผสมลงในคอนกรีตสดต้องตรงกับปริมาณที่วิศวกรผู้ออกแบบกำหนดซึ่งโดยทั่วไป ปริมาณเส้นใยเหล็กจะถูกกำหนดเป็นน้ำหนักเส้นใยเหล็กต่อปริมาตรคอนกรีต
รูปที่ 5 WIRAND FF3 Steel Fibre Packaging (20 kg/bag or box)
2.3 การผสมเส้นใยเหล็กลงในคอนกรีตสดสามารถทำได้ในโม่ผสม สำหรับความเร็วการหมุนโม่จะต้องมีความเร็วไม่น้อยกว่า 20 รอบต่อนาที
2.4 ผสมเส้นใยเหล็กลงในคอนกรีตสดด้วยเครื่องผสมเส้นใยเหล็ก (Dosing Machine) หรืออาจใช้วิธีการโปรยเส้นใยด้วยมือ (Manually Add) โดยอัตราการผสมจะต้องมีปริมาณไม่เกิน 40 กิโลกรัมต่อนาที
2.5 เมื่อนำเส้นใยเหล็กผสมลงในคอนกรีตสดจนครบตามจำนวนที่กำหนดจะต้องหมุนโม่ผสมด้วยความเร็วสูงสุดเพื่อให้ส่วนผสมเข้ากันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 – 5 นาที
2.6 ตรวจสอบค่าการยุบตัว (Slump) ของคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กก่อนนำไปใช้งาน ค่าการยุบตัวดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับวิธีการเทคอนกรีตและปริมาณเส้นใยเหล็กในส่วนผสม ซึ่งควรอยู่ในช่วงที่แสดงไว้ในตารางที่ 2.1 และตารางที่ 2.2
รูปที่ 6 ตรวจสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต
ตารางที่ 2.1 ค่าการยุบตัวกรณีเทคอนกรีตโดยตรงไม่ผ่านอุปกรณ์
ปริมาณเส้นใยเหล็ก (กก./ลบ.ม.) ค่าการยุบตัว (มม.)
20 – 25 130
30 – 35 130 - 150
40 - 45 150 - 180
ตารางที่ 2.2 ค่าการยุบตัวกรณีเทคอนกรีตผ่านปั๊ม
ปริมาณเส้นใยเหล็ก (กก./ลบ.ม.) ค่าการยุบตัว (มม.)
15 – 25 150
30 – 35 150 – 180
40 - 45 150 - 180
2.7 สำหรับคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กที่มีค่าการยุบตัวน้อยกว่า 80 มิลลิเมตร ควรใช้น้ำยาผสมคอนกรีตประเภทลดน้ำอย่างมาก (Superplasticizer) ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยให้คอนกรีตมีความเหลวตัวสูง ช่วยให้ทำงานได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องผสมน้ำในคอนกรีตเพิ่มเติม
2.8 ห้ามมิให้ผสมน้ำเพื่อเพิ่มค่าการยุบตัวหรือเพื่อทำให้สามารถทำงานได้ง่ายเนื่องจากมีความเหลวตัวเพิ่มขึ้นโดยเด็ดขาด
3. การเทคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็ก (Concreting)
3.1 เทคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กลงในพื้นที่ที่ได้จัดเตรียมไว้โดยตรงหรืออาจใช้ปั๊มตามดุลยพินิจของวิศวกรผู้ควบคุมงาน
รูปที่ 7 การเทคอนกรีตลงบนพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้
3.2 เกลี่ยและเขย่าคอนกรีตให้แน่นตลอดทั้งบริเวณจากนั้นจึงปรับแต่งผิวหน้าให้ได้แนวและระดับ
รูปที่ 8 การเกลี่ยและเขย่าคอนกรีต
3.3 การปรับแต่งผิวหน้าขั้นสุดท้าย (Finishing) จะสามารถดำเนินการได้เมื่อไม่พบน้ำลอยขึ้นมาบนผิวหน้าคอนกรีต (Free Bleed Water) การแต่งผิวหน้าอาจเลือกใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ได้ตามความเหมาะสม เช่น เกรียงเหล็ก Bull Float หรือ Power Rotary Trowelling เป็นต้น
รูปที่ 9 การปรับแต่งผิวหน้าขั้นสุดท้ายด้วย Power Rotary Trowelling
3.4 ในกรณีเลือกใช้ Power Rotary Trowelling สำหรับแต่งผิวหน้าจะสามารถดำเนินการได้ เมื่อคอนกรีตเริ่มแข็งตัวไปแล้วประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง
3.5 ทำร่องป้องกันการหดและขยายตัว (Saw Cutting) บนแผ่นพื้น เมื่อคอนกรีตเริ่มแข็งตัวไปแล้วประมาณ 12 – 24 ชั่วโมง
รูปที่ 10 การทำร่องป้องกันการหดและขยายตัว
3.6 ร่องป้องกันการหดและขยายตัว ควรมีความกว้างประมาณ 3 – 5 มิลลิเมตร และมีความลึกประมาณ 1/3 ของความหนาแผ่นพื้น
ขอบคุณที่มา https://goo.gl/c6HnGf
1. การจัดเตรียมพื้นที่ (Ground Preparation)
1.1 ในกรณีก่อสร้างแผ่นพื้นคอนกรีตวางบนชั้นดินเดิม (Slab on Grade) ชั้นดินดังกล่าวจะต้องได้รับการบดอัดจนมีความสามารถในการรับน้ำหนักในรูปของค่า Modulus of Subgrade (k) หรือค่า California Bearing Ratio (CBR) ตามที่วิศวกรผู้ออกแบบกำหนด นอกจากนี้ บริเวณผิวหน้าของชั้นดินเดิมจะต้องปรับให้เรียบและได้ระดับด้วยหินคลุก (Crushed Rock) หรือวัสดุอื่น ๆ ที่ได้รับการอนุมัติ
รูปที่ 1 การจัดเตรียมพื้นที่และวางแผ่นพลาสติกบนชั้นดินเดิม
1.2 ชั้นดินเดิมจะต้องทำการบดอัดให้ได้ความหนาแน่น ตามมาตรฐานการทดสอบที่เชื่อถือได้ ในส่วนของระดับผิวหน้าของชั้นดินดังกล่าวจะต้องมีความเรียบและสม่ำเสมอโดยมีค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้ได้ไม่เกิน +/- 10 มิลลิเมตร
1.3 ในกรณีก่อสร้างแผ่นพื้นคอนกรีตบนเสาเข็ม (Pile Supported Slab) ชั้นดินเดิมโดยรอบกลุ่มเสาเข็มจะต้องได้รับการปรับปรุงคุณภาพดินด้วยซีเมนต์ (Cement Stabilized) หรืออาจใช้วิธีการเทคอนกรีตหยาบ (Lean Concrete) ก่อนดำเนินการก่อสร้างแผ่นพื้น สำหรับการก่อสร้างแผ่นพื้นลงบนชั้นดินเดิมจำเป็นต้องพรมน้ำให้ดินมีความชุ่มชื้นเพียงพอเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำออกไปจากมวลคอนกรีต
1.4 เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำออกไปจากมวลคอนกรีตอาจใช้แผ่นพลาสติกวางรองตลอดชั้นดินเดิมก่อนทำการเทคอนกรีต
1.5 บริเวณพื้นที่ก่อสร้างควรหาวิธีการป้องกันผลกระทบเนื่องจากสภาพอากาศที่อาจ ส่งผลกระทบต่อคอนกรีต
1.6 ตรวจสอบระบบไม้แบบและค้ำยันเพื่อใช้เป็น Construction Joint ว่าได้ติดตั้งตรงตามจุดที่วิศวกรผู้ออกแบบกำหนดไว้หรือไม่
รูปที่ 2 จุดต่อและไม้แบบ
1.7 สำหรับบริเวณที่เป็นจุดวิกฤติ (Critical Location) เช่น ส่วนมุมของแผ่นพื้น ช่วงพื้นลดระดับ (Floor Drop) ช่องเปิดในแผ่นพื้น และแผ่นพื้นใกล้เสาอาคาร จะต้องเสริมเหล็กเพิ่มเติมเข้าไปในส่วนดังกล่าวตามปริมาณที่วิศวกรผู้ออกแบบกำหนด ในกรณีทั่วไป เหล็กเสริมจะต้องติดตั้งต่ำกว่าแผ่นพื้นประมาณ 30 มิลลิเมตร และห่างจากส่วนมุมของส่วนวิกฤติ 50 มิลลิเมตร
รูปที่ 3 การเพิ่มเหล็กเสริมบริเวณเสาอาคาร
1.8 ควรวางแผนและกำหนดจุดตั้งเครื่องผสมเส้นใยเหล็ก (Dosing Machine) ในบริเวณที่มีความสะดวกในการทำงาน
รูปที่ 4 เครื่องผสมเส้นใยเหล็ก
1.9 ก่อนดำเนินการก่อสร้างควรตรวจสอบความพร้อมในด้านต่าง ๆ เช่น ถนนทางเข้าสำหรับลำเลียงคอนกรีต เครื่องผสม วัสดุอื่น ๆ ที่ใช้เพิ่มเติมในการผสม ตลอดจนต้องมีเส้นใยเหล็กจำนวนเพียงพอในการผสมลงในคอนกรีตแต่ละครั้ง
2. การผสมเส้นใยเหล็กผสมลงในคอนกรีตสด (Batching and Mixing of Steel Fibre)
2.1 ก่อนผสมเส้นใยเหล็กลงในคอนกรีตสดควรตรวจสอบให้แน่ชัดว่าคุณสมบัติของคอนกรีตและค่าการยุบตัว (Slump) ก่อนผสม มีคุณสมบัติตรงตามรายการข้อกำหนดวัสดุประเภทของคอนกรีตหรือไม่
2.2 ปริมาณเส้นใยเหล็กที่ผสมลงในคอนกรีตสดต้องตรงกับปริมาณที่วิศวกรผู้ออกแบบกำหนดซึ่งโดยทั่วไป ปริมาณเส้นใยเหล็กจะถูกกำหนดเป็นน้ำหนักเส้นใยเหล็กต่อปริมาตรคอนกรีต
รูปที่ 5 WIRAND FF3 Steel Fibre Packaging (20 kg/bag or box)
2.3 การผสมเส้นใยเหล็กลงในคอนกรีตสดสามารถทำได้ในโม่ผสม สำหรับความเร็วการหมุนโม่จะต้องมีความเร็วไม่น้อยกว่า 20 รอบต่อนาที
2.4 ผสมเส้นใยเหล็กลงในคอนกรีตสดด้วยเครื่องผสมเส้นใยเหล็ก (Dosing Machine) หรืออาจใช้วิธีการโปรยเส้นใยด้วยมือ (Manually Add) โดยอัตราการผสมจะต้องมีปริมาณไม่เกิน 40 กิโลกรัมต่อนาที
2.5 เมื่อนำเส้นใยเหล็กผสมลงในคอนกรีตสดจนครบตามจำนวนที่กำหนดจะต้องหมุนโม่ผสมด้วยความเร็วสูงสุดเพื่อให้ส่วนผสมเข้ากันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 – 5 นาที
2.6 ตรวจสอบค่าการยุบตัว (Slump) ของคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กก่อนนำไปใช้งาน ค่าการยุบตัวดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับวิธีการเทคอนกรีตและปริมาณเส้นใยเหล็กในส่วนผสม ซึ่งควรอยู่ในช่วงที่แสดงไว้ในตารางที่ 2.1 และตารางที่ 2.2
รูปที่ 6 ตรวจสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต
ตารางที่ 2.1 ค่าการยุบตัวกรณีเทคอนกรีตโดยตรงไม่ผ่านอุปกรณ์
ปริมาณเส้นใยเหล็ก (กก./ลบ.ม.) ค่าการยุบตัว (มม.)
20 – 25 130
30 – 35 130 - 150
40 - 45 150 - 180
ตารางที่ 2.2 ค่าการยุบตัวกรณีเทคอนกรีตผ่านปั๊ม
ปริมาณเส้นใยเหล็ก (กก./ลบ.ม.) ค่าการยุบตัว (มม.)
15 – 25 150
30 – 35 150 – 180
40 - 45 150 - 180
2.7 สำหรับคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กที่มีค่าการยุบตัวน้อยกว่า 80 มิลลิเมตร ควรใช้น้ำยาผสมคอนกรีตประเภทลดน้ำอย่างมาก (Superplasticizer) ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยให้คอนกรีตมีความเหลวตัวสูง ช่วยให้ทำงานได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องผสมน้ำในคอนกรีตเพิ่มเติม
2.8 ห้ามมิให้ผสมน้ำเพื่อเพิ่มค่าการยุบตัวหรือเพื่อทำให้สามารถทำงานได้ง่ายเนื่องจากมีความเหลวตัวเพิ่มขึ้นโดยเด็ดขาด
3. การเทคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็ก (Concreting)
3.1 เทคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กลงในพื้นที่ที่ได้จัดเตรียมไว้โดยตรงหรืออาจใช้ปั๊มตามดุลยพินิจของวิศวกรผู้ควบคุมงาน
รูปที่ 7 การเทคอนกรีตลงบนพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้
3.2 เกลี่ยและเขย่าคอนกรีตให้แน่นตลอดทั้งบริเวณจากนั้นจึงปรับแต่งผิวหน้าให้ได้แนวและระดับ
รูปที่ 8 การเกลี่ยและเขย่าคอนกรีต
3.3 การปรับแต่งผิวหน้าขั้นสุดท้าย (Finishing) จะสามารถดำเนินการได้เมื่อไม่พบน้ำลอยขึ้นมาบนผิวหน้าคอนกรีต (Free Bleed Water) การแต่งผิวหน้าอาจเลือกใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ได้ตามความเหมาะสม เช่น เกรียงเหล็ก Bull Float หรือ Power Rotary Trowelling เป็นต้น
รูปที่ 9 การปรับแต่งผิวหน้าขั้นสุดท้ายด้วย Power Rotary Trowelling
3.4 ในกรณีเลือกใช้ Power Rotary Trowelling สำหรับแต่งผิวหน้าจะสามารถดำเนินการได้ เมื่อคอนกรีตเริ่มแข็งตัวไปแล้วประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง
3.5 ทำร่องป้องกันการหดและขยายตัว (Saw Cutting) บนแผ่นพื้น เมื่อคอนกรีตเริ่มแข็งตัวไปแล้วประมาณ 12 – 24 ชั่วโมง
รูปที่ 10 การทำร่องป้องกันการหดและขยายตัว
3.6 ร่องป้องกันการหดและขยายตัว ควรมีความกว้างประมาณ 3 – 5 มิลลิเมตร และมีความลึกประมาณ 1/3 ของความหนาแผ่นพื้น
ขอบคุณที่มา https://goo.gl/c6HnGf