วิธีการเทพื้นคอนกรีตที่วางบนดิน (slab on fround)
การเทพื้นคอนกรีตที่วางบนดิน ได้แก่ ลานพื้นคอนกรีตรอบบ้าน (ไม่รวมพื้นชั้น 1 ในบ้าน) พื้นถนน ลานคอนกรีตกว้างๆที่เทบนดิน เป็นระบบพื้น ที่อาศัยดินเป็นตัวรับน้ำหนักโดยตรง(พื้นที่วางบนคานหรือวางบนเข็มไม่อยู่ในขอบข่ายนี้) การทำงานจะต้องมีขั้นตอนที่ถูกต้อง ตามมาตรฐาน แผ่นพื้นจึงจะไม่เกิดรอยแตกร้าวแบบกระจายทั่วไป สามารถรับน้ำหนักได้ ตามที่ต้องการ ขั้นตอนที่สำคัญ ในการทำงานมีดังนี้
การเทพื้นคอนกรีตที่วางบนดิน ได้แก่ ลานพื้นคอนกรีตรอบบ้าน (ไม่รวมพื้นชั้น 1 ในบ้าน) พื้นถนน ลานคอนกรีตกว้างๆที่เทบนดิน เป็นระบบพื้น ที่อาศัยดินเป็นตัวรับน้ำหนักโดยตรง(พื้นที่วางบนคานหรือวางบนเข็มไม่อยู่ในขอบข่ายนี้) การทำงานจะต้องมีขั้นตอนที่ถูกต้อง ตามมาตรฐาน แผ่นพื้นจึงจะไม่เกิดรอยแตกร้าวแบบกระจายทั่วไป สามารถรับน้ำหนักได้ ตามที่ต้องการ ขั้นตอนที่สำคัญ ในการทำงานมีดังนี้
1.การเตรียมพื้นดินเดิม
พื้นดินต้องบดอัดให้แน่น จากนั้นให้รองด้วยทราย แล้วบดอัดให้แน่นอีกครั้งหนึ่ง หากบดอัด ไม่แน่นอาจเกิดการยุบตัวของทรายเมื่อเทคอนกรีต ซึ่งทำให้ปริมาณคอนกรีตที่เทจะมากกว่าที่คำนวณไว้เดิม
การคำนวณปริมาณคอนกรีตที่จะใช้เทนั้น ให้วัดจากพื้นที่จะเทคอนกรีตจริงภายหลังจากตั้งแบบและบดอัดแล้ว ไม่ควรคำนวณจากที่เขียนไว้ การวัดความหนาพื้นที่เทควรวัดหลายๆ ตำแหน่งเพื่อให้คำนวณปริมาณคอนกรีตได้ถูกต้อง หากคำนวณคอนกรีตน้อยกว่าความเป็นจริงแล้ว จะทำให้ต้องสั่งคอนกรีตเพิ่มเติมภายหลัง ซึ่งจะเสียเวลาและอาจเกิดปัญหาคอนกรีตเทได้ไม่ต่อเนื่อง คอนกรีตที่เทใหม่จะไม่ประสานเข้ากับคอนกรีตที่เทไปแล้ว
2.กำหนดความกว้างของพื้นในการเทคอนกรีตและตำแหน่งรอยต่อ
ก่อนจะเทพื้นคอนกรีต จำต้องกำหนดแนวของรอยต่อเสียก่อน เพื่อลดการยืดครั้ง ขอแผ่นพื้นที่เกิดจาก การหดตัวแห้ง ของคอนกรีต รอยต่อของพื้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ
รอยต่อระหว่างพื้นส่วนที่ติดกับผนังหรือพื้นส่วนที่ติดกับขอบทาง หรือพื้นส่วนที่ติดกับเสา เรียกว่า isolation joint หรือ รอยต่อแยกอิสระ เป็นรอยต่อที่ไม่ต้องการให้โครงสร้างมีการเชื่อมต่อกันเพื่อลดปัญหาการยืดรั้งจากการทรุดตัวไม่เท่ากัน
รอยต่อที่แบ่งพื้นออกเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อลดความรุนแรงจากการยืดรั้งเพนื่องจากการหดตัวแบบแห้งของคอนกรีต เรียกว่า Contraction joint หรือ รอยต่อการหดตัว ระยะห่างของรอยต่อขึ้นอยู่กับความหนาของพื้น ควรทำแนวรอยต่อพื้นให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดไม่เกิน ที่ระบุในตารางที่ 1
3.วิธีทำรอยต่อ
3.1 วิธีการทำรอยต่อแยกอิสระ (isolation joint)
การทำรอยต่อสามารถทำได้ง่ายๆโดยการใช้วัสดุกั้น อาทิเช่น แผ่นพลาวติก แผ่นกระดาษอัด ไม้อัดแผ่นโฟมบางๆ เป็นต้น
1.ตัดวัสดุกั้นเป็นแถบยาว โดยความหนามากกว่าความหนาแผ่นพื้นที่จะเท 5ซม
2.นำวัสดุที่ตัดไว้ไปติดกับกำแพงหรือเสา โครงสร้างที่จะทำเป็นรอยต่อและใช้เทปกาวยึดให้แน่นตลอดแนวความยาวที่จะเทแผ่นพื้นคอนกรีต
3.หลังจากเทคอนกรีตเสร็จและพื้นแห้งดีแล้ว จึงตัดวัสดุกั้นส่วนที่เหลือด้านบนออก
บริเวณที่ควรทำรอยต่อแยกอิสระ (isolation joint)