10 ต้องทำ เพื่อผนังปูนแข็งแรง ไม่แตกร้าว มีอะไรบ้าง
1. ต้องนำอิฐแช่น้ำก่อนก่อ 1 ชั่วโมง
เราจะเห็นได้ค่อนข้างบ่อยว่าพี่ช่าง มักจะมีการนำอิฐไปแช่น้ำในถัง หรือใช้สายยางฉีดน้ำเพื่อให้อิฐเปียก วิธีการนี้จะช่วยให้อิฐอิ่มน้ำ อิฐจะได้ไม่มีการแย่งน้ำจากเนื้อปูนก่อ ทำได้ทั้งการรดน้ำให้ชุ่ม หรือแช่น้ำเลยก็ได้ แต่ก่อนจะนำมาใช้งานก่อ ต้องผึ่งลมให้ผิวด้านนอกหมาดตัวดีเสียก่อน แล้วจึงนำมาใช้งานต่อไป..เป็นงานที่ต้องพิถีพิถันมากทีเดียวนะเนี่ย..
2. ต้องก่อสลับแนว
แม้ว่าผนังทั่วไปจะเน้นการก่อแบบครึ่งแผ่นอิฐ หรือก่ออิฐแถวเดียวซึ่งดูไม่น่าจะมีอะไรซับซ้อนมากนัก แต่ก็ควรก่อสลับแนว เพื่อการยึดประสานกันระหว่างชั้นอิฐ ให้ผนังออกมามีความแข็งแรง ทนทาน
3. ต้องไม่ให้ชั้นปูนก่อหนาเกิน 1.5 เซนติเมตร
ในกรณีที่ใช้อิฐมอญ และอิฐบล็อค ชั้นปูนก่อไม่ควรหนาเกิน 1.5 เซนติเมตร เนื่องจากจะทำให้สิ้นเปลืองเนื้อปูน และยังทำให้เกิดการทรุดตัวมากเกินความจำเป็นเมื่อชั้นปูนก่อเริ่มแห้ง (เป็นการทรุดตามปกติ ไม่เป็นอันตราย) และยังจะทำให้ผนังปัญหาโน้มเอียงไม่ได้ดิ่งได้อีกด้วย
ยกเว้นอิฐมวลเบา ที่ตัวเนื้อปูนเป็นปูนกาวพิเศษที่เสริมแรงยึดเกาะ ที่การก่อจะบางเพียง 2-3 มิลลิเมตรเท่านั้น
4. ต้องมีเสาเอ็นและคานทับหลัง
เสาเอ็นและคานทับหลัง ควรมีทุก ๆ ระยะความกว้าง 2.5 เมตร และความสูง 1.5 เมตร เพราะจะทำหน้าที่กระจายน้ำหนักของอิฐก่อผนัง และช่วยไม่ให้ผนังพังพับลงมาได้ ความกว้างของเสาเอ็นและคานทับหลังควรกว้างไม่น้อยไปกว่า 15 เซนติเมตร และหนาเท่ากับความหนาของอิฐ โดยควรมีการเสริมเหล็กโครงสร้างภายในก่อนการหล่อ เพื่อความแข็งแรงด้วย
5. ต้องมีเสาเอ็นที่มุมกำแพง
เช่นเดียวกับเสาเอ็นที่แทรกตัวระหว่างกำแพง เสาเอ็นจะทำหน้าที่เป็นโครงให้ผนังยึด เราไม่ควรก่ออิฐเป็นมุมโดยไม่มีเสา เนื่องจากแนวอิฐจะไม่มีโครงอะไรให้ยึด และส่งผลต่อความแข็งแรงในระยะยาวได้
6. ต้องมีเสาเอ็นที่วงกบประตูและหน้าต่าง
ทุกช่องเจาะ ควรมีเสาเอ็นและคานทับหลังล้อมเป็นกรอบไว้ เพื่อช่วยเป็นโครงให้กับวงกบประตูหรือหน้าต่าง ซึ่งจะมีการขยับเขยื่อนจากการเปิดปิดตลอดเวลา ช่วยกระจายแรงกระทำต่อผนังอิฐ และไม่ควรลืมติดลวดตะแกรงกรงไก่ที่มุมวงกบด้วย เพื่อช่วยกระจายแรงให้กับชั้นปูนฉาบด้วย
7. ต้องเสียบเหล็กหนวดกุ้งทุกระยะ
ผนังอิฐที่แข็งแรง จะต้องมีตัวช่วยยึดชั้นก่ออิฐกับเสา ซึ่งเราใช้วิธีการเสียบเหล็กเส้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร เสียบไปในเสาคอนกรีต ให้มีความยาวส่วนที่ยื่นออกมาไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร เพื่อยึดให้ผนังอิฐมีความแข็งแรง ไม่หลุดออกจากแนวเสา หรือล้มลงมา
8. ต้องรดน้ำอิฐก่อนการฉาบ
หลังจากก่อเสร็จแล้ว เราควรทิ้งช่วงให้ชั้นปูนก่อเซ็ทตัว ก่อนทำการฉาบต่อไป ซึ่งก่อนฉาบ 1 วัน ควรมีการรดน้ำให้ชุ่ม ทิ้งไว้ก่อน และรดน้ำซ้ำอีกครั้งในเช้าวันฉาบ เพื่อป้องกันอิฐแย่งน้ำจากเนื้อปูนฉาบ ซึ่งจะทำให้เกิดการแตกร้าวได้
9. ต้องใช้เครื่องผสมปูนฉาบ
แม้ว่าการใช้จอบแบบดั้งเดิมจะผสมปูนได้เช่นเดียวกัน แต่เนื้อปูนจะเข้ากันได้ดีกว่า หากเราใช้เครื่องมือผสม อย่างสว่านไฟฟ้าติดใบกวน หรือเครื่องผสม เพราะการตีเนื้อปูนด้วยเครื่องมือเหล่านี้ จะทำให้เนื้อปูนเข้ากันได้ดีกว่าการผสมด้วยมือ ช่วยให้เนื้อปูนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
10. ต้องรดน้ำต่อไปอีกเพื่อบ่มผนัง
น้ำเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาความแข็งแกร่งของปูน ดังนั้น เพื่อให้เนื้อปูนมีน้ำเพียงพอต่อการทำปฏิกิริยานั้น ควรมีการรดน้ำผนังที่ฉาบเสร็จแล้วต่อไปอีกวันละอย่างน้อย 1 ครั้ง ตลอดระยะเวลา 3-7 วันหลังฉาบเสร็จ น้ำที่นองในไซท์งานจากการรดน้ำอาจจะทำให้การทำงานในส่วนอื่นลำบากไปบ้าง แต่ไม่ควรละเลย เพราะการทำงานในขั้นตอนนี้จะส่งผลต่อการป้องกันการแตกร้าว และความแข็งแกร่งของผนัง
1. ต้องนำอิฐแช่น้ำก่อนก่อ 1 ชั่วโมง
เราจะเห็นได้ค่อนข้างบ่อยว่าพี่ช่าง มักจะมีการนำอิฐไปแช่น้ำในถัง หรือใช้สายยางฉีดน้ำเพื่อให้อิฐเปียก วิธีการนี้จะช่วยให้อิฐอิ่มน้ำ อิฐจะได้ไม่มีการแย่งน้ำจากเนื้อปูนก่อ ทำได้ทั้งการรดน้ำให้ชุ่ม หรือแช่น้ำเลยก็ได้ แต่ก่อนจะนำมาใช้งานก่อ ต้องผึ่งลมให้ผิวด้านนอกหมาดตัวดีเสียก่อน แล้วจึงนำมาใช้งานต่อไป..เป็นงานที่ต้องพิถีพิถันมากทีเดียวนะเนี่ย..
2. ต้องก่อสลับแนว
แม้ว่าผนังทั่วไปจะเน้นการก่อแบบครึ่งแผ่นอิฐ หรือก่ออิฐแถวเดียวซึ่งดูไม่น่าจะมีอะไรซับซ้อนมากนัก แต่ก็ควรก่อสลับแนว เพื่อการยึดประสานกันระหว่างชั้นอิฐ ให้ผนังออกมามีความแข็งแรง ทนทาน
3. ต้องไม่ให้ชั้นปูนก่อหนาเกิน 1.5 เซนติเมตร
ในกรณีที่ใช้อิฐมอญ และอิฐบล็อค ชั้นปูนก่อไม่ควรหนาเกิน 1.5 เซนติเมตร เนื่องจากจะทำให้สิ้นเปลืองเนื้อปูน และยังทำให้เกิดการทรุดตัวมากเกินความจำเป็นเมื่อชั้นปูนก่อเริ่มแห้ง (เป็นการทรุดตามปกติ ไม่เป็นอันตราย) และยังจะทำให้ผนังปัญหาโน้มเอียงไม่ได้ดิ่งได้อีกด้วย
ยกเว้นอิฐมวลเบา ที่ตัวเนื้อปูนเป็นปูนกาวพิเศษที่เสริมแรงยึดเกาะ ที่การก่อจะบางเพียง 2-3 มิลลิเมตรเท่านั้น
4. ต้องมีเสาเอ็นและคานทับหลัง
เสาเอ็นและคานทับหลัง ควรมีทุก ๆ ระยะความกว้าง 2.5 เมตร และความสูง 1.5 เมตร เพราะจะทำหน้าที่กระจายน้ำหนักของอิฐก่อผนัง และช่วยไม่ให้ผนังพังพับลงมาได้ ความกว้างของเสาเอ็นและคานทับหลังควรกว้างไม่น้อยไปกว่า 15 เซนติเมตร และหนาเท่ากับความหนาของอิฐ โดยควรมีการเสริมเหล็กโครงสร้างภายในก่อนการหล่อ เพื่อความแข็งแรงด้วย
5. ต้องมีเสาเอ็นที่มุมกำแพง
เช่นเดียวกับเสาเอ็นที่แทรกตัวระหว่างกำแพง เสาเอ็นจะทำหน้าที่เป็นโครงให้ผนังยึด เราไม่ควรก่ออิฐเป็นมุมโดยไม่มีเสา เนื่องจากแนวอิฐจะไม่มีโครงอะไรให้ยึด และส่งผลต่อความแข็งแรงในระยะยาวได้
6. ต้องมีเสาเอ็นที่วงกบประตูและหน้าต่าง
ทุกช่องเจาะ ควรมีเสาเอ็นและคานทับหลังล้อมเป็นกรอบไว้ เพื่อช่วยเป็นโครงให้กับวงกบประตูหรือหน้าต่าง ซึ่งจะมีการขยับเขยื่อนจากการเปิดปิดตลอดเวลา ช่วยกระจายแรงกระทำต่อผนังอิฐ และไม่ควรลืมติดลวดตะแกรงกรงไก่ที่มุมวงกบด้วย เพื่อช่วยกระจายแรงให้กับชั้นปูนฉาบด้วย
7. ต้องเสียบเหล็กหนวดกุ้งทุกระยะ
ผนังอิฐที่แข็งแรง จะต้องมีตัวช่วยยึดชั้นก่ออิฐกับเสา ซึ่งเราใช้วิธีการเสียบเหล็กเส้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร เสียบไปในเสาคอนกรีต ให้มีความยาวส่วนที่ยื่นออกมาไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร เพื่อยึดให้ผนังอิฐมีความแข็งแรง ไม่หลุดออกจากแนวเสา หรือล้มลงมา
8. ต้องรดน้ำอิฐก่อนการฉาบ
หลังจากก่อเสร็จแล้ว เราควรทิ้งช่วงให้ชั้นปูนก่อเซ็ทตัว ก่อนทำการฉาบต่อไป ซึ่งก่อนฉาบ 1 วัน ควรมีการรดน้ำให้ชุ่ม ทิ้งไว้ก่อน และรดน้ำซ้ำอีกครั้งในเช้าวันฉาบ เพื่อป้องกันอิฐแย่งน้ำจากเนื้อปูนฉาบ ซึ่งจะทำให้เกิดการแตกร้าวได้
9. ต้องใช้เครื่องผสมปูนฉาบ
แม้ว่าการใช้จอบแบบดั้งเดิมจะผสมปูนได้เช่นเดียวกัน แต่เนื้อปูนจะเข้ากันได้ดีกว่า หากเราใช้เครื่องมือผสม อย่างสว่านไฟฟ้าติดใบกวน หรือเครื่องผสม เพราะการตีเนื้อปูนด้วยเครื่องมือเหล่านี้ จะทำให้เนื้อปูนเข้ากันได้ดีกว่าการผสมด้วยมือ ช่วยให้เนื้อปูนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
10. ต้องรดน้ำต่อไปอีกเพื่อบ่มผนัง
น้ำเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาความแข็งแกร่งของปูน ดังนั้น เพื่อให้เนื้อปูนมีน้ำเพียงพอต่อการทำปฏิกิริยานั้น ควรมีการรดน้ำผนังที่ฉาบเสร็จแล้วต่อไปอีกวันละอย่างน้อย 1 ครั้ง ตลอดระยะเวลา 3-7 วันหลังฉาบเสร็จ น้ำที่นองในไซท์งานจากการรดน้ำอาจจะทำให้การทำงานในส่วนอื่นลำบากไปบ้าง แต่ไม่ควรละเลย เพราะการทำงานในขั้นตอนนี้จะส่งผลต่อการป้องกันการแตกร้าว และความแข็งแกร่งของผนัง