การผสมคอนกรีต


        การผสมคอนกรีต เป็นการนำปูนซีเมนต์ หิน ทราย น้ำ น้ำยาผสมคอนกรีตและวัสดุผสมอื่น ๆ ผสมคลุกเคล้าเข้าด้วยกันในอัตราส่วนที่พอเหมาะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเคลือบหรือหุ้มผิวของมวลรวมทั้งหมดด้วยซีเมนต์เพสต์ และเพื่อผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เป็นเนื้อเดียวกัน อันจะส่งผลให้ได้คอนกรีตที่มีคุณภาพดี


วิธีการผสมคอนกรีต สามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ
        1.การผสมด้วยมือ เหมาะกับงานขนาดเล็กที่ไมเคร่งครัดเรื่องคุณภาพ
        2.การผสมด้วยเครื่อง เครื่องที่ใช้ทั่วๆ ไปจะเป็นแบบ Batch Mixer คือ

          ส่วนผสมจะถูกลำเลียงเข้าไปผสม จากนั้นจะถูกปล่อยออก  แล้วจึงลำเลียงส่วนผสมอีกส่วนหนึ่งเข้าผสมใหม่

เครื่องผสมคอนกรีต
        เครื่องผสมคอนกรีต ถ้าจำแนกตามลักษณะการผสมสามารถจำแนกได้ 2 ประเภทคือ
        1. Batch Mixer เป็นเครื่องผสมที่ผสมครั้งละ 0.5, 1 ลบ.ม. หรืออื่น ๆตามที่เครื่องสามารถจุได้
        2. Continuous Mixer เครื่องผสมชนิดนี้ จะผสมคอนกรีตอย่างต่อเนื่องส่วนมากจะออกแบบไว้ใช้กับงานเฉพาะ เช่น ใช้กับงานเทคอนกรีตถนน หรือ สนามบิน เป็นต้น แต่ถ้าจำแนกตามรูปลักษณะของ

          เครื่องผสม สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ

Drum Mixer และ Pan Mixer
        2.1 Drum Mixer สามารถจำแนกออกได้อีก 3 ประเภท คือ
           Tilting Drum Mixer เครื่องผสมแบบนี้ ตัว Drum สามารถเอียงได้สำหรับการเทคอนกรีตออก ใบกวนอยู่ภายในการคายคอนกรีตออกทำได้รวดเร็วและไม่เกิดการแยกตัว ดังนั้นเครื่องผสมแบบนี้จะเหมาะสำหรับผสมคอนกรีตที่มีความสามารถเทได้ต่ำ ๆ หรือส่วนผสมที่ใช้หินขนาดใหญ่

           Non-Tilting Drum Mixer แกนของเครื่องผสมจะอยู่ในแนวนอนตลอดเวลา การปล่อยคอนกรีตออกจากเครื่องผสมทำโดยการสอดรางเข้าไปใน Drum หรือโดยการหมุน Drum กลับทิศทาง เนื่องจากอัตราการคาย คอนกรีตที่ช้า ดังนั้นอาจมีการแยกตัวเกิดขึ้นได้ เพราะหินอาจถูกปล่อยออกมาช้าส่วนการใส่วัตถุดิบลงในเครื่องผสมทำโดยใช้ Loading Skip

           Stationery Drum Mixer หรือ Horizontal Shaft Mixer
เครื่องผสมแบบนี้ ตัว Drum จะไม่เคลื่อนที่ มีเพียงใบกวนด้านในที่เคลื่อนที่ซึ่งแตกต่างจากเครื่องผสม 2 ชนิดแรกที่ตัว Drum และใบกวนหมุนไป
พร้อม ๆ กัน เครื่องผสมชนิดนี้ ประกอบด้วย Drum ทรงกระบอกวางอยู่ในแนวนอนและมีเพลาวางตัวอยู่ใน แนวนอน โดยมีใบกวนติดอยู่ซึ่งอาจเป็นเพลาเดียว หรือเพลาคู่ เครื่องผสมชนิดนี้ นิยมใช้ในโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จ เพราะสามารถผสมได้ทีละมาก ๆ ใช้เวลาผสมน้อย และคายคอนกรีตออกได้ง่าย

        2.2 Pan-Type Mixer เป็น Forced-Action Mixer แตกต่างจาก Drum Mixer ซึ่งคอนกรีตใน Drum จะตกลงอย่างอิสระ เครื่องผสมแบบนี้
ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ คือ Circular Pan และมีใบกวนติดอยู่กับแกน และจะหมุนรอบแกนที่ตั้งได้ฉากกับแกนของ Pan Mixer บางชนิด Pan จะหมุน บางชนิดใบกวนจะหมุน และมีบางชนิดที่ทั้ง 2 สิ่งหมุนสวนทิศทางกันในเวลาเดียวกัน คอนกรีตจะถูกผสมอย่างดีมาก เครื่องผสมแบบนี้จะมีอุปกรณ์ที่ปัดมอร์ต้าไม่ให้ติดข้าง Pan Mixer

การป้อนวัตถุดิบลงเครื่องผสม ทั่ว ๆ ไปจะมีขั้นตอนดังนี้

        1. เติมน้ำประมาณ 10% ลงในเครื่องผสมเสียก่อน

        2. ป้อนมวลรวม อันได้แก่หินและทราย เข้าเครื่องผสม

        3. เริ่มเติมปูนซีเมนต์หลังจากป้อนมวลรวมเข้าไปแล้ว 10%

        4. เติมน้ำ 80% ระหว่างการป้อนวัสดุอื่น ๆ และเติมน้ำ 10% สุดท้าย  เมื่อป้อนวัสดุอื่น ๆ ทั้งหมดเข้าเครื่องแล้ว

        5. หากมีการใส่น้ำยาผสมคอนกรีตประเภทผง ควรผสมรวมกับ ปูนซีเมนต์ก่อน หากเป็นของเหลว ควรละลายน้ำยาผสมกับน้ำ

เวลาในการผสม
        - ชนิดและขนาดของเครื่องผสม
        - สภาพของเครื่องผสม
        - อัตราการหมุนของเครื่อง
        - ปริมาณคอนกรีตที่ผสม
        - ลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้

มาตรฐานของอเมริกา แนะนำให้ใช้เวลาอย่างน้อย 1 นาที ในการผสมคอนกรีตภายใน 1 ลบ.ม. แรก และเพิ่มเวลา 20 วินาทีต่อปริมาณคอนกรีตที่เพิ่มขึ้น 1 ลบ.ม. เวลาผสมสูงสุดไม่ควรเกิน 5 นาที
คอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนผสมเสร็จ ปูนน้ำ สลั๊มปั๊ม คอนกรีตสำเร็จ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน ราคาถูก!!ผู้ผลิต-จำหน่าย-ขาย บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตสำเร็จ ปูนผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนน้ำ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน หล่อเสา ปูนกันซึม คอนกรีตสลั๊มปั๊ม เข็มเจาะ แพล้นปูน บางพูน ลำลูกกา ธัญบุรี ปทุมธานี มีนบุรี ถนนนิมิตใหม่ รามอินทรา สายไหม เอกชัย พระราม2 คลองหลวง รังสิต นวนคร บางเขน นนทบุรี บางซื่อ บางขุนเทียน บางมด ตลิ่งชัน สุขุมวิท พระราม9 ปทุมวัน ลาดกระบัง นวมินทร์ บางแค บางปู สมุทรปราการ บางนา ท่าพระ ราษฏร์บูรณะ กทม.ราคาถูก รถโม่เล็ก รถโม่ใหญ่

บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนตราช้าง งานคุณภาพผลิตตรงจากแพล้นคอนกรีต สนใจติดต่อสั่งซื้อได้ที่ 02-181-0288 หรือ 02-181-0188 ติดต่อมือถือ 089-797-3536
Back To Top