“ทราย” เป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของการผสมคอนกรีต อาจได้มาจากการขุด ตักหรือดูดทราย ซึ่งวิธีในการผลิตทรายที่เรานำมาใช้กันนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบด้วยกัน คือ การผลิตทรายบก และการผลิตทรายแม่น้ำ
ทรายบก คือ ทรายที่เกิดจากการตกตะกอนทับถมกันของลำน้ำเก่า โดยเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมกันซึ่งอาจอยู่ลึกประมาณ 2-10 เมตร
จะเริ่มจากการใช้รถแบคโฮ ในการขุดตักหน้าดินจนลึกลงไปถึงชั้นทราย และเมื่อขุดลงไปจนถึงชั้นทรายแล้วจะเจอน้ำใต้ดิน ทำให้มีสภาพเป็นแหล่งน้ำขัง หลังจากนั้นจึงใช้เรือที่ติดตั้งเครื่องดูดทราย ดูดทรายที่พื้นบ่อ ก็จะได้ทรายที่มีน้ำปนอยู่ไปตามท่อ เพื่อส่งผ่านเข้าเครื่องแยกและคัดขนาดทราย แยกกรวด รวมไปถึงทำความสะอาดทรายก่อนจะถ่ายลงบ่อทรายในเวลาต่อมา ทรายที่แยกออกมาได้จะถูกกองไว้แยกเป็น 3 ประเภท คือ ทรายหยาบ ทรายละเอียด และทรายถม ส่วนน้ำ หรือกรวดที่ปนมากับทรายนั้นจะถูกส่งไปยังบ่อพักตะกอน แต่ด้วยระบบน้ำในบ่อทรายนั้นส่วนใหญ่จะเป็นระบบปิด ทำให้น้ำที่ผ่านเข้าบ่อพักตะกอนจะไหลวนลงสู่บ่อทรายอีกครั้ง นอกจากว่าในบางช่วงระดับน้ำอาจจะลึกมากเกินไปไม่เหมาะสำหรับการดูดทราย ก็จะทำการดูดน้ำจากบ่อทรายออก จนมีระดับที่สามารถดูดทรายได้ จึงจะทำการดูดทรายต่อไปอีกครั้งหนึ่ง
ทำได้โดยการใช้เรือดูดทรายจากแม่น้ำขึ้นมาตามท่อ แล้วทิ้งไปยังตะแกรงของเรืออีกลำหนึ่ง เพื่อเป็นการแยกกรวดที่มีขนาดใหญ่ออกก่อน หลังจากนั้นเมื่อเรือมาถึงท่าก็จะเปิดท้องเรือเพื่อทิ้งทรายลงแม่น้ำ หรือหากเรือบางลำไม่สามารถเปิดท้ายเรือได้
ก็จะใช้วิธีลำเลียงไปตามสายพานเพื่อส่งลงแม่น้ำ หลังจากทิ้งทรายลงแม่น้ำจนหมดแล้ว ก็จะใช้เรือเพื่อดูดทรายขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนี้จะใช้ตะแกรงที่สามารถคัดแยกทรายหยาบกับทรายละเอียด หลังจากนั้นจึงลำเลียงทรายไปยังที่เก็บหรือกองทรายไว้เพื่อรอการขนส่งต่อไป
สำหรับการดูดทรายนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะด้วยกัน คือ หากต้องดูดในลำน้ำที่มีพื้นที่ไม่กว้างนักและมีทรายอยู่มากเพียงพอ ก็จะใช้การดูดทรายอยู่กับที่ทำให้มีอัตราการดูดทรายต่ำ ส่วนวิธีต่อมา คือ การดูดทรายโดยย้ายไปตามลำน้ำต่างๆ แต่ต้องเป็นลำน้ำที่อนุญาตให้ดูดทรายได้ ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่กว้างและมีความหนาของชั้นทรายน้อย การดูดทรายจึงจำเป็นต้องใช้เรือที่ติดตั้งเครื่องจักรดูดน้ำแบบหอยโข่งต่อกับท่อดูดทราย แล้วจึงดูดทั้งทรายและน้ำขึ้นมาผ่านเครื่องคัดแยกและคัดขนาดทราย จากนั้นค่อยส่งต่อไปยังเรือบรรทุกทรายเพื่อทำการขนส่งต่อไป
สำหรับการผลิตทรายนั้น จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการควบคุมดูแล และการจัดการที่เหมาะสม แต่หากผู้ผลิตทรายบางที่มองข้ามสิ่งเหล่านี้ไปแล้ว ก็จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมได้ เช่น
เกิดจากเครื่องจักรในกระบวนการผลิต จะดูดเอาทั้งตะกอน กรวด ทรายและน้ำปะปนกัน แล้วจึงจะส่งเข้ากระบวนการแยกกรวดและทรายออกจากกัน แล้วจะปล่อยดินที่มีลักษณะขุ่นที่มีทั้งดินและน้ำปนกันจนมีสีเหลืองหรือสีน้ำตาลลงสู่ลำน้ำสาธารณะ ทำให้มีปัญหาในระบบการผลิตน้ำประปา เนื่องจากน้ำยังคงมีตะกอนตกค้างอยู่มาก ประชาชนที่อยู่ท้ายน้ำ และระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย หากทำการดูดทรายในบริเวณแนวลึก หรือแนวตลิ่ง ก็จะเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดการทรุดตัวของตลิ่ง จนเกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางไหลของน้ำ จนทำให้ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างริมตลิ่ง ได้รับความเสียหายตามไปด้วย
1. เกิดการพังทลายของขอบบ่อหรือยุบตัวของดิน เนื่องจากมีการขุดหรือตักทรายลึกมากเกินไป หรือมีความลาดชันของบ่อไม่เหมาะสม อีกทั้งยังกันระยะห่างจากขอบบ่อกับที่ดินของบุคคลอื่นน้อยเกินไปไม่สำพันกับความลึกปากบ่อ ก็จะส่งผลกระทบต่อที่ดินที่อยู่ข้างเคียงได้โดยตรง
2. ทำให้น้ำขุ่นข้นและมีตะกอนแขวน เนื่องจากบ่อดินที่เกิดจากการผลิตทราย เมื่อมีน้ำขังก็จะเป็นในลักษณะขุ่นข้น หรือเป็นโคลน เพราะไม่มีการระบายน้ำออกไปหมุนเวียนกับภายนอก หากเกิดมีระดับน้ำในบ่อสูงจนไม่สามารถทำการดูดทรายขึ้นมาใช้ได้ ทางผู้ประกอบการบางคนก็อาจจะทำการระบายน้ำสู่แหล่งน้ำธรรมชาติโดยตรง ทำให้แหล่งน้ำธรรมชาติขุ่นข้น และมีตะกอนแขวนอยู่เป็นจำนวนมาก ส่งผลต่อการใช้น้ำและสิ่งมีชีวิตในน้ำ
3. ทำให้บ่อน้ำตื้นโดยรอบแห้งแล้ง ในระหว่างการดำเนินงานจะมีการเปิดบ่อลึกจนถึงระดับน้ำใต้ดิน ทำให้ระบบน้ำใต้ดินอื่นๆไหลมารวมกันอยู่ในบ่อทราย จึงเกิดปัญหาบ่อน้ำตื้นของบริเวณโดยรอบ มีปริมาณน้ำน้อยลง หรืออาจไม่มีเลยในฤดูแล้ง
4. ทิ้งวัสดุเหลือใช้จนเกิดปัญหา กระบวนการคัดแยกทรายจะทำให้มีกรวดที่ถูกคัดแยกออกเป็นจำนวนมาก หากไม่มีการจัดการกำจัดเสียให้เหมาะสม ก็จะก่อให้เกิดปัญหาจากการกองกรวดที่ไม่ได้ใช้ทิ้งไว้ในระยะยาว
5. การขนส่งทราย แต่ละครั้งจะมีน้ำหนักการบรรทุกที่มากจนบางครั้งทำให้ถนนเกิดความเสียหาย เกิดปัญหาฝุ่นฟุ้งกระจาย และการร่วงหล่นของทราย รวมไปถึงเสียงดังรบกวน ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับชุมชนที่อยู่ตลอดแนวเส้นทางการขนส่งนั้น
6. การขุดบ่อทราย เมื่อมีการเลิกกิจการไป อาจไม่ได้มีการปรับปรุงพื้นที่ให้เหมาะสม หรือปรับคืนพื้นที่สู่สภาพปกติ ปล่อยเป็นหลุมทิ้งไว้อย่างนั้น ทำให้เกิดปัญหาทัศนียภาพของพื้นที่ หรือก่อให้เกิดอุบัติเหตุอันตรายถึงชีวิตได้
ดังนั้น การผลิตทรายที่ดีและมีคุณภาพ ควรจะได้รับการควบคุมจากผู้ประกอบการที่มีความชำนาญและความรับผิดชอบมากพอที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ดังที่กล่าวมา เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่เช่นเดิม และไม่สร้างความเดือดร้อนในการทำงานให้กับผู้เกี่ยวข้อง หรือพื้นที่ข้างเคียงต่อไป
ขอบคุณที่มา http://www.wannicha.com/
ทรายบก คือ ทรายที่เกิดจากการตกตะกอนทับถมกันของลำน้ำเก่า โดยเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมกันซึ่งอาจอยู่ลึกประมาณ 2-10 เมตร
วิธีการผลิตทรายบก
จะเริ่มจากการใช้รถแบคโฮ ในการขุดตักหน้าดินจนลึกลงไปถึงชั้นทราย และเมื่อขุดลงไปจนถึงชั้นทรายแล้วจะเจอน้ำใต้ดิน ทำให้มีสภาพเป็นแหล่งน้ำขัง หลังจากนั้นจึงใช้เรือที่ติดตั้งเครื่องดูดทราย ดูดทรายที่พื้นบ่อ ก็จะได้ทรายที่มีน้ำปนอยู่ไปตามท่อ เพื่อส่งผ่านเข้าเครื่องแยกและคัดขนาดทราย แยกกรวด รวมไปถึงทำความสะอาดทรายก่อนจะถ่ายลงบ่อทรายในเวลาต่อมา ทรายที่แยกออกมาได้จะถูกกองไว้แยกเป็น 3 ประเภท คือ ทรายหยาบ ทรายละเอียด และทรายถม ส่วนน้ำ หรือกรวดที่ปนมากับทรายนั้นจะถูกส่งไปยังบ่อพักตะกอน แต่ด้วยระบบน้ำในบ่อทรายนั้นส่วนใหญ่จะเป็นระบบปิด ทำให้น้ำที่ผ่านเข้าบ่อพักตะกอนจะไหลวนลงสู่บ่อทรายอีกครั้ง นอกจากว่าในบางช่วงระดับน้ำอาจจะลึกมากเกินไปไม่เหมาะสำหรับการดูดทราย ก็จะทำการดูดน้ำจากบ่อทรายออก จนมีระดับที่สามารถดูดทรายได้ จึงจะทำการดูดทรายต่อไปอีกครั้งหนึ่ง
ทรายแม่น้ำ คือ ทรายที่เกิดจาการกัดเซาะของกระแสน้ำ ซึ่งจะถูกกระแสน้ำพัดมารวมกันอยู่ทางท้ายน้ำ มีลักษณะเป็นทรายละเอียด
วิธีการผลิตทรายแม่น้ำ
ทำได้โดยการใช้เรือดูดทรายจากแม่น้ำขึ้นมาตามท่อ แล้วทิ้งไปยังตะแกรงของเรืออีกลำหนึ่ง เพื่อเป็นการแยกกรวดที่มีขนาดใหญ่ออกก่อน หลังจากนั้นเมื่อเรือมาถึงท่าก็จะเปิดท้องเรือเพื่อทิ้งทรายลงแม่น้ำ หรือหากเรือบางลำไม่สามารถเปิดท้ายเรือได้
ก็จะใช้วิธีลำเลียงไปตามสายพานเพื่อส่งลงแม่น้ำ หลังจากทิ้งทรายลงแม่น้ำจนหมดแล้ว ก็จะใช้เรือเพื่อดูดทรายขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนี้จะใช้ตะแกรงที่สามารถคัดแยกทรายหยาบกับทรายละเอียด หลังจากนั้นจึงลำเลียงทรายไปยังที่เก็บหรือกองทรายไว้เพื่อรอการขนส่งต่อไป
สำหรับการดูดทรายนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะด้วยกัน คือ หากต้องดูดในลำน้ำที่มีพื้นที่ไม่กว้างนักและมีทรายอยู่มากเพียงพอ ก็จะใช้การดูดทรายอยู่กับที่ทำให้มีอัตราการดูดทรายต่ำ ส่วนวิธีต่อมา คือ การดูดทรายโดยย้ายไปตามลำน้ำต่างๆ แต่ต้องเป็นลำน้ำที่อนุญาตให้ดูดทรายได้ ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่กว้างและมีความหนาของชั้นทรายน้อย การดูดทรายจึงจำเป็นต้องใช้เรือที่ติดตั้งเครื่องจักรดูดน้ำแบบหอยโข่งต่อกับท่อดูดทราย แล้วจึงดูดทั้งทรายและน้ำขึ้นมาผ่านเครื่องคัดแยกและคัดขนาดทราย จากนั้นค่อยส่งต่อไปยังเรือบรรทุกทรายเพื่อทำการขนส่งต่อไป
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตทราย
สำหรับการผลิตทรายนั้น จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการควบคุมดูแล และการจัดการที่เหมาะสม แต่หากผู้ผลิตทรายบางที่มองข้ามสิ่งเหล่านี้ไปแล้ว ก็จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมได้ เช่น
ผลกระทบจากการผลิตทรายแม่น้ำ
เกิดจากเครื่องจักรในกระบวนการผลิต จะดูดเอาทั้งตะกอน กรวด ทรายและน้ำปะปนกัน แล้วจึงจะส่งเข้ากระบวนการแยกกรวดและทรายออกจากกัน แล้วจะปล่อยดินที่มีลักษณะขุ่นที่มีทั้งดินและน้ำปนกันจนมีสีเหลืองหรือสีน้ำตาลลงสู่ลำน้ำสาธารณะ ทำให้มีปัญหาในระบบการผลิตน้ำประปา เนื่องจากน้ำยังคงมีตะกอนตกค้างอยู่มาก ประชาชนที่อยู่ท้ายน้ำ และระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย หากทำการดูดทรายในบริเวณแนวลึก หรือแนวตลิ่ง ก็จะเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดการทรุดตัวของตลิ่ง จนเกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางไหลของน้ำ จนทำให้ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างริมตลิ่ง ได้รับความเสียหายตามไปด้วย
ผลกระทบจากการผลิตทรายบก
1. เกิดการพังทลายของขอบบ่อหรือยุบตัวของดิน เนื่องจากมีการขุดหรือตักทรายลึกมากเกินไป หรือมีความลาดชันของบ่อไม่เหมาะสม อีกทั้งยังกันระยะห่างจากขอบบ่อกับที่ดินของบุคคลอื่นน้อยเกินไปไม่สำพันกับความลึกปากบ่อ ก็จะส่งผลกระทบต่อที่ดินที่อยู่ข้างเคียงได้โดยตรง
2. ทำให้น้ำขุ่นข้นและมีตะกอนแขวน เนื่องจากบ่อดินที่เกิดจากการผลิตทราย เมื่อมีน้ำขังก็จะเป็นในลักษณะขุ่นข้น หรือเป็นโคลน เพราะไม่มีการระบายน้ำออกไปหมุนเวียนกับภายนอก หากเกิดมีระดับน้ำในบ่อสูงจนไม่สามารถทำการดูดทรายขึ้นมาใช้ได้ ทางผู้ประกอบการบางคนก็อาจจะทำการระบายน้ำสู่แหล่งน้ำธรรมชาติโดยตรง ทำให้แหล่งน้ำธรรมชาติขุ่นข้น และมีตะกอนแขวนอยู่เป็นจำนวนมาก ส่งผลต่อการใช้น้ำและสิ่งมีชีวิตในน้ำ
3. ทำให้บ่อน้ำตื้นโดยรอบแห้งแล้ง ในระหว่างการดำเนินงานจะมีการเปิดบ่อลึกจนถึงระดับน้ำใต้ดิน ทำให้ระบบน้ำใต้ดินอื่นๆไหลมารวมกันอยู่ในบ่อทราย จึงเกิดปัญหาบ่อน้ำตื้นของบริเวณโดยรอบ มีปริมาณน้ำน้อยลง หรืออาจไม่มีเลยในฤดูแล้ง
4. ทิ้งวัสดุเหลือใช้จนเกิดปัญหา กระบวนการคัดแยกทรายจะทำให้มีกรวดที่ถูกคัดแยกออกเป็นจำนวนมาก หากไม่มีการจัดการกำจัดเสียให้เหมาะสม ก็จะก่อให้เกิดปัญหาจากการกองกรวดที่ไม่ได้ใช้ทิ้งไว้ในระยะยาว
5. การขนส่งทราย แต่ละครั้งจะมีน้ำหนักการบรรทุกที่มากจนบางครั้งทำให้ถนนเกิดความเสียหาย เกิดปัญหาฝุ่นฟุ้งกระจาย และการร่วงหล่นของทราย รวมไปถึงเสียงดังรบกวน ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับชุมชนที่อยู่ตลอดแนวเส้นทางการขนส่งนั้น
6. การขุดบ่อทราย เมื่อมีการเลิกกิจการไป อาจไม่ได้มีการปรับปรุงพื้นที่ให้เหมาะสม หรือปรับคืนพื้นที่สู่สภาพปกติ ปล่อยเป็นหลุมทิ้งไว้อย่างนั้น ทำให้เกิดปัญหาทัศนียภาพของพื้นที่ หรือก่อให้เกิดอุบัติเหตุอันตรายถึงชีวิตได้
ดังนั้น การผลิตทรายที่ดีและมีคุณภาพ ควรจะได้รับการควบคุมจากผู้ประกอบการที่มีความชำนาญและความรับผิดชอบมากพอที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ดังที่กล่าวมา เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่เช่นเดิม และไม่สร้างความเดือดร้อนในการทำงานให้กับผู้เกี่ยวข้อง หรือพื้นที่ข้างเคียงต่อไป
ขอบคุณที่มา http://www.wannicha.com/