ประกอบด้วยของแข็ง ได้แก่ มวลรวม และ ปูนซีเมนต์ ที่แขวนลอยอยู่ในของเหลว ซึ่งก็คือน้ำ คุณสมบัติที่สำคัญของ คอนกรีตสด คือ ความสามารถทำงานได้ ซึ่งหมายถึงคุณสมบัติ หรือพฤติกรรม การเสียรูปของคอนกรีตภายใต้แรงกระทำ
ปัจจัยที่มีผลต่อคอนกรีตสด ขึ้นอยู่กับส่วนผสม ได้แก่ ปริมาณน้ำ คุณสมบัติของมวลรวม ชนิดของปูนซีเมนต์ วัสดุที่ใช้ผสมคอนกรีต และสารผสมเพิ่ม นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับระยะเวลา และอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมอืนๆ เช่น ความชื้นและอุณหภูมิ
คอนกรีตผสมเสร็จ หมายถึง คอนกรีตที่ถูกชั่ง ตวง ตามสัดส่วนที่ออกแบบไว้ และถูกผสม ที่หน่วยผลิตคอนกรีต และถูกส่งไปยังหน่วยงานก่อสร้างในสภาพที่สด และยังไม่แข็งตัว พร้อมใช้งานได้ทันที
โดยทั่วไปมีวิธีการผลิต 3 วิธี
1.คอนกรีตผสมเสร็จจากหน่วยผลิต (central mixed concrete) เป็นคอนกรีตที่ถูกผสม ให้เสร็จในเครื่องผสมแบบอยู่กับที่ และถูกส่งไปทางรถกวน (Truck Agitator) หรือ รถผสม (Truck Mixer) ที่ใช้ความเร็วรอบหมุนเท่ากับรอบกวนคอนกรีต
2.คอนกรีตที่ผสมเสร็จบางส่วนจากหน่วยผลิต (Shrink-Mixed Concrete) เป็นคอนกรีตที่ถูกผสมเพียงบางส่วน ในเครื่องผสมแบบอยู่กับที่และจะผสมจนเสร็จสมบูรณ์ในรถผสมคอนกรีต
3.คอนกรีตที่ผสมเสร็จด้วยรถผสม (Truck-Mixed Concrete) เป็นคอนกรีตที่ถูกผสมตั้งแต่ต้นจนเสร็จ ในรถผสมคอนกรีต
ปัจจัยที่มีผลต่อคอนกรีตสด ขึ้นอยู่กับส่วนผสม ได้แก่ ปริมาณน้ำ คุณสมบัติของมวลรวม ชนิดของปูนซีเมนต์ วัสดุที่ใช้ผสมคอนกรีต และสารผสมเพิ่ม นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับระยะเวลา และอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมอืนๆ เช่น ความชื้นและอุณหภูมิ
คอนกรีตผสมเสร็จ หมายถึง คอนกรีตที่ถูกชั่ง ตวง ตามสัดส่วนที่ออกแบบไว้ และถูกผสม ที่หน่วยผลิตคอนกรีต และถูกส่งไปยังหน่วยงานก่อสร้างในสภาพที่สด และยังไม่แข็งตัว พร้อมใช้งานได้ทันที
โดยทั่วไปมีวิธีการผลิต 3 วิธี
1.คอนกรีตผสมเสร็จจากหน่วยผลิต (central mixed concrete) เป็นคอนกรีตที่ถูกผสม ให้เสร็จในเครื่องผสมแบบอยู่กับที่ และถูกส่งไปทางรถกวน (Truck Agitator) หรือ รถผสม (Truck Mixer) ที่ใช้ความเร็วรอบหมุนเท่ากับรอบกวนคอนกรีต
2.คอนกรีตที่ผสมเสร็จบางส่วนจากหน่วยผลิต (Shrink-Mixed Concrete) เป็นคอนกรีตที่ถูกผสมเพียงบางส่วน ในเครื่องผสมแบบอยู่กับที่และจะผสมจนเสร็จสมบูรณ์ในรถผสมคอนกรีต
3.คอนกรีตที่ผสมเสร็จด้วยรถผสม (Truck-Mixed Concrete) เป็นคอนกรีตที่ถูกผสมตั้งแต่ต้นจนเสร็จ ในรถผสมคอนกรีต
คุณสมบัติ | ข้อแนะนำ |
คอนกรีต ประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมเพื่อลดการหดตัวของคอนกรีต โดยใช้วัสดุผสมเพิ่มเพื่อชดเชยการหดตัวของคอนกรีต ทำให้คอนกรีตในสภาวะที่ยังไม่แข็งตัวเกิดการขยายตัวไปก่อน |
1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง รวมถึงน้ำส่วนเกินที่ก่อให้เกิดปัญหาคอนกรีตหดตัว 2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการจี้เขย่าคอนกรีตอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว 3. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ลดปัญหา ในเรื่องของการแตกร้าว ของคอนกรีตเนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์ |
ขั้นตอนการทำงาน | |
คอนกรีต ประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมมาเพื่อใช้กับงานโครงสร้างที่ต้องการการหดตัวของคอนกรีตต่ำ เช่น งานคอนกรีตครอบหัวเสาเข็ม (Pile Cab Concrete) งานเทโครงสร้างถนน โครงสร้างพื้นในบริเวณกว้างๆ |