พื้น เป็นส่วนที่รับน้ำหนักของสิ่งของทุกชนิดที่ตั้งอยู่ในบ้าน ทั้งเฟอร์นิเจอร์พวกตู้ โต๊ะ เตียง หรือชั้นวางของต่างๆ รวมถึงรับน้ำหนักของเราเองที่อาศัยอยู่ในบ้าน ซึ่งบางจุดอาจรับน้ำหนักมากถึงร้อยกิโลกรัมต่อตารางเมตรเลยทีเดียว ความมั่นคงแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักต่างๆ ได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ
พื้นมีหลายประเภท หลายรูปแบบ และหลายวัสดุ ซึ่งมีการรับน้ำหนักและการประกอบที่แตกต่างกัน โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือพื้นคอนกรีตหล่อในที่ (Cast-in-Place Concrete Slabs) พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป (Precast Concrete Slabs) และแผ่นเหล็กพื้นโครงสร้าง (Metal Deck)
พื้นคอนกรีตหล่อในที่ (Cast-in-Place Concrete Slabs)
จะมีกระบวนการทำแบบสำหรับหล่อพื้น ผูกเหล็กเสริมของพื้นเชื่อมกับเหล็กในคาน แล้วจึงเทคอนกรีตพื้นให้เป็นเนื้อเดียวกับคานส่วนบน โดยสำหรับพื้นชั้นสองขึ้นไปต้องมีการตั้งค้ำยันแบบใต้ท้องพื้นจนกว่าคอนกรีตจะแข็งตัว อย่างน้อย 14 วัน ซึ่ง พื้นคอนกรีตหล่อในที่มี 2 รูปแบบคือ พื้นคอนกรีตวางบนคาน และ พื้นคอนกรีตวางบนดิน
พื้นคอนกรีตวางบนคาน (Slabs on Beam)
คือ พื้นที่ถ่ายน้ำหนักลงสู่คาน เป็นพื้นประเภทที่บ้านเรานิยมใช้มาก โดยเฉพาะบริเวณพื้นห้องน้ำ พื้นระเบียง พื้นดาดฟ้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่อาจมีน้ำขัง เสี่ยงต่อการรั่วซึม การถ่ายน้ำหนักของพื้นประเภทนี้มี 2 ลักษณะ คือ พื้นทางเดียวและพื้นสองทาง
พื้นคอนกรีตวางบนดิน (Slabs on Ground)
เป็นพื้นหล่อบนพื้นดินหรือทรายบดอัดแน่น ไม่มีคานรองรับ จึงใช้สำหรับพื้นชั้นล่างเท่านั้น การถ่ายน้ำหนักของพื้นประเภทนี้จะถ่ายลงสู่พื้นดินโดยตรง ดังนั้นการบดอัดดินหรือทรายให้แน่นเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะคอนกรีตจะแตกร้าวได้หากดินหรือทรายด้านล่างเกิดการยุบตัว
พื้นประเภทนี้ต้องอยู่อย่างอิสระจากโครงสร้างส่วนอื่น ๆ เพราะมีอัตราการทรุดตัวตามดินสูง หากจำเป็นต้องมีส่วนที่ติดกัน ต้องแยกรอยต่อให้ขาด โดยการคั่นด้วยแผ่นโฟม หรือออกแบบลดระดับพื้นบริเวณขอบพื้นโดยรอบให้เป็นรางสำหรับวางหินกรวดตกแต่งเพื่อปกปิดรอยต่อก็ได้
พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป (Precast Concrete Slabs)
ผลิตจากคอนกรีตเสริมด้วยลวดอัดแรงกำลังสูงสำเร็จรูปจากโรงงาน เรียกกันโดยทั่วไปว่า “แผ่นพื้นสำเร็จรูป” แผ่นพื้นประเภทนี้นิยมใช้อย่างแพร่หลายสำหรับบ้านหรืออาคารขนาดเล็ก ติดตั้งโดยการวางบนคาน เสริมเหล็กด้านบนแล้วเทคอนกรีตทับหน้า (Topping) เรียกว่าเป็น “ระบบพื้นสำเร็จรูป” เป็นระบบพื้นที่ช่วยประหยัดเวลาในการก่อสร้าง เพราะไม่ต้องทำไม้แบบและไม่ต้องรอการเซ็ทตัวของคอนกรีต
ระบบพื้นสำเร็จรูปเหมาะกับพื้นที่ภายในบ้านและพื้นที่ใช้งานที่เป็นส่วนแห้งต่างๆ เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น เป็นต้น ไม่ควรใช้ในพื้นที่ภายนอกบ้าน และพื้นที่เปียก เช่น ระเบียง ห้องน้ำ ดาดฟ้า ฯลฯ เนื่องจากมีรอยต่อระหว่างแผ่นพื้นมาก อีกทั้งคอนกรีตที่เททับหน้าพื้นโดยทั่วไปหนาประมาณ 5–7 ซม. เท่านั้น จึงเสี่ยงต่อการรั่วซึมอย่างมาก นอกจากนี้ การเจาะแผ่นพื้นเพื่อฝั่งท่อระบายน้ำเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะส่งผลให้พื้นแตกร้าวได้ง่าย และเสี่ยงต่อการรั่วซึมเช่นกัน
นอกจากนี้ หากต้องการปูวัสดุผิวพื้นจำพวกพื้นผิวไร้รอยต่อ เช่น พื้นซีเมนต์ขัดมัน พื้นหินขัด พื้นกรวดล้าง ฯลฯ บนระบบพื้นสำเร็จรูป จะเกิดความเสี่ยงในเรื่องรอยแตกร้าวที่ผิววัสดุได้ง่ายกว่าพื้นคอนกรีตหล่อในที่ เนื่องจากแผ่นพื้นสำเร็จรูปแต่ละแผ่นสามารถขยับตัวได้หากมีแรงสั่นสะเทือน ดังนั้น จึงควรปูวัสดุปูพื้นที่มีรอยต่อ หรือมีความยืดหยุ่นตัวพอสมควร เช่น กระเบื้องเซรามิก พื้นไม้ต่าง ๆ ทั้งไม้จริง ไม้ลามิเนต และ Engineering Floor
พื้นมีหลายประเภท หลายรูปแบบ และหลายวัสดุ ซึ่งมีการรับน้ำหนักและการประกอบที่แตกต่างกัน โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือพื้นคอนกรีตหล่อในที่ (Cast-in-Place Concrete Slabs) พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป (Precast Concrete Slabs) และแผ่นเหล็กพื้นโครงสร้าง (Metal Deck)
พื้นคอนกรีตหล่อในที่ (Cast-in-Place Concrete Slabs)
จะมีกระบวนการทำแบบสำหรับหล่อพื้น ผูกเหล็กเสริมของพื้นเชื่อมกับเหล็กในคาน แล้วจึงเทคอนกรีตพื้นให้เป็นเนื้อเดียวกับคานส่วนบน โดยสำหรับพื้นชั้นสองขึ้นไปต้องมีการตั้งค้ำยันแบบใต้ท้องพื้นจนกว่าคอนกรีตจะแข็งตัว อย่างน้อย 14 วัน ซึ่ง พื้นคอนกรีตหล่อในที่มี 2 รูปแบบคือ พื้นคอนกรีตวางบนคาน และ พื้นคอนกรีตวางบนดิน
พื้นคอนกรีตวางบนคาน (Slabs on Beam)
คือ พื้นที่ถ่ายน้ำหนักลงสู่คาน เป็นพื้นประเภทที่บ้านเรานิยมใช้มาก โดยเฉพาะบริเวณพื้นห้องน้ำ พื้นระเบียง พื้นดาดฟ้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่อาจมีน้ำขัง เสี่ยงต่อการรั่วซึม การถ่ายน้ำหนักของพื้นประเภทนี้มี 2 ลักษณะ คือ พื้นทางเดียวและพื้นสองทาง
พื้นคอนกรีตวางบนดิน (Slabs on Ground)
เป็นพื้นหล่อบนพื้นดินหรือทรายบดอัดแน่น ไม่มีคานรองรับ จึงใช้สำหรับพื้นชั้นล่างเท่านั้น การถ่ายน้ำหนักของพื้นประเภทนี้จะถ่ายลงสู่พื้นดินโดยตรง ดังนั้นการบดอัดดินหรือทรายให้แน่นเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะคอนกรีตจะแตกร้าวได้หากดินหรือทรายด้านล่างเกิดการยุบตัว
พื้นประเภทนี้ต้องอยู่อย่างอิสระจากโครงสร้างส่วนอื่น ๆ เพราะมีอัตราการทรุดตัวตามดินสูง หากจำเป็นต้องมีส่วนที่ติดกัน ต้องแยกรอยต่อให้ขาด โดยการคั่นด้วยแผ่นโฟม หรือออกแบบลดระดับพื้นบริเวณขอบพื้นโดยรอบให้เป็นรางสำหรับวางหินกรวดตกแต่งเพื่อปกปิดรอยต่อก็ได้
พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป (Precast Concrete Slabs)
ผลิตจากคอนกรีตเสริมด้วยลวดอัดแรงกำลังสูงสำเร็จรูปจากโรงงาน เรียกกันโดยทั่วไปว่า “แผ่นพื้นสำเร็จรูป” แผ่นพื้นประเภทนี้นิยมใช้อย่างแพร่หลายสำหรับบ้านหรืออาคารขนาดเล็ก ติดตั้งโดยการวางบนคาน เสริมเหล็กด้านบนแล้วเทคอนกรีตทับหน้า (Topping) เรียกว่าเป็น “ระบบพื้นสำเร็จรูป” เป็นระบบพื้นที่ช่วยประหยัดเวลาในการก่อสร้าง เพราะไม่ต้องทำไม้แบบและไม่ต้องรอการเซ็ทตัวของคอนกรีต
ระบบพื้นสำเร็จรูปเหมาะกับพื้นที่ภายในบ้านและพื้นที่ใช้งานที่เป็นส่วนแห้งต่างๆ เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น เป็นต้น ไม่ควรใช้ในพื้นที่ภายนอกบ้าน และพื้นที่เปียก เช่น ระเบียง ห้องน้ำ ดาดฟ้า ฯลฯ เนื่องจากมีรอยต่อระหว่างแผ่นพื้นมาก อีกทั้งคอนกรีตที่เททับหน้าพื้นโดยทั่วไปหนาประมาณ 5–7 ซม. เท่านั้น จึงเสี่ยงต่อการรั่วซึมอย่างมาก นอกจากนี้ การเจาะแผ่นพื้นเพื่อฝั่งท่อระบายน้ำเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะส่งผลให้พื้นแตกร้าวได้ง่าย และเสี่ยงต่อการรั่วซึมเช่นกัน
นอกจากนี้ หากต้องการปูวัสดุผิวพื้นจำพวกพื้นผิวไร้รอยต่อ เช่น พื้นซีเมนต์ขัดมัน พื้นหินขัด พื้นกรวดล้าง ฯลฯ บนระบบพื้นสำเร็จรูป จะเกิดความเสี่ยงในเรื่องรอยแตกร้าวที่ผิววัสดุได้ง่ายกว่าพื้นคอนกรีตหล่อในที่ เนื่องจากแผ่นพื้นสำเร็จรูปแต่ละแผ่นสามารถขยับตัวได้หากมีแรงสั่นสะเทือน ดังนั้น จึงควรปูวัสดุปูพื้นที่มีรอยต่อ หรือมีความยืดหยุ่นตัวพอสมควร เช่น กระเบื้องเซรามิก พื้นไม้ต่าง ๆ ทั้งไม้จริง ไม้ลามิเนต และ Engineering Floor