1. เครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำเสาเข็มเจาะ
ขั้นตอนการสร้างเสาเข็มเจาะ
รถเครนบริการ (Service Crane)
เครื่องเจาะแบบไฮดรอลิก (Hydraulic Drilling Rig)
ถังผสมและเก็บน้ำยาเบนโทไนท์ / โพลีเมอร์
ท่อเทคอนกรีตใต้น้ำ (Tremie pipe)
2. ขั้นตอนและวิธีการในการทำเสาเข็มเจาะ
2.1. ช่างสำรวจวางหมุดตำแหน่งเข็ม กดปลอกเหล็กลงดินให้อยู่ในตำแหน่งโดยใช้ไวโบรแฮมเมอร์ โดยปลอกเหล็กที่ใช้ควรมีความยาวตลอดช่วงความลึกของชั้นดินอ่อน และตรวจสอบแนวดิ่งตลอดการกปลอกเหล็กโดยใช้ระดับน้ำร่วมกับการเล็งแนวจากลูกดิ่ง 2ตำแหน่งที่ตั้งฉากกันหรือใช้กล้องสำรวจ
2.2. เจาะดินออกผ่านชั้นดินเหนียวอ่อนโดยใช้หัวเจาะแบบสว่าน (Auger) เมื่อได้ระดับความลึกก่อนพ้นปลายปลอกเหล็ก เติมสารละลายเบนโทไนท์ หรือ โพลีเมอร์ ที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนด เพื่อพยุงและป้องกันหลุมเจาะพังขณะเจาะผ่านปลายของปลอกเหล็ก
3. ทดสอบความหนืดของสารละละลายพยุงหลุมเจาะโดยวิธี Marsh Cone Viscosity Test
- 40-60 sec for Polymer-Bentonite Slurry
- 30-55 sec for Bentonite Slurry
ทดสอบความเป็นกรดด่างของสารละละลายพยุงหลุมเจาะโดยใช้ Lismas paper
- 8-11 for Polymer-Bentonite Slurry
- 9-11 for Bentonite Slurr
ทดสอบปริมาณทรายในสารละละลายพยุงหลุมเจาะโดยใช้ Sand Screen
- < 1% for Polymer-Bentonite Slurry
- < 4% for Bentonite Slurry
เปลี่ยนหัวเจาะเป็นแบบถังเจาะเก็บดิน (Bucket) แล้วทำการเจาะลงไปจนถึงระดับที่ต้องการโดยต้องรักษาระดับของสารละลายพยุงหลุมเจาะให้ไม่ต่ำกว่าระดับดินเดิมเกิน 3 เมตร
สำหรับสารละลายโพลีเมอร์ หลังจากเจาะจนถึงระดับที่ต้องการแล้วรอให้ทรายตกตะกอนประมาณ 1ชั่วโมง หากพบว่ามีตะกอน ใช้ถังเก็บตะกอน หรือ Airlift ทำความสะอาดก้นหลุม
นำเหล็กเสริมที่ขึ้นรูปพร้อมแล้วมาติดตั้งลงไปในหลุมที่เจาะเตรียมไว้ โดยที่รอยต่อระหว่างเหล็กเสริมแต่ละท่อนต้องมีระยะทาบอย่างเพียงพอและเชื่อมรอยต่อหรือใช้ขอยึด (Clamp)
ติดตั้ง ท่อเทคอนกรีต (Tremie pipe) ซึ่งมีการเชื่อมต่อระหว่างท่ออย่างดี เพื่อป้องกันการปนเปื้อนระหว่างคอนกรีตกับสารละลาย โดยรักษาระดับปลายท่อให้อยู่เหนือก้นหลุมประมาณ 0.5 เมตร
เทคอนกรีต โดยมีการตรวจสอบระดับและปริมาณอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อเทคอนกรีตได้ระดับหนึ่ง ท่อเทคอนกรีตจะถูกถอดให้สั้นลงโดยรักษาระดับปลายท่อให้อยู่ภายในเนื้อคอนกรีตที่ดีไม่น้อยกว่า 3 เมตรตลอดเวลา
ขอบคุณที่มา https://goo.gl/QySthR
Tag :
การเทคอนกรีต