ปัญหาสำคัญที่อาจพบในงานเสาเข็มเจาะ
1. ผนังหลุมเจาะพังระหว่างการเจาะ
สาเหตุ
สารละลายพยุงหลุมเจาะไม่มีคุณภาพ หรือเสื่อมสภาพเนื่องจากสภาวะแวดล้อมใต้ดิน
การไหลของน้ำใต้ดิน
มีชั้นทรายหลวมที่ง่ายต่อการพังทลาย
วิธีแก้ไข
ตรวจสอบคุณภาพตัวอย่างสารละลายที่นำขึ้นมาจากหลุมเจาะ
หากเสื่อมสภาพให้เปลี่ยนสารละลายใหม่ทั้งหลุมเจาะ
หากยังไม่สามารถหยุดยั้งการพังทลายได้ ให้กลบหลุม แล้วหาทางแก้ไข อาจจะโดยการเปลี่ยนส่วนผสมของสารละลาย หรือชนิดของสารละลายให้เหมาะสมกับสภาพของดินและน้ำใต้ดิน
2. คอนกรีตบล็อกในระหว่างการเทคอนกรีต
สาเหตุ
คอนกรีตไม่มีความสามารถลื่นไหลได้ดี ไม่สามารถไหลผ่านท่อเทเข้าไปยังส่วนต่างๆของหลุมเจาะได้อย่างสมบูรณ์
คอนกรีตไม่สามารถทนทานต่อการแยกตัวและการเยิ้ม
คอนกรีตไม่มีระยะเวลาหน่วงในการก่อตัวที่เพียงพอ
ท่อเทคอนกรีตรั่วซึม
วิธีแก้ไข
หากเกิดการบล็อกในขณะที่เริ่มเทคอนกรีตไปได้ไม่มาก ให้หยุดเท นำเหล็กเสริมขึ้นจากหลุม หลังจากนั้นใช้ bucket เก็บทำความสะอาดหลุมเจาะและเปลี่ยนถ่ายสารละลายใหม่ทั้งหมด แล้วจึงเริ่มขบวนการลงเหล็ก เทคอนกรีตใหม่อีกครั้ง
หากเกิดการบล็อกในท่อเทขณะที่เทคอนกรีตไปได้มากแล้ว ให้ถอนท่อเทขึ้นมาทำความสะอาดนำหินที่บล็อกท่อออก แล้วจึงลงท่ออีกครั้งให้ปลายท่อจมในเนื้อคอนกรีต 2-3 เมตร เพื่อเทปูนต่อ เมื่อเทปูนจนไล่สารละลายออกจากท่อเทจนหมดแล้ว ให้กดท่อเทให้ต่ำลงจากระดับเดิมอีก 2-3 เมตรเพื่อหลีกเลี่ยงชั้นที่คอนกรีตสัมผัสกับสารละลายโดยตรง แล้วจึงเทปูนต่อจนกว่าระดับที่คอนกรีตสัมผัสกับสารละลายโดยตรงถูกดันขึ้นพ้นระดับตัดหัวเข็ม
3. หลุมเจาะเอียงเกินข้อกำหนด (โดยทั่วไป 1:100)
สาเหตุ
ความสมบูรณ์ของเครื่องจักรที่ใช้ในการเจาะเสาเข็ม
ความประมาท ไม่ปราณีตในการเจาะของผู้ควบคุมเครื่องจักร
ลักษณะของชั้นดิน
วิธีแก้ไข
คำนวณหาแรงภายในที่เปลี่ยนไปของเสาเข็ม
ตรวจสอบหากำลังรับของหน้าตัดเสาเข็มเดิม
หากหน้าตัดนั้นๆไม่สามารถรับแรงภายในที่เปลี่ยนไปได้ ให้เสริมเหล็กเพิ่มเติมหรือวิธีอื่นๆ เพื่อให้เสาเข็มรับแรงดังกล่าวได้อย่างปลอดภัย
สำคัญที่สุดคือจะต้องตรวจสอบและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำๆสำหรับเสาเข็มต้นต่อๆไป
4. เสาเข็มเยื้องศูนย์
สาเหตุ
การลงปลอกเหล็กผิดตำแหน่ง
การถอนปลอกเหล็กภายหลังเทคอนกรีตที่ไม่ได้ดิ่ง ทำให้หน้าตัดเข็มมีขนาดใหญ่ขึ้นและจุดศูนย์ถ่วงของหน้าตัดเปลี่ยนไป
การเคลื่อนตัวของดินจากงานขุดที่ไม่เป็นไปตามหลักวิศวกรรมที่ถูกต้อง เช่น การเคลื่อนตัวเกินข้อกำหนดของ sheetpile, การมีน้ำหนักกดทับจากกองดินที่ไม่สมดุล เป็นต้น
วิธีแก้ไข
คำนวณหาแรงภายในโครงสร้างที่ต่อเนื่องกับเสาเข็ม ที่เกิดจากการเยื้องศูนย์ เช่น คาน, พื้น, เสา, และเสาเข็มเอง
ออกแบบให้โครงสร้างต่อเนื่องนั้นๆ ให้สามารถรับแรงดังกล่าวได้
หากแรงดังกล่าวมากเกินกว่าที่หน้าตัดโครงสร้างต่อเนื่องนั้นๆจะรับได้ ออกจะต้องมีเพิ่มโครงสร้างต่อเนื่อง เช่น Tied Beam ซึ่งจะรับแรงที่เกิดจากการเยื้องศูนย์บางส่วนและลดแรงที่เกิดในโครงสร้างต่อเนื่องเดิม
ที่มา ข้อมูล และรูปภาพจาก :
Khun Pisun Sirisuksakulchai, M.S., MBA
Senior Executive Vice President, Pylon PCL
https://goo.gl/QySthR
Tag :
การเทคอนกรีต