– ควบคุมการผสมคอนกรีต คอนกรีตที่ใช้สำหรับเทคอนกรีตควรมีความเหลวกว่าการเทลงคานหรือลงพื้น ตามกำหนดจะใช้คอนกรีต 1: 2: 4 ในงานทั่วๆไป แต่เมื่อผสมคอนกรีตเสาอาจจำเป็นต้องลดอัตราส่วนของหินลง ใช้อัตราส่วน 1: 2: 3 หมายถึงผสมปูนซีเมนต์ 1 ส่วน ทรายหยาบ 2 ส่วน และหิน 3 ส่วน การลดอัตราส่วนของหินนี้อาจต้องเพิ่มส่วนของปูนซีเมนต์ขึ้น ราคาจะแพงกว่าที่ใช้ส่วนผสม 1:2: 4ส่วนความข้นของส่วนผสมในการเริ่มเทในช่วงเทสูงประมาณ 0.50 เมตร จากโคนเสาควรเหลวหน่อยและเมื่อเทสูงขึ้นส่วนผสมก็ควรข้นขึ้นเป็นลำดับ จึงจะเป็นวิธีเลี้ยงเนื้อคอนกรีตให้ส่ำเสมอ ส่วนผสมทุกกระป๋องที่ยกขึ้นมาเทจะต้องผสมได้ที่ ความเหลวควรใช้คอนกรีตที่มีความยุบไม่เกิน 5 นิ้ว ถ้าความยุบเกินจากนี้คอนกรีตจะรับกำลังต่ำ ผู้เทจะเป็นผู้พิจารณาและแจ้งให้ช่างผสมที่หน้าโม่ปรุงส่วนผสมให้พอดีหรืออานเสริมน้ำในกระบะไม้ใต้โม่ สำหรับการเทเสาคอนกรีตที่มีขนาดใหญ่และใช้เครื่องเขย่าอาจใช้คอนกรีตที่มีความยุบไม่เกินกว่า 3 นิ้ว
– การขึ้นไปเทและการส่งคอนกรีต ไม้รัดปากแบบที่ตีคู่ถ้าต่ำลงมาจากแบบประมาณ 0.50-0.70 เมตร จะทำให้ยืนเทได้ถนัด นำไม้แผ่นพลาดใกล้ๆ เสาแล้วตอกตะปูติดไม่ให้เลื่อน อาจใช้ 2 คน คนหนึ่งเทลงแบบและอีกคนกระทุ้ง ถ้าใช้คนเดียวต้องทั้งเทและกระทุ้งด้วย ส่วนการส่งปูนโดยการตกใส่กระป๋องแล้วโยนขึ้น ถ้าพลาดอาจจะเป็นอันตรายกับคนข้างล่างและกระป๋องจะแตกเสียหาย จึงควรทำนั่งร้านแล้วให้คนส่งปูนยืนบนนั่งร้านเป็นระยะไป สำหรับการเทเสาชั้นล่างเพียงส่งต่อกันก็นับว่าทำได้ แต่ถ้าเป็นการหล่อเสาชั้นสองต้องติดตั้งรอก การส่งคอนกรีตควรเลือกคนงานที่แข็งแรง เพราะมีน้ำหนักมาก และควนตักใส่กระป๋องประมาณ ½ – ¾ กระป๋องเท่านั้น ถ้าโม่ผสมอยู่ห่างกันก็ควรตักเพียง ½ กระป๋องแล้วหาบทีละคู่ การโยนกระป๋องลงไม่ควรทำควรส่งต่อกันไป
เป็นยังไงกันบ้าง ค่ะ สำหรับความรู้ที่เราได้เอามาฝากเพื่อน ๆในวันนี้ เราก็หวังว่ามันจะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆ ได้บ้างเนอะ สำหรับครั้งหน้าเราจะมีอะไรมาฝากเพื่อน ๆกันอีกบ้างก็อย่าลืมติดตามอ่านกันด้วยละ สำหรับวันนี้ไปก่อนแหละ สวัสดีค่ะ บ้ายบาย
เครดิต rungnapla