การก่อสร้างในบ้านเราตอนนี้มีหลายขนาดหลาย ชนิด บ้างก็ใหญ่บ้างก็เล็ก บ้างก็ยาก ย้างก็ง่าย การวางโครงสร้างก ารบริหารแต่เริ่มแรก จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็น หากวางผิดไปก็จะเป็น "ขี่ข้างจับตั๊กแตน" หรือไม่ก็ อาจจะเป็น "ขี่ตั๊กแตนจับช้าง" ไปได้ จึงขอรวบรวมโครงสร้างบริหารประเภทต่าง ๆ ดังนี้ (กรุณาดูแผนภูมิหน้าต่อไป)
1.โครง สร้างแบบธรรมดา ๆ เป็นโครงสร้างการสร้างบ้านหรืออาคารเล็ก ๆ ไม่มีอะไรวุ่นวายยุ่งยาก คือเจ้าของว่าจ้างทั้งผู้ออกแบบและผู้รับเหมาก่อสร้างโดยตรง และให้ผู้ออกแบบช่วยดูแลงานก่อสร้างเป็นครั้งคราว
2.โครงสร้างแบบข้าราชการ เริ่มมีการว่าจ้างผู้ควบคุมงานมาคุมงานหากผู้ควบคุมงานมีปัญหาก็ถาม ผู้ออกแบบโดยตรง
3.โครงสร้างแบบเอกชนทั่วไป เริ่มมีที่ปรึกษาเข้ามา และว่าจ้างผู้รับเหมาแยกส่วนจากกันเพื่อลด ค่าดำเนินการ-กำไร-ภาษี ที่ซ้ำซ้อน ตอนนี้อาจจะว่าจ้าง Consultant หรือ C.M. เข้ามาแทนที่ผู้ควบคุมงานแล้ว เพราะต้องการการบริหารที่ดีขึ้น หรือต้องการผู้แก้ปัญหาทางเทคนิคขั้นสูงขึ้น (C.P.M. = Construction Process Management ซึ่งเป็นผู้บริหารการก่อสร้างชนิดหนึ่งที่เน้นหนักด้าน "วิธีกรรมในการก่อสร้าง" ส่วนคำว่า C.B.M. = Construction Business Management ซึ่งเป็น C.M. ที่ทำหน้าที่เน้นหนักด้าน "ธุรกิจการก่อสร้าง")
4.โครงการใหญ่ที่ต้องการควบคุมแต่เริ่มแรก เริ่มมีการแยกระยะเวลาและการบริหารออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนธุรกิจ และส่วนการก่อสร้าง เจ้าของงานอาจเป็น C.B.M. (Construction Business Management) เอง ทำหน้าที่จัดการด้านธุรกิจ-ภาษี-บัญชี-การเงิน-การตลาด-ฯลฯ ส่วนการก่อสร้างนั้นยังคงเหมือนกับโครงสร้างที่ 3
5.โครงสร้างแบบจ้างบริหารการก่อสร้างทั้งโครงการ (อาจเรียกได้ว่าเป็นการบริหารโครงการ) เพราะทั้งผู้บริหารการก่อสร้างจะเข้าไปประสานงานในระบบธุรกิจ และควบคุมในส่วนการก่อสร้าง ให้ C.B.M. และ C.P.M. เป็นองค์กรเดียวกัน
6.โครงสร้างแบบริหารเต็มรูปแบบ (Full C.M.) เปรียบเสมือนหนึ่งเป็นการจัดตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้าง เฉพาะกิจ (บริษัทรับเหมา ๆ ทั่วไปประกอบด้วย 2 ส่วนคือเถ้าแก่ทำหน้าที่เรื่องหาเงิน-หางาน วิศวกรหรือเทคนิเชียนทำหน้าที่ผลิตงานและจ่ายเงิน) โดยเจ้าของโครงการในที่นี้ทำหน้าที่เถ้าแก่เกี่ยวกับธุรกิจการเงิน และผู้บริหารการก่อสร้างทำหน้าที่ด้านผลิตผลงาน ทั้งคู่จะแบ่งผลประโยชน์กันและปิดบริษัทเฉพาะกิจ เมื่อโครงการแล้วเสร็จ โครงสร้างระบบ Full C.M. จะลดต้นทุนได้มาก ทุกฝ่ายมีผลประโยชน์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่ผู้รับเหมาขาแคลน แต่มีข้อจำกัดสำคัญที่ว่า เจ้าของโครงการและ C.M. จะต้องรู้จักสนิทสนมกัน ต้องไว้ใจกันมากและต้องทำงานด้วยกันได้ ไม่เช่นนั้นจะเหมือนบริษัทที่หุ้นส่วนทะเลาะกัน ทำให้บริษัทล้มละลาย ….และโครงการก็ล่มสลายตาม
:
ที่มา :http://winyou.asia/100_1000_1/148.htm
โครงการก่อสร้างนานาชนิด มีระบบโครงสร้างการบริหารอย่างไร? |
1.โครง สร้างแบบธรรมดา ๆ เป็นโครงสร้างการสร้างบ้านหรืออาคารเล็ก ๆ ไม่มีอะไรวุ่นวายยุ่งยาก คือเจ้าของว่าจ้างทั้งผู้ออกแบบและผู้รับเหมาก่อสร้างโดยตรง และให้ผู้ออกแบบช่วยดูแลงานก่อสร้างเป็นครั้งคราว
2.โครงสร้างแบบข้าราชการ เริ่มมีการว่าจ้างผู้ควบคุมงานมาคุมงานหากผู้ควบคุมงานมีปัญหาก็ถาม ผู้ออกแบบโดยตรง
3.โครงสร้างแบบเอกชนทั่วไป เริ่มมีที่ปรึกษาเข้ามา และว่าจ้างผู้รับเหมาแยกส่วนจากกันเพื่อลด ค่าดำเนินการ-กำไร-ภาษี ที่ซ้ำซ้อน ตอนนี้อาจจะว่าจ้าง Consultant หรือ C.M. เข้ามาแทนที่ผู้ควบคุมงานแล้ว เพราะต้องการการบริหารที่ดีขึ้น หรือต้องการผู้แก้ปัญหาทางเทคนิคขั้นสูงขึ้น (C.P.M. = Construction Process Management ซึ่งเป็นผู้บริหารการก่อสร้างชนิดหนึ่งที่เน้นหนักด้าน "วิธีกรรมในการก่อสร้าง" ส่วนคำว่า C.B.M. = Construction Business Management ซึ่งเป็น C.M. ที่ทำหน้าที่เน้นหนักด้าน "ธุรกิจการก่อสร้าง")
4.โครงการใหญ่ที่ต้องการควบคุมแต่เริ่มแรก เริ่มมีการแยกระยะเวลาและการบริหารออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนธุรกิจ และส่วนการก่อสร้าง เจ้าของงานอาจเป็น C.B.M. (Construction Business Management) เอง ทำหน้าที่จัดการด้านธุรกิจ-ภาษี-บัญชี-การเงิน-การตลาด-ฯลฯ ส่วนการก่อสร้างนั้นยังคงเหมือนกับโครงสร้างที่ 3
5.โครงสร้างแบบจ้างบริหารการก่อสร้างทั้งโครงการ (อาจเรียกได้ว่าเป็นการบริหารโครงการ) เพราะทั้งผู้บริหารการก่อสร้างจะเข้าไปประสานงานในระบบธุรกิจ และควบคุมในส่วนการก่อสร้าง ให้ C.B.M. และ C.P.M. เป็นองค์กรเดียวกัน
6.โครงสร้างแบบริหารเต็มรูปแบบ (Full C.M.) เปรียบเสมือนหนึ่งเป็นการจัดตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้าง เฉพาะกิจ (บริษัทรับเหมา ๆ ทั่วไปประกอบด้วย 2 ส่วนคือเถ้าแก่ทำหน้าที่เรื่องหาเงิน-หางาน วิศวกรหรือเทคนิเชียนทำหน้าที่ผลิตงานและจ่ายเงิน) โดยเจ้าของโครงการในที่นี้ทำหน้าที่เถ้าแก่เกี่ยวกับธุรกิจการเงิน และผู้บริหารการก่อสร้างทำหน้าที่ด้านผลิตผลงาน ทั้งคู่จะแบ่งผลประโยชน์กันและปิดบริษัทเฉพาะกิจ เมื่อโครงการแล้วเสร็จ โครงสร้างระบบ Full C.M. จะลดต้นทุนได้มาก ทุกฝ่ายมีผลประโยชน์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่ผู้รับเหมาขาแคลน แต่มีข้อจำกัดสำคัญที่ว่า เจ้าของโครงการและ C.M. จะต้องรู้จักสนิทสนมกัน ต้องไว้ใจกันมากและต้องทำงานด้วยกันได้ ไม่เช่นนั้นจะเหมือนบริษัทที่หุ้นส่วนทะเลาะกัน ทำให้บริษัทล้มละลาย ….และโครงการก็ล่มสลายตาม
:
ที่มา :http://winyou.asia/100_1000_1/148.htm